ในการดำเนินโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” อาศัยการสร้างกระบวนการศึกษาและสังเคราะห์เนื้อหาที่ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงลึกด้านวัฒนธรรมและเกษตร อำเภอขลุง นำมาสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างและจัดทำพื้นที่การเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี รวมถึงการรวบรวมชุดข้อมูลพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว อาหารพื้นถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น การเกษตร และวิสาหกิจชุมชนของอำเภอขลุง…
“ชุดโครงการวิจัย “การสร้างกลไกและเครือข่ายการยกระดับระบบนิเวศเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) เพื่อพัฒนาเมืองต้นแบบแห่งการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี” มีสองโครงการวิจัยย่อย หนึ่ง. คือการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และ สอง. การพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม พื้นที่การเรียนรู้เทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งผมรับหน้าที่หัวหน้าโครงการฯ โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ จากโครงการย่อยที่หนึ่ง ซึ่งทีมดร.ลัญจกร…
“ภายใต้โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนาศูนย์เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและเกษตรอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เรารับผิดชอบดูแลการจัดศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตร เก็บข้อมูลทั้งอำเภอขลุง ครอบคลุมทั้ง 12 ตำบล เราแยกกลุ่มชัดเจน กลุ่มที่เป็นเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชาวบ้าน กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มนิสิตนักศึกษา กระจายไป 200 กว่าชุดข้อมูล เพื่อสอบถามและหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเชิงเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเกษตรดั้งเดิม…
“สิบสี่ปีที่แล้ว เราทำงานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ยุคนั้นเป็นยุคที่มีการนำเด็กๆ ในพื้นที่มาเป็นยุวมัคคุเทศก์กัน พิพิธภัณฑ์เราก็ทำกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์อาสาเหมือนกัน โดยชวนนักเรียนจากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดมาเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองและวัตถุจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้พวกเขาสามารถนำชมพิพิธภัณฑ์ได้ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราไปชวนเด็กนักเรียน ส่วนมากเขาจะถามคำแรกก่อนว่ามีใบประกาศนียบัตรไหม เพราะเขาอยากเอาไปเป็นพอร์ตโฟลิโอ ขณะเดียวกัน เมื่อประสานไปยังโรงเรียนต่างๆ คุณครูก็มักจะเลือกเด็กนักเรียนที่เก่งที่สุดหรือมีทักษะทางการสื่อสารที่ดีที่สุดมาร่วมกิจกรรม ผลปรากฏว่า หลังจากที่เราอบรมความรู้ต่างๆ แก่เด็กๆ และมอบใบประกาศนียบัตรเสร็จเรียบร้อย เด็กๆ…
“น้าของตาลเคยทำงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตาลจึงมีความผูกพันและสนใจเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จนขึ้นมัธยมปลาย และเห็นว่าโรงเรียนเรา (เบญจมราชูทิศ ราชบุรี) มีชมรมโบราณคดีที่เป็นชมรมใหญ่ด้วย ก็เลยสมัครเข้ามาความที่ตาลสนใจเรื่องเก่าๆ ก็เลยชอบเล่าเรื่อง กิจกรรมของชมรมที่ชอบเป็นพิเศษ จึงเป็นการนำชมพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) เพราะมันไม่ใช่แค่การท่องจำเพื่อเล่าให้คนอื่นฟังว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้คืออะไรหรือมีความหมายอย่างไร แต่ยังเป็นการหาวิธีสื่อสารให้กับผู้ฟังหลากหลายที่มา อย่างเพื่อนนักเรียนจากสถาบันอื่น คณะครูที่เข้ามาดูงานเพื่อไปพัฒนาพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนของเขา บุคคลทั่วไป รวมถึงชาวต่างชาติ แต่ละกลุ่มล้วนมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน…
“ผมเริ่มทำประติมากรรม ‘โคยกี๊ก้อน’ ราวปี 2564 ซึ่งเป็นประติมากรรมรูปมังกรสีเหลือง คลุมทับท่อน้ำบริเวณเขื่อนริมแม่น้ำแม่กลองตรงตลาดโคยกี๊ ที่เลือกทำมังกรตัวนี้ก็เพราะเมื่อทีมงานมัณฑนศิลป์ร่วมกับชาวชุมชนสร้างสรรค์งานศิลปะในที่สาธารณะบริเวณริมแม่น้ำตามจุดต่างๆ ตัวแทนชุมชนเห็นว่าท่อน้ำตรงนี้มีทัศนะที่ไม่น่ามอง เราเลยตกลงกันว่า งั้นทำงานศิลปะปิดมันไปเลยดีกว่า นั่นล่ะครับ มังกรตัวนี้จึงยาวเป็นพิเศษ เพราะจะได้คลุมทับท่อน้ำ และเป็นที่นั่งพักให้กับผู้สัญจรไปมาด้วยผมชอบกระบวนการสร้างสรรค์มังกรตัวนี้เป็นพิเศษ เพราะนี่เป็นผลจากโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการของเมืองแห่งการเรียนรู้ ซึ่งผมชวนนักศึกษาที่ผมสอนร่วมลงพื้นที่กับเยาวชนและตัวแทนชุมชนในเมืองราชบุรี เรียนรู้เรื่องการทำเซรามิกด้วยกัน และเราก็นำเซรามิกที่ได้จากเวิร์คช็อปนี้แหละ มาให้ทุกคนช่วยกันประกอบเป็นเกล็ดของเจ้าโคยกี๊ก้อน หลังจากโคยกี๊ก้อนแล้วเสร็จ…
“ในกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการที่ทางอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรให้เรารวมกลุ่มกับเพื่อน ร่วมกันออกแบบแนวคิดพื้นที่การเรียนรู้ของเมืองราชบุรี พวกเราเห็นตรงกันว่าอยากสร้างแลนด์มาร์คทางศิลปะให้กับเมืองค่ะเราตั้งชื่อทีมว่า T.5 New Modern โดยเริ่มจากการวาดแผนที่เมืองราชบุรีพร้อมแลนด์มาร์คของเมืองประกอบเข้าไป อาทิ โอ่งมังกรที่เถ้าฮ่งไถ่ พระพุทธรูปที่เขาแก่นจันทร์และวัดช่องลม สะพานดำ ไปจนถึงผึ้งที่อำเภอสวนผึ้ง และอื่นๆ หลังจากนั้น เราก็ลดขนาดของพื้นที่ให้เล็กลงมา เพราะเห็นว่าสถานที่ท่องเที่ยวดังๆ นั้น นักท่องเที่ยวต่างรู้จักอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำเป็นเส้นทางเดินเท้าในตัวเมือง ก็คงจะน่าสนใจไม่น้อย…
“ราชบุรีเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ทำโอ่งมังกร เพราะดินเหนียวแดงที่นี่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การทำโอ่ง มันทนความร้อนได้มากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส นั่นทำให้เมื่อเผาออกมา โอ่งจึงสามารถกักเก็บน้ำได้อย่างดีเยี่ยม ไม่รั่วซึมโอ่งมังกรเป็นตัวแทนการผสมผสานของจีนและไทย ชาวจีนที่อพยพมาราชบุรีมีทักษะในการทำเครื่องปั้นดินเผาติดตัวมา ส่วนราชบุรีก็มีดินที่มีคุณสมบัติเหมาะจะเป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี และก็เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ของชาวจีน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมลวดลายบนโอ่งจึงเป็นมังกร แต่ก่อนตรงริมน้ำแม่กลอง บริเวณที่เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี จะมีท่าน้ำที่พ่อค้าจากทั่วสารทิศเดินเรือเข้ามาเพื่อรับซื้อโอ่งมังกรไปขายตามเมืองที่อยู่ร่องน้ำต่างๆ ในภาคกลาง จากแม่กลองไปลุ่มน้ำป่าสัก เข้าอยุธยา…
“ปีที่แล้ว ทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากรประกาศรับสมัครนักเรียนในราชบุรีให้มาประกวดการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวของเมือง หนูกับเพื่อนอีก 4 คนก็รวมกลุ่มไปสมัคร ตั้งชื่อทีมว่า จาร์ ดรีมเมอร์ (Jar Dreamer) โดยนำโอ่ง (jar) ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองมาตั้ง ประมาณว่าเป็นทีมนักฝันที่อยากเห็นเมืองราชบุรีเติบโตไปในแบบที่เราเป็นราชบุรีเป็นเมืองที่มีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์เยอะมาก ย้อนไปตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีโบราณสถานสวยงามที่หลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะวัดมหาธาตุที่หนูชอบ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าที่มีศิลปะจากยุคสมัยต่างๆ ของบ้านเราซ้อนทับกันอยู่ เวลาเข้าไปในบริเวณวัด…
ก่อนหน้านี้ผมเป็นวิศวกรที่ประเทศเยอรมนี แต่มีเหตุให้ต้องกลับมาบ้านที่อัมพวา แล้วบังเอิญได้รู้จักคุณพ่อ (บาทหลวง) ที่สอนหนังสือที่โรงเรียนดรุณาราชบุรี ท่านชวนให้ผมมาสอนที่นี่ ความที่ช่วงนั้นผมรับงานติวเตอร์สอนภาษาเยอรมันและวิชาฟิสิกส์ให้นักเรียนที่ราชบุรีอยู่แล้ว จนพบว่าเราชอบสอนหนังสือให้เด็กๆ ก็เลยตกลงมาสอนประจำที่โรงเรียนนี้ ตอนนี้สอนมาได้ 4 ปีแล้วครับ ผมเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และเป็นหัวหน้างานหลักสูตรการอาชีพ โดยตำแหน่งหลังนี้ เป็นหลักสูตรที่เปิดให้นักเรียนได้เลือกวิชาชีพที่เขาอยากเรียนเสริมไปพร้อมกับหลักสูตรการศึกษาทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 แผน ได้แก่…