“พื้นเพผมเป็นคนกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี มาอยู่นครศรีธรรมราชเพราะมาเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม เมื่อก่อนอยากเป็นนักเขียนการ์ตูน พอจบมาใหม่ๆ ก็ไปอยู่กับพี่ดิเรก สีแก้วพี่ดิเรกค่อนข้างมีอิทธิพลกับผม เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ผมออกจากงานร้านป้ายไปรับงานเขียนรูปเหมือนอยู่เกาะสมุย พอมีโอกาสได้พบปะแกบ้าง เห็นว่าแกหันมาเขียนบทกวี ผมก็สนใจการอ่านการเขียนตามแกไปด้วย จนมีรวมเรื่องสั้นตีพิมพ์เป็นของตัวเองเล่มแรก (‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ’, รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ปี 2554 - ผู้เรียบเรียง) หลังจากหันมาเขียนหนังสือเป็นหลักอยู่ 3-4…
“ผมเกิดและโตที่บ้านปากพูนใต้ จำความได้ก็ลงเรือหาปลาแล้ว เลี้ยงชีพด้วยการทำประมงมาทั้งชีวิต ออกเรือทุกวัน จะหยุดเฉพาะวันที่ป่วยหรือมีธุระ บางวันหาปลาได้มากก็จะฝากลูกสาวไปขายในตลาดได้เงินเยอะ แต่วันไหนโชคไม่ดี หาได้ไม่มาก แต่อย่างน้อยก็ยังมีปลาที่หามาได้ไว้กินจนมาช่วงปีหลังมานี้ ที่ทางชุมชนมีกิจกรรมล่องเรืออุโมงค์ป่าโกงกาง ผมก็ได้อาชีพเสริมใหม่เป็นคนขับเรือให้นักท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ โดยจะเริ่มจากท่าเรือใกล้ๆ ตลาดท่าแพ ล่องไปในคลองท่าแพผ่านหมู่บ้านปากพูนใต้ ผมจะชี้ให้นักท่องเที่ยวดูสองข้างทางว่ามีอะไร โดยเฉพาะมัสยิดดารุ้ลนาอีม (บ้านปากพูนใต้) ซึ่งเป็นมัสยิดที่ผมไปทำละหมาดประจำ จากนั้นเรือก็จะเข้าอุโมงค์ป่าโกงกาง จนออกปากอ่าวปากพูน…
“พวกเรามีทั้งลูกหลานชาวปากพูนดั้งเดิม อีกส่วนเป็นคนมุสลิม และลูกหลานคนเพชรบุรีที่อพยพมา เป็นชาวประมงเหมือนกัน แต่ก็มีวิถีที่แตกต่างกันเล็กน้อยอย่างถ้าเป็นลูกหลานคนเพชรจะมีเครื่องมือจับปลาอีกแบบที่เรียกว่า ‘หมรัม’ เอาท่อนไม้มาร้อยต่อกันและล้อมเป็นทรงกลม ล่อให้ปลาเข้ามากินอาหาร และเราก็ขึ้นปลาจากหมรัมได้เลย ส่วนถ้าเป็นคนปากพูนแต่เดิมเลยก็จะใช้อวน ใช้ไซ รวมถึงโพงพาง ซึ่งอย่างหลังนี้เราเลิกใช้ไปแล้วเพราะผิดกฎหมาย เมื่อก่อนคนปากพูนก็ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายกันแหละครับ โพงพาง ไซตัวหนอน ไอ้โง่ หรือลากตะแกรง ก็จับปลากันได้เยอะ แต่เพราะเครื่องมือพวกนี้มันจับปลาได้หมด…
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ประกาศให้เทศบาลเมืองพะเยาเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตของยูเนสโก (UNESCO Global Network of Learning Cities) พร้อมกับเมืองสุโขทัย และหาดใหญ่ อันเป็นผลจากความร่วมมือในการยื่นเอกสารระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยาและองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยาเมื่อปลายปีที่แล้ว นอกจาก…
ทำความรู้จัก "หลุยส์ แอล ที เลียวโนเวนส์" เจ้าของบ้านหลุยส์ที่มีชื่อเสียงในย่านท่ามะโอ จังหวัดลำปางผ่านกาลานุกรม (timeline) ที่บอกเล่าประวัติชีวิตและการทำงานของเขา ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1x0aY0nGPPX5y31gbDr0WhpNuWU1Xw-N8/view?usp=sharing *ที่มา infographic: โครงการ “การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม” โดย ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต…
infographic "เรียนรู้ เชื่อมคน สร้างเมือง" จากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคตของเมืองเขลางค์ผ่านเครื่องมือในการขับเคลื่อนจังหวัดลำปางไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับได้ที่https://drive.google.com/file/d/1E68By1GR36DOjmOPvX37BE6EXxQEcK2p/view?usp=sharing
ท่ามะโอ ย่านวัฒนธรรมอันอุดมสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง จากผลงานการดำเนินงานการวิจัยโครงการ “การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียรู้ จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม” ดำเนินการ ดร.ขวัญนภา สุขคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มาสู่แผนที่ภูมิวัฒนธรรมท่ามะโอ*ที่มาแผนที่ : โครงการ “การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม” โดย ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดัดแปลง/…
ไม่ได้เป็นแค่แผนที่ท่องเที่ยว แต่เป็นแผนที่พิพิธภัณฑ์มีชีวิตย่านสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ทั้งพิพิธภัณฑ์กินได้ อาหารในตำนานย่านสบตุ๋ย / พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านเก่าเล่าความหลัง / พิพิธภัณฑ์ถนนความรู้ จากผลงานการดำเนินงานการวิจัยโครงการ “การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียรู้ จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม” ดำเนินการ ดร.ขวัญนภา สุขคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง *ที่มาแผนที่ :…
ร่วมเรียนรู้การเดินทางผ่านกาลเวลาอันยาวนานของผู้คนจากเมืองเขลางค์ เมืองเก่าที่เป็นชุมทางเชื่อมต่อของเมืองต่างๆ ในล้านนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมืองศูนย์กลางของรถไฟสายเหนือ และการเป็นใจกลาววิถีชีวิตเศรษฐกิจของคนในลุ่มน้ำวัง โครงการ "การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม" ดำเนินการ ดร.ขวัญนภา สุขคร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง ได้ศึกษาเมืองลำปางใน 3 ประเด็น ได้แก่1. การจัดทำและประมวลข้อมูลท้องถิ่นศึกษา2. พัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วม3.…