จากยอดดอยสู่สายน้ำ สำรวจพื้นที่แห่งการเรียนรู้ตามคำขวัญเมืองเชียงใหม่ 10 ล้านคนต่อปีคือจำนวนโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเยือนเชียงใหม่ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมากเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่ข้อมูลจากสื่อท่องเที่ยวระดับสากลยังระบุอีกว่าเชียงใหม่ได้รับการโหวตให้ติดอันดับ top 10 เมืองน่าเที่ยวที่สุดในเอเชียต่อเนื่องมาหลายปี กระนั้นก็ตาม เชียงใหม่ก็หาได้มีดีแค่การท่องเที่ยว อดีตเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา เมืองต้นธารทางศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ ศูนย์กลางของสล่าหัตถกรรม นครแห่งศิลปะ พื้นที่บุกเบิกการปลูกพืชเมืองหนาวไปจนถึงเมืองต้นแบบของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศ และแน่นอน เมืองหลวงของภาคประชาสังคม…
“ผมเคยไปทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทผลิตรถที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รู้จักจังหวัดเล็กๆ ชื่อ ไอจิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหุบเขาโครังเค ในแต่ละปีคนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวจะไปชมใบไม้เปลี่ยนสีที่หุบเขานั้นเป็นประจำ ตัวเมืองเขาจะเล็กๆ เงียบๆ แต่ทุกคนก็จดจำเมืองนี้ได้เพราะโครังเค ไอจิทำให้ผมคิดถึงลำปาง ความที่เมืองเราถูกจดจำในฐานะเมืองผ่าน แต่ขณะเดียวกันเราก็มีทรัพยากรที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ลำปางถูกจดจำในฐานะเมืองรถม้า เมืองเซรามิก หรือที่หลายคนอาจไม่ทราบว่าเราเป็นที่ตั้งของโรงงานครั่งที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ขณะเดียวกันตามพื้นที่รอบนอก ลำปางก็เป็นเมืองที่มีทัศนียภาพของภูเขาที่งดงาม ผมเคยคิดเล่นๆ ว่าถ้าหน่วยงานท้องถิ่นลองร่วมมือกันปลูกไม้ดอกที่เป็นเอกลักษณ์ริมถนนนอกเมืองสักสาย…
“หลังเรียนจบ เราไปทำงานที่ฮ่องกงมาเกือบ 6 ปี จนอากงป่วยหนัก เลยตัดสินใจกลับบ้าน ครอบครัวเราเปิดร้าน ‘ท่งเฮงกี่’ ขายกุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น หมูสวรรค์ ซึ่งเปิดในย่านสบตุ๋ยของเมืองลำปางมา 80 กว่าปีแล้ว สมัยตั้งแต่รุ่นคุณทวดท่านย้ายมาจากซัวเถา ความที่สมัยเด็กๆ เราช่วยงานเตี่ย จึงรู้กรรมวิธีทั้งหมด พออากงเสียชีวิต…
“พ่อผมเป็นทั้งคนขับรถม้าและคนฝึกม้า ตอนเด็กๆ เวลาพ่อผมไปขับรถม้าพานักท่องเที่ยวชมเมือง แกจะพาผมนั่งติดรถไปด้วย ผมขึ้นหลังม้าตั้งแต่อายุราว 5-6 ขวบ พออายุ 8 ขวบ พ่อก็ให้จับสายขับและฝึกควบคุมม้า จนผมอายุ 12 ปี จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันที่ 5 ธันวาคม พ่อออกไปทำธุระนอกบ้านพอดี ผมเลยถือโอกาสพานายบุญทอง ม้าที่พ่อให้ผมใช้ฝึกลากรถออกไปเข้าคิวรับลูกค้า…
“ผมเกิดและโตที่ชุมชนท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ช่วงเรียนมอหนึ่ง ป้าต้อย (สดศรี ขัตติยวงศ์) เริ่มก่อตั้งกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งผมมีโอกาสเป็นอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่น จากที่ผูกพันกับชุมชนอยู่แล้ว พอได้ร่วมกิจกรรม ได้เข้าอบรม และได้นำนักท่องเที่ยวชมย่านก็รู้สึกสนุกดี แต่ตอนนั้นผมคิดว่าเป็นแค่การใช้เวลาว่างแบบหนึ่ง ไม่ได้คิดอะไรจริงจัง ผมเรียนด้านสิ่งแวดล้อม เรียนเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ หรือรถไฟฟ้าทำนองนั้น แต่จุดเปลี่ยนจริงๆ คือช่วงจบปริญญาตรี…
“สมัยก่อนเราจะเรียกหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำวังฝั่งนี้นำด้วย ‘ท่า’ ซึ่งมาจากท่าน้ำ และตามด้วยต้นไม้ที่ขึ้นชุมบริเวณนั้น อย่างบ้านป้าเป็นบ้านท่าเก๊าม่วงซึ่งมาจากต้นมะม่วง ถัดไปเรียกบ้านท่าเก๊าไฮมาจากต้นไทร หรือท่ามะโอก็มาจากส้มโอ จนปี 2542 เทศบาลนครลำปางก็จัดตั้งชุมชนขึ้น ก็เลยเรียกรวมย่านนี้ทั้งหมดว่า ‘ท่ามะโอ’ เพราะคำคำนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้ว ศูนย์กลางของชุมชนท่ามะโอคือวัดประตูป่อง ซึ่งเป็นวัดที่มีศรัทธาเป็นคนท้องถิ่น ส่วนอีกวัดในชุมชนคือวัดท่ามะโอ สร้างโดยชาวพม่ายุคสัมปทานไม้ เป็นที่ทราบกันว่าชาวพม่านี่มีฝีมือทำไม้เก่งที่สุดในเอเชีย ที่ไหนค้าไม้ คนพม่าก็จะไปอยู่ทุกที่…
“องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน แต่เดิมมีชื่อว่า ‘กองทำไม้’ สังกัดกรมป่าไม้ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ในยุคที่อังกฤษเข้ามาทำสัมปทานไม้สักในภาคเหนือของประเทศไทย ผ่านบริษัท บอร์เนียว จำกัด และบริษัท หลุยส์ ที. เลียว โนเวนส์ บทบาทในตอนนั้นคือการทำไม้เพื่อหารายได้ให้รัฐบาล ซึ่งต่อมาในปี 2482 เมื่อสัมปทานป่าไม้ของทั้งสองบริษัทนี้สิ้นสุดลง…
“ผมเริ่มเล่นดนตรีกลางคืนระหว่างที่เรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนเรียนจบออกมาก็ไม่ได้ทำงานตรงสายที่เรียน เป็นนักดนตรีกลางคืนอย่างเดียว เล่นตั้งแต่ที่มังกี้คลับยังเปิดอยู่ ที่วอร์มอัพ และอื่นๆ ต่อเนื่องมา 12 ปี จนแม่ตามตัวให้ผมกลับไปช่วยธุรกิจที่บ้านที่ลำปางเมื่อราว 5 ปีที่แล้ว ก็เลยตัดสินใจเลิกเพื่อกลับมาอยู่บ้าน ผมเรียนมัธยมที่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จากนั้นก็ไปอยู่เชียงใหม่มา 16 ปี ระหว่างนั้นมีโอกาสกลับบ้านบ้าง แต่การกลับมาอยู่ลำปางแบบเต็มเวลา รวมถึงเปลี่ยนรูปแบบงานโดยสิ้นเชิงเลยก็ทำให้ผมใช้เวลานานเหมือนกันกว่าจะปรับตัวได้…
“คนมักเข้าใจกันว่าชาวลำปางในศตวรรษที่แล้วร่ำรวยจากการทำสัมปทานค้าไม้ แต่เปล่าเลย รายได้จากการค้าไม้นี่เข้ากระเป๋าคนอังกฤษหมด ที่คนในพื้นที่รวยๆ กันนี่ส่วนหนึ่งมาจากการค้าฝิ่น สมัยก่อนฝิ่นยังเสรี หลังธนาคารกรุงไทยในตลาดยังเคยมีโรงฝิ่นขนาดใหญ่ พ่อค้าจีนล่องเรือมาใช้บริการกันงอมแงม แต่ในขณะเดียวกันยุคค้าไม้ ก็ทำให้เกิดธุรกิจอื่นๆ ขึ้นตามมาในเมือง จนทำให้ลำปางรุ่งเรืองอย่างมากในตอนนั้น สมัยพี่เป็นเด็ก พี่ยังทันเห็นที่เขาขนท่อนซุงกันอยู่เลยนะ ตอนนั้นแม่น้ำวังตั้งแต่เกาะคาลงมาเต็มไปด้วยท่อนซุงในแบบที่ลงไปวิ่งเล่นบนแม่น้ำได้เลย ก่อนพี่จะเกิด ครอบครัวแม่พี่อยู่เกาะคา แกยังเคยทำงานรับจ้างขนท่อนซุงขึ้นฝั่งอยู่เลย จนช่วงหลังๆ การขนไม้เริ่มซาลง…
“ลุงพิทักษ์เคยเป็นหลงจู๊มาก่อน แกทำหน้าที่คล้ายเซลล์แมน ซึ่งต้องขับรถส่งของในเส้นทางลำปางไปจนถึงอำเภอแม่สายที่เชียงราย ส่วนป้าเป็นคนห้างฉัตรที่เข้ามาทำงานในตัวเมือง เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว เราเจอกันที่ลำปาง หลังจากตกลงใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ความที่ลุงแกไม่อยากเดินทางบ่อยอีกแล้ว จึงนำเงินเก็บมาเปิดร้านขายของชำอยู่ในย่านกาดกองต้านี่ สมัยนั้นกาดกองต้าบนถนนตลาดเก่าที่เลียบริมแม่น้ำวังเงียบเหงามาก ยังไม่มีถนนคนเดิน และบ้านส่วนใหญ่ก็ปิดไว้ ไม่ได้ทำการค้า แต่ความที่ซอยหลิ่งจันทร์หมันที่ร้านเราเปิด เป็นคิวรถไปอำเภอเมืองปาน ลูกค้าหลักของร้านจึงเป็นคนจากอำเภอรอบนอกที่นั่งรถประจำทาง ซึ่งสมัยนั้นเป็นรถคอกหมูเข้ามาทำธุระในเมือง สมัยก่อนรถขนคนมาแน่นทุกรอบเลย…