WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวเขาใหญ่และปากช่องที่อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติจนนำมาสู่ โคก หนอง นา โมเดลแห่งเขาใหญ่-ปากช่อง ผ่าน infographic ที่เรียนรู้จบภายในภาพเดียว ดาวน์โหลด infographic ปากช่องได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1mek_dmwhQb71yi1d23FL90PitS1sSe2m/view?usp=sharing
WeCitizens ชวนผู้อ่านไปฟังเสียงของเมืองหาดใหญ่ผ่านการอ่าน e-book เพื่อทำความรู้จักผู้คนของเมืองแห่งการค้า และร่วมเรียนรู้หาดใหญ่ในฐานะของเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ Wecitizens : เสียงหาดใหญ่ - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
WeCitizens ชวนผู้อ่านมาทำความรู้จักเมืองระยองผ่าน infographic ที่จะสรุปให้เห็นข้อมูลของระยองในฐานะของเมืองแห่งการเรียนรู้ที่เดินไปบนทางร่วมระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม พร้อมดาวน์โหลด infographic ฉบับขยาย 100% ได้ตามลิงค์แนบ ดาวน์โหลดไฟล์ infographic 100% ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1vuq7cS4TeSGhVX5QI44wSYZR5x1anl8_/view?usp=sharing
WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินเที่ยวย่านกะดีจีน-คลองสานด้วยแผนที่ที่ UddC ได้จัดทำไว้ เพื่อเป็นไกด์ไลน์ให้ผู้ที่สนใจได้ท่องเที่ยวและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน วิถีชีวิตของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติศาสนาที่อยู่ร่วมกันในชุมชนย่านนี้มานานนับสองศตวรรษ ดาวน์โหลดแผนที่ฉบับเต็ม 100% ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1z_zrhYjAuNYKbC4jMaGJVK6UvyCXpBVD/view?usp=sharing ดาวน์โหลดแผนที่ฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/file/d/12pY02PoLFLD541MM2lBDXFJzeqWb2D28/view?usp=sharing
WeCitizens ภูมิใจพาทุกท่านไปพบปะกับพลเมืองแห่งการเรียนรู้ ตัวแทนอปท. และนักวิจัยผู้ใช้กระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ และพลังความร่วมมือ ฟื้นฟูชุมชนและเมืองของตนเอง ...กับ 3 เมืองจาก 3 ภูมิภาค - เทศบาลตำบลปากพูน จ.นครศรีธรรมราช - เทศบาลนครยะลา จ.ยะลา และ เทศบาลนครนครสวรรค์…
“เราเริ่มสนใจประเด็นการพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง คือราวปี 2553 ตอนเป็นประธานสโมสรนักเขียนภาคอีสาน คือก่อนหน้านี้เราทำรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และเป็นอาจารย์สอนด้านการสื่อสาร แต่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องประเด็นเมืองนัก เพราะขอนแก่นมีคนทำเรื่องนี้เยอะอยู่แล้ว แต่พอมาทำงานด้านการประสานงานกิจกรรมเกี่ยวกับการสื่อสารที่โฟกัสไปที่เด็กและเยาวชน จึงทำให้เรากลับมาคิดถึงพื้นที่ส่งเสริมสิ่งนี้ในเมือง อีกอย่างคือ เราก็มีลูกด้วย ก็อยากให้ลูกเข้าถึงพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ในเมือง เลยคิดว่าน่าจะใช้บทบาทของเราขับเคลื่อนพื้นที่เหล่านี้ได้ ขอนแก่นมีต้นทุนที่ดีตรงที่มีห้องสมุดเด็กสวนดอกคูนอยู่ตรงบึงแก่นนคร ซึ่งเทศบาลนครขอนแก่นเขาจ้างให้มูลนิธิไทยสร้างสรรค์ทำไว้ และความที่เราชอบพาลูกไปใช้พื้นที่บ่อยๆ ก็เลยได้ร่วมเป็นภาคีจัดกิจกรรมกับเขา ช่วงที่เรามาเป็นประธานสโมสรฯ ก็ทำให้เรารู้สึกว่า…
“ถึงขอนแก่นจะเป็นเมืองที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของอีสาน แต่เมืองก็กลับมีมุมมืดอยู่ไม่น้อย มุมมืดที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ การเข้าไม่ถึงโอกาส ไปจนถึงสภาพแวดล้อมของชุมชนแออัดหลายจุด ซึ่งทำให้เด็กหลายๆ คนหลุดออกจากระบบการศึกษา ไปจนถึงเลือกเดินทางผิด อย่างสมัยก่อนชุมชนที่ผมอยู่เป็นชุมชนเปลี่ยวๆ และอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีวัยรุ่นมาซ่องสุมกันมาก ผมก็พบว่ามีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันหลายคนที่หันไปหารายได้พิเศษด้วยการเดินยาเสพติด ผมก็ยังได้รับการชักชวนด้วย อย่างไรก็ตาม ผมโชคดีที่โรงเรียนผม เขามีกิจกรรมนอกห้องเรียนให้เลือกหลากหลาย และมันก็ช่วยดึงความสนใจของผมไปอยู่ที่กิจกรรมเหล่านี้ อย่างผมเข้าร่วมโครงการทูบีนัมเบอร์วัน (TO BE…
“โครงการขนส่งมวลชนรถไฟรางเบาขอนแก่น (LRT) เป็นหนึ่งในโครงการสมาร์ทซิตี้ในส่วนของสมาร์ทโมบิลิตี้ (smart mobility) เราเริ่มคุยกันจริงจัง ตอนที่ผมดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยมีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรม รวมถึงสถาบันการศึกษาในเมือง มาหารือกันว่าเราต้องการขนส่งมวลชนแบบไหนที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เมืองเราได้และแนวคิดเรื่องการทำระบบรางก็เริ่มขึ้นจากตรงนั้น อย่างไรก็ดี โมเดลนี้ก็แตกต่างจากโมเดลด้านขนส่งมวลชนอื่นๆ ตรงที่มันต้องเป็นโครงการที่บริหารจัดการและลงทุนโดยท้องถิ่นเอง…
“ผมเกิดที่ขอนแก่น มีโอกาสไปเรียนที่กรุงเทพ และเคยเข้าไปช่วยงาน ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยนายกฯ ชวน ตอนนั้นเมืองไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบ Fixed พอโดนโจมตีก็กลายเป็นแบบลอยตัว ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องที่ผมสนใจอยากช่วยแก้ไข เลยไปต่อเรียนต่อที่อเมริกาด้าน Risk Management Financial Engineering ตอนแรกก็คิดอยู่ว่าจะไปทำงานที่แบงค์ชาติ แต่คุณพ่อชวนให้กลับมาช่วยทำ…
“ผมจบด้านภาพยนตร์และทำงานด้านนี้ต่อที่กรุงเทพฯ พักหนึ่ง กระทั่งราวๆ 8 ปีก่อน พ่อป่วย เลยกลับขอนแก่นมาดูแลท่าน และก็ไม่รู้สึกอยากกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ อีกแล้ว จึงมาทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่นี่ และอยู่ไปสักพักจนปี 2561 ก็เปิด Hidden Town ในย่านถนนศรีจันทร์ ตอนแรกตั้งใจให้เป็นค็อกเทลบาร์ แล้วก็ปรับมาเป็นบาร์แจ๊ส (jazz bar)…