“ในโครงการ Learning City ผมร่วมทำกระบวนการการเรียนรู้ รับฟังความคิดเห็น เพื่อทำความเข้าใจตั้งแต่นิยามจนถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ของเมือง ในสองพื้นที่คือกรุงเทพฯ กับนครสวรรค์ เริ่มตั้งคำถามว่า ทำไมเราถึงต้องเรียน และทำไมเราถึงต้องเรียนรู้ เรื่องแรกคือเพื่อที่จะมีงานทำ สร้างรายได้ ทำมาหากิน สอง คือการเรียนรู้ที่จะเข้าสังคม รวมตัวกันเป็นสังคมมนุษย์ สาม คือการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจตัวเอง เพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์…
“เมื่อกว่า 200 ปีก่อนตรงศาลเจ้าเป็นแหล่งเทียบท่าของเรือสำเภาจีน ช่วงแรกมีชาวฮกเกี้ยนอัญเชิญรูปปั้นเทพเจ้ากวนอูองค์เล็กเข้ามาประทับในเก๋งจีน ให้ประชาชนได้กราบไหว้ บูชาขอพร เป็นจุดเริ่มต้นของศาลเจ้าพ่อกวนอูในปี พ.ศ. 2279 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตอนนี้ศาลเจ้ามีอายุ 286 ปีแล้ว มีการชำรุดทรุดโทรมและบูรณะศาลเจ้าหรือเก๋งจีนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยมา สมัยรัชกาลที่ 1 อัญเชิญเทพเจ้ากวนอูองค์กลาง มาประดิษฐานเป็นองค์ที่สอง ติดตั้งป้ายชื่อ “กวง…
“ด้วยพื้นที่เขตคลองสานแค่ 6.87 ตารางกิโลเมตร การเข้าถึงชุมชนง่าย เดินไปชุมชนนี้ก็สามารถต่อไปอีกชุมชนได้เลยโดยไม่ต้องใช้รถในการเดินทาง ประชาชนข้างนอกเวลาเดินทางมาในพื้นที่ก็ง่าย มีรถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ แต่ในความเจริญมันก็ยังมีความแออัดของชุมชน ความยากจนที่เราเห็นอยู่แล้วยังแก้ไขในเชิงลึกไม่ได้ ได้แค่แก้ไขปลายทาง อย่างผมเป็นนักพัฒนาชุมชนดูเรื่องทุนประกอบอาชีพ เขามายื่นขอ เราช่วยสนับสนุนเขาไม่เกินห้าพันบาท สุดท้ายแล้วคนที่เคยมาขอทำอะไรไม่ได้เลย ขอแล้วก็จบกันไป ต่อยอดไม่ได้ เรามีกิจกรรมที่จะเอานักวิชาชีพมาสอนแต่ละชุมชนในทุกปี ซึ่งด้วยสังคมเริ่มเป็นสังคมเมือง…
“ยังธนคือ Young Generation of Thonburi เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่ทำงานในฝั่งธน นิยามยังธนคือแพลตฟอร์ม เป็นใครก็ได้ที่มารวมตัวกันพัฒนาบางอย่างในบ้านของเราเอง เราทำเวิร์กช็อป “จุดรวมธน” ก็เห็นความเป็นไปได้ต่างๆ มีการเสนอทำพื้นที่สาธารณะที่แอบซ่อนอยู่ในชุมชนมาจัดแข่งฟุตบอลให้เด็กๆ ก็เกิดเป็น Urban Action Project แรกที่ค่อนข้างใหญ่ เป็นทัวร์นาเมนต์สตรีตฟุตบอล “ยังธนคัพ” ที่ไม่ใช่แค่แข่งฟุตบอลธรรมดา…
“พื้นที่เขตคลองสานมี 34 ชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนแบ่งกันดูแล 4-6 ชุมชน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และลักษณะของชุมชน ในชุมชนก็มีในรูปของคณะกรรมการชุมชน จัดตั้งตามระเบียบเพื่อดูแลลูกบ้าน เมื่อมีเรื่องต้องประสานงานเราก็จะประสานผ่านคณะกรรมการชุมชน ส่งเสริมการอยู่อาศัยในชุมชนห้าด้าน สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ เศรษฐกิจ อนามัย การแบ่งชุมชนมีหลายประเภท ทั้งชุมชนเมือง เคหะชุมชน ชุมชนชานเมือง…
“ผมเป็นภูมิสถาปนิก เปิดบริษัทด้านการออกแบบพื้นที่สาธารณะมาสิบกว่าปี ในบทบาทนึงเราก็เป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็เห็นว่ามีปัญหาที่วิชาชีพหรือความรู้ที่เรามีเข้าไปแก้ไขปัญหาเมืองให้น่าอยู่ขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างการมีส่วนร่วม สร้างการเป็นเจ้าของได้ ทีนี้เรามองว่าสมาชิกทุกคนในเมืองมีทรัพยากรครบอยู่แล้ว ทุน ที่ดิน ความรู้ ความร่วมมือ แต่ไม่เคยมารวมกัน หรือทำกันคนละทีสองที ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะไม่ได้เป็นรูปธรรมจริงจัง แล้วความท้าทายของเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ ประชากรเพิ่ม โลกร้อน ในขณะที่การเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์ หรือเราไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของ…
“เดิมผมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตธนบุรี เพิ่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสาน เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นี้เอง ผมก็เข้ามาเรียนรู้ว่าเขตคลองสานมีอะไรดี จะทำอะไรได้บ้าง ตอนผมอยู่ธนบุรี มีย่านกะดีจีน ซึ่งต่อเนื่องไปเป็นฝั่งคลองสาน สามารถทำเส้นทางท่องเที่ยวได้ยาวต่อเนื่องเลย เริ่มตั้งแต่บางกอกน้อย มาบางกอกใหญ่ ข้ามมาธนบุรีคือวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านกะดีจีน วิ่งลอดใต้สะพานพุทธ ก็เข้าเขตคลองสาน ซึ่งมีสถานที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่ศาลเจ้ากวนอู สวนสมเด็จย่า…
“ชุมชนสวนสมเด็จย่าเข้มแข็งพอสมควร บทบาทคณะกรรมการชุมชนสองสามปีนี้เกี่ยวกับโควิด หนักไปทางบริการชุมชน ติดต่อประสานงานสาธารณสุข ดูแลคนในชุมชนที่ติดโควิด เอาข้าวไปแขวนให้เขา โดยมีผู้ใหญ่ใจดีนำสิ่งของมามอบให้ ลักษณะเราเหมือนจิตอาสา ทุกคนมาทำไม่มีเงินเดือนนะ บางอย่างต้องออกเงินไปก่อนค่อยไปเบิกเงินที่เขต ถือว่าชุมชนมีความรักความสามัคคี อยู่ร่วมกลุ่มกัน ไทย จีน แขก เพราะชุมชนเก่าแก่อยู่กันมาเป็นร้อยปี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน นับญาติกัน คนใหม่เข้ามา คนเก่าย้ายไป…
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการและกิจกรรมขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนในย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่เปรียบเสมือนแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร มาเป็นเวลากว่า 12 ปี โดยร่วมกับประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน (บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ) และภาคีพัฒนา ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา…
“อาตมารู้จักอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง - UddC) สิบกว่าปีที่อาจารย์มาทำโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดกิจกรรมชุมชนเข้มแข็งน่าอยู่น่ามอง มีนิทรรศการเล็กๆ ข้างพระบรมธาตุมหาเจดีย์ มีเวทีเสวนาเรื่องความเข้มแข็งในชุมชน อาตมาในฐานะพระเลขาของวัดประยุรฯ ก็เล่าเรื่องนกมูลไถ (สกุณัคฆิชาดก) ให้ฟังว่า นกมูลไถที่เอาชีวิตรอดได้เพราะเขารู้จักถิ่นอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง ทำให้เขาเข้มแข็งได้ ก็เป็นการตอบรับที่ดีมาก แล้วโครงการฯ ก็เข้าทุกตรอกซอกซอยในชุมชนด้วยแนวคิดว่า…