“โคยกี๊เป็นภาษาจีนแปลว่าริมน้ำ ตลาดโคยกี๊จึงมีความหมายว่าตลาดริมน้ำ ชื่อของตลาดเก่าแก่เมืองราชบุรี ที่นี่เป็นแหล่งขนส่งสินค้าหลักของเมือง โอ่งมังกรที่ขึ้นชื่อแต่ไหนแต่ไรก็มีการขนส่งผ่านท่าเรือตรงนี้พี่เป็นเจ้าของร้านศรีสำอางค์เฟอร์นิเจอร์ เป็นรุ่นที่ 3 รุ่นแรกคืออาม่าพี่ ท่านอพยพจากเมืองจีนมาปักหลักอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองที่ราชบุรี และเปิดร้านนี้ พี่ยังมีรูปถ่ายของอาม่าตอนสาวๆ ซึ่งท่านถ่ายรูปที่ศาลาท่าเรือแดง เป็นท่าเรือเก่าข้างจวนผู้ว่าฯ ช่วงปี พ.ศ. 2480 เขื่อนกั้นน้ำตอนนั้นยังเป็นเขื่อนดิน และถึงแม้จะมีรถไฟวิ่งแล้ว แต่ก็ยังมีการส่งสินค้าทางเรือกันอยู่ ชุมชนที่พี่อยู่มีชื่อว่าชุมชนคนตลาด…
“ผมขายของที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้ว แต่ก่อนตลาดเก่านี่เป็นศูนย์กลางการค้าของจังหวัดราชบุรี ถนนอัมรินทร์หน้าร้านนี้เป็นน้องๆ เยาวราช ส่วนถนนวรเดชที่อยู่เลียบแม่น้ำด้านหลังนี้ก็คึกคักทั้งวัน เมื่อก่อนใครจะซื้อหาอะไรก็เข้ามาในตลาดนี้ ทั้งจากโพธาราม จอมบึง สวนผึ้ง ดำเนินสะดวก และอื่นๆ ต้องมาที่นี่หมด แต่มายุคหลัง พอมีห้างค้าปลีกมาเปิด และมีตลาดนัดจัดขึ้นตามชานเมืองและต่างอำเภอ ความเจริญกระจายตัว ย่านนี้ก็ค่อยๆ เงียบลงเมื่อก่อนผมขายเสื้อผ้าอย่างเดียว ต่อให้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ก็ยังพอขายได้…
“เราสามคนไม่มีใครเป็นคนราชบุรีเลย แต่ย้ายมาเพื่อรับราชการครูที่นี่ ครูออยอยู่เมืองนี้มา 15 ปี ครูเจี๊ยบอยู่มา 13 ปี ส่วนครูสุรชัยอยู่มา 2 ปี แต่เราทั้งหมดก็หวังจะอยู่ที่นี่จนเกษียณ เพราะชอบเมืองนี้ ชอบวัฒนธรรม ความใกล้ชิดธรรมชาติ และผู้คนที่อัธยาศัยดีเราไม่ได้สอนด้วยกัน ครูออยสอนสังคมและประวัติศาสตร์ ครูเจี๊ยบสอนฟิสิกส์ และครูสุรชัยสอนวิชาดนตรีพื้นบ้าน แต่ที่ได้ร่วมงานกันเพราะเราอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา…
“เราเกิดและโตที่ราชบุรี ก่อนย้ายไปเรียนและทำงานที่อื่นอยู่พักใหญ่ จนโชคชะตาพาให้เราเลือกกลับมาทำงานที่นี่ ก็คิดว่าถ้าเราจะทำธุรกิจอะไรสักอย่าง นอกจากสิ่งนั้นจะทำให้เราอยู่ได้ ก็ควรต้องสร้างประโยชน์อะไรให้เมืองบ้านเกิดเราด้วย และเพราะแบบนี้ เมื่อราว 6 ปีที่แล้ว เราจึงสร้างโรงแรม ณ เวลา ให้ออกมาโดยสะท้อนความเป็นราชบุรี และอยากให้เป็นเมืองอย่างที่เราอยากเห็น คือ เรามองราชบุรีไม่ใช่เมืองที่แฟนซีหรือหรูหรา แต่เป็นเมืองเรียบง่ายที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์ มีความคิดสร้างสรรค์ และเต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม…
“ตอนนี้เรียนอยู่มอหก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ค่ะ เราเรียนตั้งแต่มัธยมต้น และได้รู้จักชมรมโบราณคดีซึ่งรับเฉพาะเด็กนักเรียนมัธยมปลาย ความที่เราสนใจประวัติศาสตร์ และเห็นบรรยากาศของรุ่นพี่ในชมรมที่ผูกพันกันเหมือนครอบครัว โดยไม่มีระบบโซตัสด้วย พอขึ้นมอสี่ก็เลยสมัครเข้าชมรมนี้ชมรมนี้มีคนอยากเข้าเยอะ ก็เลยต้องส่งใบสมัครและสัมภาษณ์กัน รุ่นพี่ปีสุดท้ายหรือที่เรียกว่ามาสเตอร์จะเป็นคนคัดเลือกสมาชิกใหม่ อย่างปีนี้หนูเป็นมาสเตอร์ ก็จะเป็นคนคัดเลือกน้องเข้ามาในชมรม ก็ดูที่ทัศนคติ ความสนใจ และความพร้อมอื่นๆ หน้าที่หลักของสมาชิกในชมรมไม่ใช่แค่การเฝ้าพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) แต่สมาชิกทุกคนจะได้เรียนรู้ทักษะการทำทะเบียนโบราณวัตถุ…
“โรงเรียนหลายแห่งในบ้านเราอาจมีพิพิธภัณฑ์ แต่มีโรงเรียนไม่กี่แห่งที่ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีชมรมโบราณคดีที่มีเด็กนักเรียนคอยช่วยดูแลพร้อมกับนำชมพิพิธภัณฑ์ และทำกิจกรรมด้านโบราณคดีในจังหวัด อย่างโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ชมรมนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 36 ปีก่อน โดยอาจารย์ธำรง เตียงทอง มีชื่อเดิมว่าชมรมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ท่านมองเห็นว่าราชบุรีเป็นเมืองที่มีพื้นที่สำคัญทั้งในยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ จึงอยากปลูกฝังให้นักเรียนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมือง แล้วอาจารย์ท่านก็เริ่มสะสมวัตถุโบราณต่างๆ พร้อมกับมีชาวบ้าน และหน่วยงานต่างๆ นำมาบริจาคด้วย พออาจารย์ท่านเกษียณ ท่านก็เปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์)จริงๆ…
We Citizens Thailand ชวนร่วมเรียนรู้เรื่องราวของยะลาที่ถูกเล่าใหม่ด้วยคนยะลา คนที่รักยะลา เพื่อพัฒนาเมืองยะลาอันเป็นที่รัก คลิกภาพเพื่อดูภาพขยายเต็ม 100%
We Citizens Thailand ชวนฟังเสียงเมืองยะลา ผู้คนแห่งเมืองยะลา ผ่านการอ่าน E-Book ฉบับ "เสียงยะลา" ดาวน์โหลดได้แล้วที่ลิงค์ WeCitizens : เสียงยะลา - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
We Citizens Thailand ชวนเที่ยวหัวหินผ่าน infographic "เที่ยวหัวหินเพิ่มพูนสุข" แผนที่เรียนรู้พร้อมชวนชมที่เที่ยวที่กินในเมืองหัวหินที่คุณไม่ควรพลาด กดภาพ infographic เพื่อขยายเต็ม 100%
We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านมาเรียนรู้ผู้คนจากเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อที่ชื่อ "หัวหิน" นอกจากจะมาฟังเสียงคลื่น ยังมีเสียงของผู้คน เสียงของเมืองให้อ่านกันใน E-Book ฉบับ "เสียงหัวหิน" WeCitizens : เสียงหัวหิน - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip