ดาวน์โหลด infographic "เรียนรู้ริมกว๊าน" เพื่อเรียนรู้แนวทางการขับเคลื่อนโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/13rkLf-K7r56p2RRhLJrpZY2VaiNTxZ-3/view?usp=sharing
ชวนอ่านเรื่องราวของผู้คนหลายรุ่น หลายที่มา หลายเรื่องราวของชีวิตที่น่าสนใจของผู้คนในเมืองประวัติศาสตร์ เมืองแห่งกว๊าน...เมืองพะเยา ได้ที่ WeCitizens : เสียงพะเยา - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
ชวนอ่านเรื่องราวหลากหลายของผู้คนที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าที่ชื่อ "เชียงใหม่" เมืองประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นยาวนานหลายศตวรรษ หลายระลอกประวัติศาสตร์ที่เชียงใหม่ได้ก้าวผ่านมาจนถึงปัจจุบันที่เชียงใหม่กลายเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม เมืองแห่งผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม หลายช่วงอายุ มาอยู่อาศัยร่วมกัน อ่านเรื่องราวของการเรียนรู้เพื่อร่วมเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ได้ในรูปแบบของ E-book ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/dxpa/
ชวนมาร่วมเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี เมืองที่มีการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง และเป็นเมืองแห่งพิพิธภัณฑ์หลากหลายสาขาความรู้ เรื่องราวของผู้คนหลากหลายที่น่าสนใจได้ใน We Citizens ฉบับ เสียงปทุมธานี ในรูปแบบของ E-book ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ https://anyflip.com/jnmvd/fpzv/
“ตอนจบมาใหม่ๆ เราทำอาชีพครู แต่ความที่เราชอบทำกิจกรรมและงานภาคสนาม จึงพบว่าครูไม่ตอบโจทย์ชีวิตเราเท่าไหร่ จนมาเจอกับพี่ชมพู่ (วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ) ผู้ก่อตั้งกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ - ผู้เรียบเรียง) พี่ชมพู่ก็ชวนมาทำงาน เรารู้จักกลุ่มนี้ตั้งแต่สมัยที่เราทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว จึงตกปากรับคำลูกเหรียงคือชื่อของพืชท้องถิ่นในภาคใต้ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่กว่าจะออกเมล็ดพันธุ์ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี คือต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟูมฟัก แต่เมื่อมันแตกกิ่งก้านสาขาแล้ว ก็จะให้ร่มเงาแผ่กว้าง และเมล็ดพันธุ์ก็พร้อมจะงอกไปยังพื้นที่อื่นๆ…
“เราแค่อยากกลับมาอยู่บ้าน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าจะกลับมาทำอะไร เราเรียนจบศิลปะ (ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ผู้เรียบเรียง) และทำงานสายครีเอทีฟตั้งแต่เรียนจบ ย้อนกลับไปเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว เรานึกไม่ออกเลยนะว่าทักษะทางวิชาชีพที่มี จะไปประกอบอาชีพอะไรในยะลาได้เราเริ่มอาชีพใหม่ในบ้านเกิดของตัวเองด้วยการร่วมกับน้องสาวเปิดร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ชื่อ Living Room ที่เลือกทำร้านก็เพราะเราทั้งสองคนชอบทำอาหาร และเห็นว่ายะลายังไม่มีร้านที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยแบบนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นรูปแบบหนึ่งของงานครีเอทีฟที่เราถนัดด้วยเช่นกัน ทั้งการทำสไตล์ลิ่ง การออกแบบเมนูอาหาร…
“เมื่อก่อนถนนรวมมิตร ที่ตั้งของร้านกาแฟผม เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจของเมืองยะลา มีโชว์รูมร้านค้ามาเปิดเยอะ พลุกพล่านแทบทั้งวัน กระทั่งมีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงปี 2547 ผู้ประกอบการก็พากันย้ายหนีไปที่อื่นเกือบหมด แม้หลายปีผ่านไป สถานการณ์คลี่คลาย ถนนที่อยู่ในตัวเมืองสายนี้ก็เงียบลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลังเรียนจบและไปฝึกประสบการณ์ทำกาแฟในร้านที่ผมหุ้นกับเพื่อนที่ปัตตานีมาหนึ่งปี ผมก็คิดถึงการกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟที่ยะลา เพราะตอนนั้นยะลายังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบ specialty ขณะที่คนดื่มกาแฟหลายคนก็เริ่มมองหาร้านแบบนี้ จนมาเจออาคารให้เช่าบนถนนรวมมิตรนี่แหละ ซึ่งตอนนั้นก็เริ่มมีผู้ประกอบการกลับมาเปิดร้านค้าบนถนนสายนี้บ้างแล้วหลังจากซบเซามานาน เกรโช (Gratio)…
“แม่ผมเป็นช่างเย็บผ้า จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างซนและไปกวนแม่ตอนทำงาน แม่เลยเอาสมุดวาดเขียนและดินสอสีมาให้ผมวาดรูประหว่างรอแม่ กลายเป็นว่าผมชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กตอนแรกอยากเรียนสถาปัตย์ครับ แต่พ่อกับแม่ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วว่าทำไม พอจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เลยเลือกเรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี - ผู้เรียบเรียง) แทน ที่เลือกสาขานี้เพราะเหมือนเราสามารถประยุกต์ทักษะทางศิลปะที่เราชอบให้เป็นอาชีพอันหลากหลายได้ โดยระหว่างเรียนผมก็พบตัวเองว่าน่าจะจบไปทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ ตอนทำโปรเจกต์เรียนจบ…
“ความที่ยะลาเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่กลับมีสถาบันการศึกษาที่ครบในทุกระดับและทุกระบบ รวมถึงเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ TK Park ในระดับภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทยด้วย สิ่งนี้เป็นต้นทุนที่ดีมากๆ ในการส่งเสริมการศึกษาท่านนายกเทศมนตรี (พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) มักจะบอกกับทุกคนเสมอว่า ยะลาคือตักศิลาของการศึกษาทางภาคใต้ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องเกินเลยแต่อย่างใด เพราะถ้าเทียบกับหาดใหญ่ที่เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า และมีสถาบันอุดมศึกษาที่มากกว่า แต่หาดใหญ่ก็ไม่มีสถาบันที่หลากหลายเท่ายะลา เรามีตั้งแต่โรงเรียนตำรวจไปจนถึงมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติตั้งอยู่ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นเมืองที่มีการจัดการศึกษาที่หลากหลายและครอบคลุมในระดับท้องถิ่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในส่วนของเทศบาลนครยะลา เราค่อนข้างมีอิสระในการจัดการศึกษาด้วยตัวเอง…
“แม้จังหวัดยะลาจะไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่ก็กลับมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจตั้งแต่พื้นที่เมือง ท้องไร่สำหรับทำการเกษตร พื้นที่ชุ่มน้ำ ผืนป่า และภูเขา ทั้งนี้ยะลายังต่างจากสามจังหวัดในชายแดนใต้ที่ต่างมีป่าเขตร้อนชื้นมลายูเหมือนกัน คือยะลามีผืนป่าฮาลาบาลา ที่มีเขตภูเขาฮาลาเป็นภูเขาสูง เป็นป่ามลายูบนพื้นที่สูงแห่งเดียว และเป็นที่อยู่อาศัยของนกหายากอย่างนกไต่ไม้สีน้ำเงิน นกแว่นภูเขา และอื่นๆ ซึ่งมีให้ดูที่นี่ที่เดียวในไทย ภูมิศาสตร์ที่หลากหลายเช่นนี้นำมาซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และองค์ความรู้มากมายมหาศาลที่เกี่ยวเนื่องกัน พวกเราจึงคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าองค์ความรู้เหล่านี้มันไม่ถูกเผยแพร่ ได้ทำให้เยาวชนในยะลาตระหนักถึงคุณค่าอันนำมาซึ่งการอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นทุนในการพัฒนาเมืองของเราต่อไป…