“อาตมาเป็นคนกาญจนบุรี บวชเข้าคณะสงฆ์อนัมนิกาย ตอนอายุ 17 ปี ย้ายไปเรียนที่ไต้หวัน 3 ปี และไปจำวัดที่ยุโรปอีกหลายปี ก่อนกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดถาวรวราราม ปี พ.ศ. 2538 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่มีการก่อตั้งโรงเรียนมหาปัญญา ตอนแรกโรงเรียนมีชื่อว่าโรงเรียนถาวรวิทยาลัย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จัดการศึกษาในระดับมัธยมต้นถึงมัธยมปลาย ก่อนจะมีการขยายการศึกษาไปถึงระดับพรียูนิเวอร์ซิตี้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน โดยเราทำข้อตกลงกับสถาบันอุดมศึกษาในไต้หวันและสหรัฐอเมริกาในการส่งนักศึกษาของเราไปเรียนระดับปริญญาตรีที่นั่น…
“บ้านผมอยู่อีกฝั่งของสถานีรถไฟ ในชุมชนดั้งเดิมก่อนจะมีการสร้างสถานีรถไฟเมื่อเกือบร้อยปีก่อน แต่เดิมหาดใหญ่จะใช้คลองเป็นเส้นแบ่งเมือง แต่พอมีรถไฟ ทางรถไฟก็กลายเป็นเส้นแบ่งความเจริญในฐานะที่ผมเป็นคนหาดใหญ่และสถาปนิกผังเมือง ต้องบอกว่าหาดใหญ่เติบโตแบบไร้ทิศทางมานาน จริงอยู่ที่ผังเมืองในยุคหลังรถไฟนี่มีประสิทธิภาพมาก แต่พอเมืองเจริญขึ้นตามยุคสมัย มีผู้คนต่างถิ่นมาอาศัยอยู่ร่วมกันมากๆ รูปแบบเมืองเมื่อเกือบร้อยปีที่แล้วจึงไม่ตอบโจทย์ ขณะเดียวกันนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็พยายามลงทุนกับที่ดินใหม่ที่อยู่ชานเมืองซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า จึงเกิดชุมชนเมืองใหม่กระจายตัวขึ้นเรื่อยๆ เมื่อบวกรวมกับการที่รัฐไม่ได้มีแผนพัฒนามารองรับ เมืองจึงไม่ compact โดยในภาพรวม รัฐก็ต้องเสียค่าสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัว และเมื่อย้อนกลับมาในพื้นที่หนาแน่นใจกลางเมือง เราไม่มีแม้แต่รถประจำทางสาธารณะที่เชื่อมชุมชนเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน…
“หาดใหญ่ไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวมากนัก แต่ด้วยทำเลที่มีสนามบินนานาชาติและชุมทางรถไฟ ความพร้อมในด้านโรงแรมที่มีให้เลือกทุกระดับ ที่สำคัญคืออาหารการกินที่หลากหลาย และวิถีชีวิตยามค่ำคืนที่คึกคัก ผมจึงบอกคนอื่นเสมอว่า ที่นี่คือศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา อยู่ใต้ร่มของสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บทบาทของเราคล้ายๆ หอการค้า แต่จะโฟกัสไปที่การท่องเที่ยว สภาเรามีสมาชิกเป็นสมาคมต่างๆ เช่น สมาคมโรงแรม สมาคมมัคคุเทศก์ และอื่นๆ โดยเรามีหน้าที่เหมือนตัวกลางเชื่อมภาคเอกชนกับภาครัฐ ถ้าภาครัฐมีข่าวหรือโครงการใดๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว…
“ต่อให้มีการลงทุนกับโรงบำบัดน้ำเสียมูลค่าเป็นพันพันล้าน คลองเตยหรือคลองที่ไหนในประเทศนี้ก็ไม่มีทางใสสะอาดได้ หากไม่มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ ที่กล่าวเช่นนี้ หาได้เป็นการผลักภาระไปที่ภาคประชาชน แต่ถึงเราจะมีเครื่องมือดีแค่ไหน หากผู้คนที่อาศัยอยู่ริมสองข้างทางยังคงทิ้งขยะลงคลอง คุณก็ไม่มีทางแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นด้วยกับโครงการคลองเตยลิงก์ที่ไม่เพียงมีแผนฟื้นฟูคลองเตยในเชิงกายภาพ แต่ยังสร้างความร่วมมือให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองเตยมาเป็นแนวร่วมในการแก้ปัญหาไปพร้อมกันเพราะถ้าคนในคลองไม่ทิ้งขยะ แถมยังร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่รอบชุมชนของตัวเอง นี่จะกลายเป็นต้นแบบให้คนที่อยู่นอกพื้นที่มาเห็น ให้ความเคารพในพื้นที่ และไม่ทิ้งขยะหรือสร้างมลภาวะในพื้นที่ลำคลองใจกลางเมืองหาดใหญ่แห่งนี้ต่อไป เมื่อคลองและพื้นที่ริมคลองได้รับการฟื้นฟู ผลประโยชน์ที่ตามมาอีกข้อก็คือหาดใหญ่จะมีเส้นทางสัญจรลัดใจกลางเมืองสายสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง นั่นคือถนนสองข้างทางของคลองเตย ตรงนี้เองที่ทางโครงการคลองเตยลิงก์กำลังหารือกับทางเทศบาลนครหาดใหญ่ในการทำเส้นทางขนส่งสาธารณะมารองรับ เพราะถ้าดูจากแผนที่ของลำคลอง…
“เมื่อราว 50 กว่าปีที่แล้ว ผมขับรถตุ๊กตุ๊กรับส่งนักท่องเที่ยวในตัวเมืองหาดใหญ่ ขับไปได้สักพักก็เริ่มรู้ว่าจะพานักท่องเที่ยวไปที่ไหนและไปเที่ยวอย่างไรให้ตอบโจทย์คนแต่ละกลุ่ม แล้วผมก็เลยสอบเพื่อขอใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ และทำอาชีพนี้มาจนถึงปัจจุบัน กล่าวได้ว่าหลังจากหาดใหญ่เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งจำหน่ายสินค้าราคาถูกมาเนิ่นนาน ผมเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองนี้ก็ว่าได้ ซึ่งในยุคแรกพูดตรงๆ ได้เลยว่า เละครับ เรายังไม่มีการจัดการ ไกด์ผีหรือไกด์เถื่อนเยอะมาก นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา หลายคนโก่งราคาหรือไปหลอกเอาเงินจากเขา บางรายฮั้วกับสถานบันเทิงเพื่อฟันราคาเพิ่ม พาไปซื้อสินค้าคุณภาพต่ำ หรือในยุคที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ท ก็มีการเอารูปห้องพักปลอมมาหลอกนักท่องเที่ยว…
“เมื่อเดือนสิงหาคม (2565) ที่ผ่านมา ทางเทศบาลนครหาดใหญ่เพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียว IMT-GT ซึ่งเป็นแผนงานความร่วมมือของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยในการพัฒนาเมืองด้วยแนวคิดกรีนซิตี้ (Green City) โดย พล.ต.ท.สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภานายกเทศมนตรีเมืองสีเขียวของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วยการประชุมครั้งนั้นเป็นรูปธรรมอันชัดเจนว่าเทศบาลนครหาดใหญ่เรากำลังเดินหน้าขับเคลื่อนเมืองด้วยยุทธศาสตร์เมืองสีเขียว ซึ่งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของเมืองในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ การจัดการขนส่ง…
“พ่อผมทำงานที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นก็ตามมาด้วยพี่ชาย ส่วนผมทำงานบริษัทเอกชน แต่ก็เติบโตมากับชุมชนรถไฟ และคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของคนรถไฟที่นี่ดี แต่ไหนแต่ไรรถไฟคือกระดูกสันหลังของการพัฒนา และจุดเริ่มต้นของความเจริญของเมืองหาดใหญ่ก็มาจากการตั้งชุมทางรถไฟหาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นระบบราชการรวมศูนย์ การรถไฟจึงแปลกแยกตัวเองจากชุมชนและเมืองพอสมควร กล่าวคือต่อให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคประชาชนมีโครงการพัฒนาเมืองอะไรก็ตาม แต่ถ้าหน่วยงานระดับบนของการรถไฟไม่เอาด้วย หน่วยงานส่วนท้องถิ่นก็จะไม่สามารถร่วมโครงการพัฒนานั้นได้ด้วยเหตุนี้เมื่อย้อนกลับมามองเฉพาะในหาดใหญ่ จึงเห็นได้ชัดว่าแม้พื้นที่ของสถานีและชุมชนรถไฟที่มีหลายร้อยไร่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นมาก แต่พื้นที่ดังกล่าวกลับดูคล้ายเป็นพื้นที่ปิด ไม่มีการเชื่อมโยงกับเมือง การรถไฟเรามีพื้นที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ แต่ด้วยบรรยากาศบางอย่าง คนหาดใหญ่ก็ไม่ค่อยอยากเข้ามาใช้งาน ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย…
“ผมเริ่ม Tuber เมื่อ 8 ปีที่แล้ว จากความที่ก่อนหน้านี้ผมทำงานกรุงเทพฯ และพบว่าวงการสตาร์ทอัพในไทยกำลังมา พร้อมๆ กับการเกิด Co-working space หลายแห่ง ประกอบกับที่พบว่าคนหาดใหญ่ที่มีศักยภาพในวงการเทคโนโลยีต้องเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อย ก็คิดว่าถ้าเราเปิดพื้นที่ในบ้านเกิดเราได้ ก็คงมีส่วนขับเคลื่อนแวดวงสตาร์ทอัพให้หาดใหญ่และภาคใต้ จึงตัดสินใจเปิดที่นี่ขึ้นมาเป็น Co-working space แห่งแรกของเมือง…
“คณะผู้บริหารเทศบาลนครหาดใหญ่กำหนดทิศทางการพัฒนาไว้ 3 เรื่อง คือการทำให้หาดใหญ่เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว และน่าลงทุน ด้วยเหตุนี้ เมืองเราจึงขับเคลื่อนด้วย 3 กลไกหลัก ได้แก่ สมาร์ทซิตี้ (smart city) กรีนซิตี้ (green city) และเลิร์นนิ่งซิตี้ (learning city)…
“ผมเรียนกรุงเทพฯ จบมา ก็ทำงานเป็นสถาปนิก ก่อนจะเปิดบริษัทรับจัดอีเวนท์และคอนเสิร์ต ทำอยู่พักใหญ่ แล้วรู้สึกเบื่อกรุงเทพฯ ประกอบกับที่อยากกลับมาดูแลแม่ด้วย เลยตัดสินใจปิดบริษัท กลับมาเริ่มใหม่ที่หาดใหญ่พอมาอยู่บ้าน ผมก็ทำงานคล้ายๆ กับที่กรุงเทพฯ ทำบริษัทออกแบบ และเปิดอีกบริษัทไว้ทำอีเวนท์ ทำอย่างนี้มาได้ประมาณ 2-3 ปี จนมีโอกาสไปเยี่ยมเยียน a.e.y. space ของพี่เอ๋…