“สถานีรถไฟลำปางสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2458 เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของเมืองในอดีต เพราะในยุคสมัยนั้นลำปางมีธนาคารแห่งชาติ มีสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ธุรกิจอะไรต่างๆ ก็มาเปิดกันที่นี่ โดยมีสถานีรถไฟแห่งนี้เหมือนเป็นประตูเชื่อม เพราะนอกจากการขนส่งผู้โดยสารจากกรุงเทพฯ หรือจังหวัดอื่นๆ รถไฟยังใช้ขนสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ พืชผักผลไม้ ยาสูบ ไปจนถึงเหรียญกษาปณ์หรือธนบัตรจากกรุงเทพฯ ส่งมายังธนาคารแห่งชาติที่อยู่ใกล้ๆ ทหารก็ใช้รถไฟขนยุทโธปกรณ์ กระทั่งรถถังก็ยังเคยขึ้นรถไฟมาแล้ว…
“ตอนหนุ่มๆ ผมเป็นช่างกลึงในอู่ซ่อมรถ แต่มีความฝันมาตลอดว่าอยากขับรถม้า พอเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งเลยซื้อม้ามาเลี้ยงก่อน จำได้ว่าซื้อมาตัวละ 900 บาท สมัยสัก 50 ปีก่อน ลำปางยังมีรถไม่เยอะ เลยมีคนเอาม้ามาขี่เล่นกลางถนน ผมก็เอามาขี่เล่นด้วย ทำความคุ้นเคยกับมันไป จากนั้นก็ไปเรียนวิธีการขับรถม้าจากคนที่ขับมาก่อน จนลูกชายขึ้น ม.1 ผมจึงตัดสินใจลาออก แล้วหันมาขับรถม้าเต็มตัว สมัยนั้นรถม้าในลำปางเป็นที่นิยมมาก…
“ผมเริ่มตลาด We Market เมื่อ 5 ปีที่แล้ว จากการที่ได้รู้จักกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ย้ายกลับมาทำธุรกิจที่บ้าน ก็คุยกันว่าเราน่าจะมีช่องทางในการทำมาหากินมากขึ้นด้วยการทำตลาดที่จำหน่ายอาหารปลอดภัย ต้นไม้ และผลิตภัณฑ์ที่มีความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ตอนแรกคิดถึงการของบประมาณจากหน่วยงานรัฐต่างๆ มาทำ เพราะผมก็เคยทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน แต่มาคิดดูแล้วว่าถ้าเราของบเขามาทำ คนให้งบเขาก็คาดหวังในภาพของเขา ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนกว่าภาพของเรา สุดท้ายก็ลงมือทำกันเอง เพราะผมก็มีทักษะด้านการทำสื่อวิดีโอและสื่อออนไลน์ด้วย ก็มีต้นทุนในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์อยู่พอสมควร เราเปิดตลาดที่แรกหลังโรงเรียนอนุบาลลำปาง…
“ลำปางเป็นเมืองที่มีต้นทุนที่ดีเลยนะครับ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงความร่วมมือในด้านวิชาการ และภาคประชาสังคมที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเมืองมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน ผมมองว่าพอต้นทุนเหล่านี้มันไม่ได้ถูกเชื่อมประสานร่วมกัน เมืองมันจึงค่อนข้างเดินช้ากว่าที่ควรจะเป็น เช่นว่าพอรัฐโปรโมทให้เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว แต่เรากลับยังขาดโครงสร้างพื้นฐานมารองรับหรือกระทั่งการสื่อสารวิธีการท่องเที่ยวในเมืองเราก็ยังไม่มี คือถ้านักท่องเที่ยวไม่ได้ขับรถส่วนตัวมาเอง เขานั่งเครื่องบิน รถทัวร์ หรือรถไฟมา ถ้าไม่ใช่รถสองแถวที่วิ่งประจำ หรือมีเบอร์รถแท็กซี่ส่วนบุคคลที่มีค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว เขาก็ไม่มีทางเลือกอื่นเลย หรือถ้าเขาจะไปวัดพระธาตุลำปางหลวง หรือวัดเฉลิมพระเกียรติที่อยู่อำเภอแจ้ห่ม…
“ผมเกิดและโตที่กรุงเทพฯ แต่ก็เหมือนคนกรุงเทพฯ หลายคนที่อยากหนีจากชีวิตวุ่นวายในเมืองใหญ่ เลยตัดสินใจย้ายมาเปิดร้านกาแฟที่เชียงใหม่เมื่อสิบกว่าปีก่อน แต่พออยู่ๆ ไป ก็รู้สึกว่าเชียงใหม่ไม่ตอบโจทย์ คือแค่ไม่มีตึกสูง เชียงใหม่ก็รถติดไม่ต่างจากกรุงเทพฯ แถมเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ของผมก็ล้วนเป็นคนกรุงเทพที่มาทำธุรกิจ หรือไม่ก็ชาวต่างชาติหมด รู้สึกเหมือนหนีชีวิตมาเพื่อเจอกับชีวิตแบบเดิมแค่เปลี่ยนสถานที่ไปเท่านั้นเอง จนมีอยู่วันหนึ่ง ราว 7 ปีที่แล้ว ผมตามแฟนที่เป็นทนายความมาว่าความที่จังหวัดแพร่ เราตัดสินใจแวะค้างคืนที่ลำปาง พอเช้าวันถัดมา เราพบว่าเราหากาแฟดื่มไม่ได้เลย…
“ถ้าพิจารณาจากความเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของเมือง ท่ามะโอถือเป็นชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่และร่มรื่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศเลยนะครับ หลายคนจดจำที่นี่ในฐานะที่ตั้งขององค์กรอุตสาหกรรมป่าไม้ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสัมปทานค้าไม้กับอังกฤษ รวมถึงที่ตั้งของบ้านไม้สักสวยๆ มากมาย แต่ในอีกมุม ที่นี่เป็นชุมชนเก่าแก่ที่เป็นจุดเชื่อม 3 เมืองโบราณสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองลำปาง ซึ่งก็ย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคก่อตั้งเขลางค์นครนั่นเลย โดยโบราณสถานหลายแห่งก็ตั้งอยู่ท่ามกลางบ้านไม้เก่าแก่ในยุคสัมปทานค้าไม้อย่างกลมกลืนและมีเสน่ห์ ชื่อเต็มของโครงการที่ผมรับผิดชอบคือ ‘โครงการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้และกระบวนการสร้างคุณค่าจากทุนทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยเสน่ห์ทางการท่องเที่ยววิถีชีวิตย่านท่ามะโอ’ ซึ่งเริ่มจากการสำรวจข้อมูลจากชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทางภูมิทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงเอกสารต่างๆ เพื่อสกัดภูมิวัฒนธรรมของย่าน…
“เราเป็นคนย่านสบตุ๋ย ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่เราทำงานอยู่ก็ตั้งอยู่ย่านนี้ พอได้รับโจทย์งานวิจัยเรื่องพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในย่านสบตุ๋ย ทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพราะเราเป็นลูกหลานที่คุ้นเคยกับคนในย่าน แต่โครงการนี้ก็มีส่วนในการกลับมาเรียนรู้บ้านเกิดของเราในเชิงลึก อันมีส่วนในการพัฒนาเมืองในภาพรวมด้วย สบตุ๋ยเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่เคยเป็นศูนย์กลางของเมืองลำปาง พร้อมกับการมาถึงของรถไฟเมื่อศตวรรษก่อน ทำให้ความเจริญทุกอย่างมารวมกันอยู่ในย่านนี้ โดยเฉพาะการเข้ามาตั้งรกรากและทำธุรกิจของกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าชาวจีน อันทำให้เกิดสถาปัตยกรรม ร้านรวง และร้านอาหารที่มีตำรับเก่าแก่มากมายส่งผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ และก็เพราะมรดกทางภูมิปัญญาหลากหลายในอดีต ซึ่งเป็นฐานรากสำคัญของผู้คนในยุคปัจจุบัน ทีมวิจัยของเราจึงเห็นตรงกันว่าสบตุ๋ยไม่ต่างอะไรกับ ‘พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต’ พื้นที่เก่าแก่ที่ผู้คนร่วมสมัยยังคงใช้ชีวิต โดยหาได้ปรับเปลี่ยนวิถีอะไรจากรากเหง้าเดิมนัก…
“ถ้าเราเอาสโคปของย่านเมืองเก่าภูเก็ตมาวางบนถนนประสานไมตรีที่อยู่หน้าสถานีรถไฟลำปาง มันแทบจะไม่ต่างอะไรกันเลยนะครับ เพราะแม้เราจะไม่ได้มีอาคารสถาปัตยกรรมสวยๆ เรียงติดกันเท่าภูเก็ต แต่ความเป็นย่านการค้าของคนในพื้นที่จริงๆ ร้านที่ขายอาหารและขนมอร่อยๆ รวมถึงทางเท้าที่เดินสะดวก ความดั้งเดิมของถนนสายนี้ก็มีเสน่ห์ไม่แพ้เมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตเลย ด้วยความที่เป็นย่านที่ริเริ่มโดยพ่อค้าแม่ค้าเชื้อสายจีน หลายคนมักมองว่าย่านสบตุ๋ยที่มีถนนประสานไมตรีพาดผ่านนี้เป็นไชน่าทาวน์แบบย่อส่วน แต่อันที่จริง เมื่อมองถึงการเชื่อมโยงกับย่านอื่นๆ สบตุ๋ยก็ถือว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมาก ทั้งกลุ่มชาวคริสเตียนที่อยู่ใกล้ๆ ชุมชนชาวไทใหญ่ ชาวพม่า และคนเมืองเอง ที่สำคัญผู้คนทุกกลุ่มก็กลมกลืนเข้าหากันจนเกิดเป็นพลเมืองชาวลำปาง ที่ต่างอาศัยอยู่ในอาคารหรือพื้นที่ที่ส่วนมากล้วนเป็นมรดกตกทอดมาจากอดีตทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองว่าความเป็นย่านที่มีความหลากหลายและชีวิตชีวาแบบนี้ไม่ต่างอะไรจากพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต…
“กาดบริบูรณ์ปราการเป็นหนึ่งในตลาดแรกๆ ของลำปาง ที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้า คนลำปางจะมาซื้อพวกเสื้อผ้า ชุดนักเรียน ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องมือการเกษตร ไปจนถึงเบ็ดแหที่นี่ เขาเรียกกาดแห่งนี้ว่า ‘กาดมืด’ เพราะตลาดมันอยู่ในพื้นที่หลังตึกแถวกลางเมืองโดยมีโครงสร้างหลังคามาคลุมทับอีกที เป็นตลาดในร่มที่แรกของเมือง ได้ยินมาจากเตี่ยว่าแต่เดิมตลาดนี้ทันสมัยที่สุดในเมืองแล้ว แต่ความที่มันดูมืดๆ คนเลยเรียกติดปาก ผมขายก๋วยเตี๋ยวที่นี่กับน้องสาวมาสามสิบกว่าปีแล้ว รับกิจการต่อมาจากเตี่ย ซึ่งเตี่ยเปิดร้านมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500…
“เรามีกันประมาณ 40 คนได้ครับ ทุกคนในเมืองจะสลับกันมาเล่นสเก็ตบอร์ดกันตรงนี้ (ลานด้านหน้าหอปูมละกอน บริเวณ 5 แยกหอนาฬิกาเมืองลำปาง) เล่นด้วยกันมาหลายปีแล้ว เมื่อก่อนก็กระจายกันเล่น หลักๆ จะเล่นที่ลานด้านหน้าสวนสาธารณะเขลางค์นคร แต่เดี๋ยวนี้เล่นไม่ได้แล้วเพราะพื้นสึกหมด ส่วนอีกที่คือลานจอดรถของเซ็นทรัลลำปาง แต่ที่ห้างฯ มักใช้จัดงานอีเวนท์ สุดท้ายเลยมารวมตัวกันที่นี่ ที่นี่เป็นพื้นที่ของเทศบาลครับ ตอนแรกเขาก็ไม่อนุญาตให้เล่นหรอกครับ เพราะถ้านานๆ…