“ผมเป็นคนบ้าวัฒนธรรม งานวัฒนธรรมไม่ใช่งานสวยงาม ไม่ได้ตังค์ ใช้ใจอย่างเดียว วัฒนธรรมยั่งยืนพวกเราต้องช่วยกันทำ ผมเป็นรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีตั้งแต่ปี 2538 จนปีนี้ ทำโครงการอาหาร ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผมเป็นประธานสร้างตลาด 270 ปีวัดตะปอนใหญ่ ทำเฉพาะวันเสาร์ครึ่งวัน ทำมา 5 ปี ตอนนี้ตลาดเหงาละ พอดีผมไปรับทำแสงสีเสียงที่ระยอง ที่จันท์ด้วยเลยไม่มีเวลาไปบริหาร…
“จันทบุรีเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวครบ ทั้งน้ำตก ทะเล ภูเขา อาหารก็ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีอาหารทะเล กุ้งหอยปูปลาครบ ช่วงหน้าผลไม้เดือนมีนาคมถึงมิถุนายนมีทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลางสาด ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวช่วงนี้ค่อนข้างเยอะ คนจันท์ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน บ้านเราทำธุรกิจพลอย เพราะจันทบุรีมีเหมืองแร่อยู่อำเภอท่าใหม่ มีชาวต่างชาติบินเข้ามาซื้อพลอยกลับไปขาย ช่วงโควิดก็กระทบ ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาซื้อไม่ได้…
We Citizens ชวนอ่านเรื่องราวของ "ปากพูน" ผ่าน e-book ฉบับ "เสียงปากพูน" ได้ที่ WeCitizens : เสียงปากพูน - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
หาดใหญ่คือชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา ด้วยสถานะของการเป็นศูนย์กลางของหลายสิ่งอย่างในภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงการเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติ หลายคนจึงเข้าใจผิดว่านี่คือชื่อจังหวัด หรือเข้าใจว่าเป็นอีกชื่อของอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา อย่างไรก็ตาม หาดใหญ่คือชื่ออำเภอ ส่วนอำเภอเมืองจังหวัดสงขลาอยู่ห่างออกมาราว 30 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นี่คืออำเภอที่ว่าไปแล้วก็มีเกร็ดอันย้อนแย้งหลายประการ ไม่ว่าจะเรื่องความเข้าใจผิดถึงสถานะของเมืองดังที่ว่ามา การมีชื่อขึ้นต้นด้วยหาด แต่กลับไม่มีพื้นที่ติดทะเล หรือการที่เมืองมีสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ (สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ มีพื้นที่กว่า 900…
กว่าจะเป็น Yala Storiesเยาวชนยะลากับเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองของพวกเขากับ วรานุช ชินวรโสภาค วรานุช ชินวรโสภาค เป็นหัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบพื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและบูรณาการการเรียนรู้ในบริบทชีวิตจริงสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยในโครงการยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยก่อนหน้านี้ เธอเป็นเอ็นจีโอที่ทำงานประเด็นสาธารณสุขและเพศศึกษาในเยาวชน และร่วมกับอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในการขับเคลื่อนโครงการทักษะวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ของผู้คนหลากวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเธอทำโครงการนี้มาเข้าปีที่ 14 ด้วยพื้นเพเป็นคนยะลา และเข้าใจบริบทของความเป็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่…
กับแง่มุมของการพัฒนาเมือง คุณเห็นว่ายะลามีดีอย่างไร? ผู้ให้สัมภาษณ์: โครงสร้างของเมืองที่ดี มีนโยบายในการพัฒนาเมือง ผู้นำมีวิสัยทัศน์ และรุ่มรวยด้วยทุนทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม แล้วยะลายังขาดอะไร? เราถามต่อ ผู้ให้สัมภาษณ์หยุดคิดหนึ่งอึดใจ: ผู้คนยังไม่ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในเมืองนัก ขาดการมีส่วนร่วม และแม้เมืองจะมีพร้อมด้วยสถาบันการศึกษาในทุกระดับ หากอ้างอิงจากงานวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในเมืองก็อยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับความพร้อมที่มี เหล่านี้คือสิ่งที่ อภินันท์ ธรรมเสนา นักวิจัยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรประมวลให้เราฟัง…
เมื่อเอ่ยถึงยะลาคุณนึกถึงอะไร? เมืองที่ตั้งของอำเภอเบตง ดินแดนใต้สุดของประเทศ? จังหวัดในภาคใต้ที่อาภัพที่สุด เพราะเป็นแห่งเดียวที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล? หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม? หรือเมืองที่หลายคนคุ้นเคยจากเสียงระเบิดและเหตุการณ์ความไม่สงบ ใช่ โดยเฉพาะข้อหลัง กล่าวตามตรง แม้กาลเวลาจะผ่านมาเกือบยี่สิบปีแล้ว ทุกวันนี้ หลายคนก็ยังจดจำภาพยะลาในฐานะดินแดนแห่งความไม่สงบอยู่เลย ทีมงาน WeCitizens เพิ่งมีโอกาสลงไปเยี่ยมเยือนอำเภอเมืองยะลามาเมื่อปลายปี 2565 และพบว่าภาพที่หลายคนจดจำกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้เรายังพบบังเกอร์ปูนที่ใช้ป้องกันระเบิดอันเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากยุคของความรุนแรงจากปี 2547…
จากหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ที่มีคนอยู่อาศัยไม่มาก ชุมชนขยายตัวขึ้นจากคนจังหวัดเพชรบุรีและใกล้เคียงอพยพเข้ามาทำมาหากิน จนการมาถึงของเส้นทางรถไฟสายใต้ ณ สถานีรถไฟหัวหิน เมื่อปี พ.ศ. 2454 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ด้วยบรรยากาศรื่นรมย์และสวยงามของธรรมชาติชายฝั่งทะเล นำพาให้พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่มาสร้างตำหนักบ้านพักตากอากาศไว้มากมาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง สร้างที่พักตากอากาศขึ้นบริเวณหัวหิน…
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่องเที่ยวตากอากาศระดับโลก เป็นเมืองสำคัญของประเทศที่มีความพร้อมหลายด้านด้วยต้นทุนสังคม ต้นทุนทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้หลากหลายและมีเอกลักษณ์ ผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 และวิกฤติเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว ส่งผลต่อเศรษฐกิจการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของประชาชนให้ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกยุคชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งจะต้องพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ อันเป็นทักษะสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพบุคคล เทศบาลเมืองหัวหิน หน่วยงานท้องถิ่นที่มีพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตร คำนึงถึงวิสัยทัศน์เมืองว่า…
อาจารย์เจี๊ยบ - สิทธิศักดิ์ ตันมงคล บอกว่าถ้าไปถามคนรุ่นใหม่หรือคนที่เพิ่งมาอยู่หาดใหญ่ใหม่ๆ ว่ารู้จัก ‘คลองเตย’ หรือไม่ บางคนอาจเข้าใจว่านั่นคือชื่อเขตเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครด้วยซ้ำ “ถ้าไม่ใช่คนดั้งเดิม น้อยคนนะครับที่จะจดจำชื่อคลอง ซึ่งความที่มันเป็นคลองระบายน้ำเสีย และหลายพื้นที่ก็ถูกดาดปิด แม้คนหาดใหญ่จะขับรถผ่านทุกวัน หลายคนก็แทบไม่ได้จดจำด้วยซ้ำว่ามันคือคลอง” อาจารย์เจี๊ยบ สถาปนิกจากกลุ่ม Songkhla Urban Lab…