Province

ความที่หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ตั้งอยู่ใจกลางเมือง และใกล้สถานศึกษาหลายแห่ง พื้นที่นี้จึงเป็นเหมือนทั้งพื้นที่นัดหมาย หรือพักผ่อนของเด็กๆ ไปในตัว เหมือนให้พวกเขาได้มาใช้ประโยชน์และซึมซับศิลปะไปพร้อมกัน

WeCitizens นัดหมายกับ รศ.ดร.กตัญญู แก้วหานาม อาจารย์สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่บริเวณสวนสาธารณะริมปาว ติดกับศาลเจ้าพ่อโสมพะมิตร ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์นี่เป็นการสนทนาที่อาจไม่ได้ราบรื่นนัก เพราะพื้นที่แห่งนี้กำลังจัดพิธีเปิดมหกรรมฟื้นใจเมือง ‘ภูมิถิ่น แก่งสำโรง โค้งสงเปลือย’ มหกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีของเมืองที่จัดเป็นครั้งแรก โดยต่อยอดมาจากพิธีสักการะพระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร) นั่นทำให้การสนทนาของเราถูกแทรกด้วยเสียงจากกิจกรรมบนเวที และเสียงของผู้คนที่มาร่วมงานอยู่บ่อยๆแน่นอน ที่เรานัดคุยกับอาจารย์ในพื้นที่อันแสนอึกทึกขนาดนี้…

2 years ago

“แทบจะไม่มีเมืองไหนที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะจะกลายเป็นศูนย์กลางเมืองเหมือนที่เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์เลยนะครับ”

“ผมเป็นผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ นอกจากดูแลโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กในสังกัดเทศบาลแล้ว พันธกิจของเราคือการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับคนทุกวัย เช่น ตลาดนัดที่มีพื้นที่กิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ที่เป็นพื้นที่จุดประกายด้านศิลปะ หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ ที่มีหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับคนสูงวัย และกิจกรรมให้พวกเขาได้ผ่อนคลาย เป็นต้นผมไม่เคยคิดมาก่อนว่ากาฬสินธุ์พร้อมด้วยคุณสมบัติของเมืองแห่งการเรียนรู้ เพิ่งมารู้ก็เพราะเมื่อทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มาสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนกลไกเมืองแห่งการเรียนรู้นี่แหละ คือเราก็ทำของเรามาเรื่อยๆ จนทางมหาวิทยาลัยเอาหลักวิชาการเข้ามา และเชื่อมโยงกิจกรรมการเรียนรู้กับชุมชนต่างๆ จนพบว่าทางเทศบาลกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มีเป้าหมายเดียวกัน อย่างงานตลาดสร้างสุขที่จัดทุกเย็นวันอังคารและพฤหัสบดีรอบหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ที่เทศบาลร่วมเป็นเจ้าภาพ นายกเทศมนตรีท่านยังมอบหมายงานนี้ให้กับสำนักงานผม ซึ่งดูไม่น่าจะเกี่ยวข้องอะไรกับการทำตลาดเลย…

2 years ago

“การศึกษาไม่ได้มีเพื่อให้ทุกคนแค่มีวิชาชีพไว้แสวงหาความร่ำรวย แต่คือการทำความเข้าใจโลก การช่วยเหลือแบ่งปัน และการทำให้ตระหนักว่าความดีคือสิ่งมีค่าที่ไม่มีทางซื้อหาได้ นอกจากการลงมือทำ”

“ผมเป็นเด็กที่ไม่ชอบเรียนมากๆ ไม่ชอบวิชาการและไม่ชอบท่องจำ เอาเป็นว่าการศึกษาไทยในสมัยนั้นมันแทบไม่มีพื้นที่ให้เด็กอย่างผมเลยซึ่งแน่นอน ผมสอบเอ็นทรานซ์ไม่ติด จึงต้องสมัครเข้าเรียนภาคสมทบของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สาขาการออกแบบ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์) จนได้พบพื้นที่ของตัวเองจากที่นั่น ทั้งการได้คิด ได้ทำโปรเจกต์ และได้ออกแบบ ช่วงเวลานั้นทำให้จากเด็กขี้เกียจคนหนึ่งกลายมาเป็นคนขวนขวายในการสร้างสรรค์ไปเลย ขณะเดียวกัน ก็อยากสื่อสารภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะถ้าเราทำงานออกแบบได้และพูดอังกฤษได้ มันจะพาเราไปได้ไกล ก็ไปตีสนิทกับอาจารย์ที่สอนสาขาภาษาอังกฤษให้เขาสอน จะพรีเซนท์งานอาจารย์ทีก็ทำทั้งสองภาษา…

2 years ago

“กาฬสินธุ์เป็นเมืองอุดมสุขในวิสัยทัศน์ของผม หมายความถึงคนกาฬสินธุ์ทุกวัยอยู่แล้วมีความสุข มีที่อยู่อาศัย ที่พักผ่อน มีแหล่งงาน และที่พึ่ง รวมถึงทุกคนมีเงินในกระเป๋าอย่างเพียงพอและภาคภูมิใจที่ได้อยู่ในเมืองเมืองนี้”

“ผมเป็นนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ครั้งแรกปี 2545 ก่อนหน้านี้ผมทำงานเป็นทนายความ ควบคู่ไปกับบริหารธุรกิจกงสีที่บ้าน ซึ่งนั่นช่วยผมในการทำงานเทศบาลได้มากเลยนะ เพราะขณะที่ผมเอาทักษะของการบริหารธุรกิจมาบริหารราชการ การเป็นทนายความก็ทำให้ผมหนักแน่นในหลักการ และตระหนักดีว่าไม่ว่าจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์และเครื่องชี้วัด และเพราะเหตุนี้ช่วงปีแรก ผมจึงวางยุทธศาสตร์ก่อนเลยว่าต้องทำให้กาฬสินธุ์เป็นเมืองน่าอยู่ด้วยการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เมืองสะอาด ควบคู่ไปกับการทำสาธารณูปโภคให้ดี น้ำไหล ไฟสว่าง และแก้ปัญหาสังคมและยาเสพติด โดยเริ่มเข้าไปแก้ปัญหาชุมชนแออัดที่รุกล้ำพื้นที่ริมน้ำปาว ซึ่งสร้างปัญหาเรื่องทัศนียภาพและสุขอนามัยให้กับเมืองมาช้านาน พร้อมไปกับการกวดขันเจ้าหน้าที่ในการเก็บขยะในพื้นที่ จนได้ทั้งรางวัลด้านความสะอาดระดับประเทศในปี 2546…

2 years ago

“พิพิธภัณฑ์สิรินธรคือห้องสมุดทางธรณีวิทยาขนาดใหญ่ ที่เปิดให้เด็กๆ เข้ามาอ่าน มาเรียนรู้ และมาค้นพบแรงบันดาลใจ”

“หลังจากที่พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อันนำมาซึ่งการสำรวจขุดค้นอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ในปี พ.ศ. 2537 ผู้คนจากทั่วสารทิศก็ต่างมาที่นี่ รวมถึงที่อื่นๆ ในภาคอีสานที่มีรายงานการค้นพบ เพื่อร่วมสำรวจการขุดค้น โดยบางส่วนยังลักลอบนำกระดูกไปเป็นของส่วนตัว บางคนนำไปบูชาประหนึ่งเครื่องลางของขลัง บางคนก็เอาไปฝนทำยาด้วยความเชื่อผิดๆ ว่าจะเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งนั่นล่ะครับ ต่อมาบางคนก็เป็นนิ่วเพราะเหตุนี้ภายหลังที่ทางกรมทรัพยากรธรณีได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ก่อนจะพัฒนามาเป็นพิพิธภัณฑ์สิรินธร…

2 years ago

“แรกๆ คนแถวนี้ก็ไม่เข้าใจ เขาเรียกเราเป็นภาษาอีสานว่า ‘ผีบ้าเฮ็ดนา’ เพราะเห็นว่าเราทำนาไม่เหมือนชาวบ้าน”

“พ่อแม่ผมเป็นชาวนา แต่พวกท่านอยากให้ผมเรียนหนังสือเพื่อทำอาชีพอื่นมากกว่า จึงส่งเรียนตามปกติ จบมาก็ไปทำงานที่กรุงเทพฯ อยู่ที่นั่นเกือบสิบปี ที่ทำงานสุดท้ายคือบริษัทโซนี่ แล้วก็เกิดอิ่มตัว ผมกับแฟนจึงชวนกันกลับมาอยู่บ้านที่กาฬสินธุ์พอกลับมาก็ทำร้านเช่าวิดีโอก่อน ผลตอบรับดีมากๆ กระทั่งเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง จากดีๆ อยู่ ชั่วข้ามคืนก็กลายเป็นหนี้ถึงขั้นล้มละลาย ก็ต้องเสียที่ดินใช้หนี้ไปส่วนหนึ่ง แล้วธุรกิจนี้ก็ไปต่อไม่ได้ ทีนี้ก็มาคิดกันว่าจะทำอะไรต่อไป สุดท้ายก็นำต้นทุนที่ครอบครัวผมมีอยู่แล้วมาทำ นั่นคือการเป็นเกษตรกร เราใช้ที่นาของที่บ้านมาทำ ที่ดินตรงนี้ดีหน่อยเพราะอยู่ในเขตชลประทาน…

2 years ago

“ผมอยากให้สวนดอนธรรมเป็นสมบัติของคนอีสาน เป็นสมบัติของแผ่นดิน”

“ผมเกิดปี พ.ศ. 2493 ที่กาฬสินธุ์ ก็เหมือนคนอีสานส่วนใหญ่ในสมัยนั้นที่ต้องจากบ้านไปแสวงหาความร่ำรวยที่กรุงเทพฯ บางคนไม่ประสบความสำเร็จก็ต้องกลับบ้าน บางคนอาจเสียชีวิตก่อนได้กลับบ้าน ส่วนผมประสบความสำเร็จหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ แต่คิดว่าการได้โอกาสกลับมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่บ้าน ถือเป็นโชคดีผมเริ่มงานในตำแหน่งพนักงานขนถ่ายพัสดุที่การบินไทยในวันที่ 23 สิงหาคม 2523 ทำมา 25 ปี ตำแหน่งสุดท้ายคือเจ้าหน้าที่สำนักงาน คิดว่าก่อนร่างกายเราจะทำอะไรต่อไปไม่ไหว น่าจะกลับไปทำอะไรสักอย่างที่บ้าน…

2 years ago

“อย่างขอนแก่นนี่เมืองแคนใช่ไหม ร้อยเอ็ดก็มีโหวด ส่วนกาฬสินธุ์ เราก็มีโปงลางเป็นสัญลักษณ์”

“จริงๆ โปงลางไม่ใช่เครื่องดนตรีของกาฬสินธุ์ครับ มีเครื่องดนตรีที่คล้ายๆ กับโปงลางอยู่ทั่วโลก อินเดียนแดงที่อเมริกาเขาก็มีเหมือนกัน อินโดนีเซียหรือเวียดนามก็มี แค่เรียกชื่อต่างกัน โดยเฉพาะในอีสานเรามีกันทุกจังหวัด แต่ที่คนส่วนใหญ่จดจำโปงลางว่าเป็นของกาฬสินธุ์ เพราะครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ซึ่งเป็นคนกาฬสินธุ์ได้พัฒนาเครื่องดนตรีชนิดนี้ขึ้นมา และพ่อประชุม อินทรตุล เพื่อนของพ่อผม ได้นำโปงลางมารวมวงกับพิณและแคนเป็นวงแรกออกจัดแสดงสู่สาธารณะ และตั้งชื่อวงว่า ‘โปงลางกาฬสินธุ์’…

2 years ago

“เราได้คุยกับเด็กๆ ถึงความรู้เรื่องท้องถิ่นของพวกเขา ส่วนใหญ่จะตอบเหมือนกันคือ โปงลาง และผ้าไหมแพรวา ซึ่งก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิด แต่จริงๆ กาฬสินธุ์เรามีองค์ความรู้ที่มากกว่านั้นอีกเยอะ”

“กาฬสินธุ์มีหลักสูตรท้องถิ่นอยู่ในการเรียนการสอนภายในโรงเรียนของสังกัดเทศบาลทั้ง 6 แห่ง อยู่แล้วค่ะ เพียงแต่แต่ละโรงเรียนเขาก็ให้ความสำคัญต่างกัน บางโรงเรียนก็มองว่าเป็นเรื่องรองจากวิชาการหรือกีฬาด้วยซ้ำ จากการที่ได้คุยกับผู้อำนวยการโรงเรียน คุณครู หรือบุคลากรด้านการศึกษาบางท่านก็มองว่าการเรียนรู้เรื่องท้องถิ่นของตัวเอง อาจยังไม่ใช่เรื่องด่วน หรือไม่เห็นความจำเป็นหรือหลายโรงเรียนก็มองว่าแค่ให้เด็กๆ ได้เรียนโปงลาง ก็ถือเป็นการเรียนหลักสูตรท้องถิ่นที่ครอบคลุมแล้ว อย่างที่เราได้คุยกับเด็กๆ ว่าอะไรคือความรู้เรื่องท้องถิ่นของพวกเขา ส่วนใหญ่จะตอบเหมือนกันคือ โปงลาง และผ้าไหมแพรวา… ซึ่งก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิด แต่จริงๆ…

2 years ago

“การที่เมืองมีศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กๆ เป็นเรื่องดีมากๆ แต่พออยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการ เด็กบางคนก็อาจไม่อยากไป เราจึงคิดวิธีการที่จะทำให้พื้นที่เรียนรู้กลมกลืนไปกับการพักผ่อน ทำให้เป็นกิจกรรมการเล่นของพวกเขา”

“ในโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ เรารับผิดชอบในการออกแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่การเรียนรู้ของโครงการ โดยพื้นที่เรียนรู้ที่ว่า คือ ‘ตลาดสร้างสุข’ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันอังคารบนถนนรอบอาคารศาลากลางหลังเก่า หรือหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ ตลาดนี้ (ตลาดสร้างสุข) เป็นโครงการที่ทีมวิจัยของเราต่อยอดมาจาก ‘ตลาดนัดเด็กดี’ ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้ภายในตลาดเมืองเก่าย้อนเวลา ณ ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ ในปี 2564 เพราะตลาดหรือถนนคนเดินคือพื้นที่จับจ่ายใช้สอยและผ่อนคลายสำหรับทุกคนในครอบครัว เราจึงเห็นว่าควรหนุนเสริมพื้นที่กิจกรรมให้เด็กๆ ที่มากับผู้ปกครอง รวมถึงวัยรุ่นได้มีสถานที่ให้พบปะและทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์…

2 years ago