“พื้นเพครอบครัวผมทำฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเลในตำบลปากพูน และส่งขายให้พ่อค้าคนกลางในตัวเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนหน้านี้ ผมไม่ได้มีความคิดจะกลับมาทำตรงนี้เลย ผมจบมาทางด้านการจัดการธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทำงานบริษัทอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร กระทั่งภรรยาผมเสียชีวิต เหลือผมกับลูก จึงตัดสินใจลาออก กลับมาช่วยธุรกิจที่บ้าน เพราะจะได้มีคนช่วยเลี้ยงลูก และเตี่ยก็อยากให้ผมกลับมาสานต่อธุรกิจอยู่แล้วด้วย หลังจากทำงานที่บ้านได้ไม่นาน ผมก็พบปัญหาว่าหากมีช่วงเวลาไหนที่ปูล้นตลาด พ่อค้าคนกลางจะไม่รับซื้อปูจากฟาร์มผมและชาวบ้านคนอื่นๆ พวกเราเลยไม่มีรายได้ ก็ปรึกษากับเตี่ยว่า เอางี้ไหม ผมเคยทำงานที่มหาชัยและพอรู้ว่าที่นั่นมีแหล่งรับซื้อปู เราน่าจะไปขายเขาได้ เลยตัดสินใจแพ็คปูใส่กล่องขึ้นรถทัวร์ไปหาคนรับซื้อเอง…
“ความที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลปากพูนเป็นดินตะกอนที่เกิดจากการทับถมของทะเล ดินที่นี่จึงมีความเค็มเป็นที่โปรดปรานของต้นมะพร้าว พืชดั้งเดิมในพื้นที่ นั่นทำให้วิถีชีวิตของชาวปากพูนเกี่ยวข้องกับสวนมะพร้าวจากรุ่นสู่รุ่น และเป็นที่รู้กันว่าถ้านึกถึงมะพร้าวคุณภาพดี คนนครก็จะนึกถึงเมืองปากพูน ชาวปากพูนมีภูมิปัญญาในการสร้างรายได้จากมะพร้าวตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ปลูกมะพร้าวขายเป็นลูก น้ำมะพร้าว กะทิ น้ำตาลมะพร้าว ไปจนถึงเอาก้านมาทำเครื่องจักสาน สถานะของการเป็นพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ในตำบลปากพูนจึงมีความชัดเจนมาก ทางทีมวิจัยจึงเห็นว่าหากเรานำงานวิชาการเข้าไปเสริมและสร้างเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ในสวนมะพร้าวแห่งต่างๆ ขึ้น ก็น่าจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์และเศรษฐกิจในชุมชนได้มาก เราจึงทำโครงการ ‘พร้าวผูกเกลอ’ ขึ้น…
“สมัยที่นครศรีธรรมราชยังไม่มีร้านหนังสือที่เป็นเชนสโตร์ตามศูนย์การค้า คนนครส่วนใหญ่จะไปหาซื้อหนังสือที่ร้าน ‘สวนหนังสือนาคร-บวรรัตน์’ ตรงสี่แยกท่าวัง ใจกลางเมือง ที่นี่เป็นร้านหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเขียนและนักอ่านรวมถึงผมอย่างมากร้านหนังสือร้านนี้เป็นของนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช คุณหมอที่มีงานอดิเรกเป็นนักเขียน ซึ่งทางร้านก็มักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเชิญนักเขียนที่มีชื่อเสียงมาบรรยายหรือพบปะผู้อ่าน และนั่นมีส่วนทำให้เมืองนครและอีกหลายเมืองในภาคใต้เกิดกลุ่มหรือชุมนุมวรรณกรรมขึ้นมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มนาครในยุคที่ กนกพงศ์ สงสมพันธ์ (นักเขียนวรรณกรรมซีไรท์ปี พ.ศ. 2539 - ผู้เรียบเรียง) ยังมีชีวิตอยู่…
“พอฟองสบู่แตกปี 2540 บริษัทที่ผมทำงานประจำก็ปิดตัวลง ผมเป็นคนรุ่นแรกๆ ที่เปิดท้ายนำทรัพย์สมบัติส่วนตัวมาขายจนเกิดเป็นตลาดนัด แต่หลังจากสู้อยู่สักพัก ปี 2542 ผมตัดสินใจพาครอบครัวย้ายกลับมาตั้งหลักที่บ้านเกิดที่นครศรีธรรมราช และยึดอาชีพเขียนบทความและเรื่องสั้นมาตั้งแต่นั้น เพราะทำงานอยู่กรุงเทพฯ หลายปี เมื่อได้กลับมานครใหม่ๆ ผมพบว่าจังหวะของเมืองเชื่องช้าจนน่าตกใจ เมืองยังมีความเป็นชนบทและผู้คนอยู่กันสบายๆ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องรีบเร่งไปไหน และไม่มีบรรยากาศของการแข่งขัน แม้จะเป็นเรื่องดีต่ออาชีพนักเขียน แต่ตอนมาอยู่ใหม่ๆ ผมก็ใช้เวลาปรับตัวอยู่พอสมควรเหมือนกัน…
“พื้นเพผมเป็นคนกาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี มาอยู่นครศรีธรรมราชเพราะมาเรียนที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรม เมื่อก่อนอยากเป็นนักเขียนการ์ตูน พอจบมาใหม่ๆ ก็ไปอยู่กับพี่ดิเรก สีแก้วพี่ดิเรกค่อนข้างมีอิทธิพลกับผม เพราะหลังจากนั้นไม่นาน ผมออกจากงานร้านป้ายไปรับงานเขียนรูปเหมือนอยู่เกาะสมุย พอมีโอกาสได้พบปะแกบ้าง เห็นว่าแกหันมาเขียนบทกวี ผมก็สนใจการอ่านการเขียนตามแกไปด้วย จนมีรวมเรื่องสั้นตีพิมพ์เป็นของตัวเองเล่มแรก (‘แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ’, รวมเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ปี 2554 - ผู้เรียบเรียง) หลังจากหันมาเขียนหนังสือเป็นหลักอยู่ 3-4…
“ผมเกิดและโตที่บ้านปากพูนใต้ จำความได้ก็ลงเรือหาปลาแล้ว เลี้ยงชีพด้วยการทำประมงมาทั้งชีวิต ออกเรือทุกวัน จะหยุดเฉพาะวันที่ป่วยหรือมีธุระ บางวันหาปลาได้มากก็จะฝากลูกสาวไปขายในตลาดได้เงินเยอะ แต่วันไหนโชคไม่ดี หาได้ไม่มาก แต่อย่างน้อยก็ยังมีปลาที่หามาได้ไว้กินจนมาช่วงปีหลังมานี้ ที่ทางชุมชนมีกิจกรรมล่องเรืออุโมงค์ป่าโกงกาง ผมก็ได้อาชีพเสริมใหม่เป็นคนขับเรือให้นักท่องเที่ยวในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ โดยจะเริ่มจากท่าเรือใกล้ๆ ตลาดท่าแพ ล่องไปในคลองท่าแพผ่านหมู่บ้านปากพูนใต้ ผมจะชี้ให้นักท่องเที่ยวดูสองข้างทางว่ามีอะไร โดยเฉพาะมัสยิดดารุ้ลนาอีม (บ้านปากพูนใต้) ซึ่งเป็นมัสยิดที่ผมไปทำละหมาดประจำ จากนั้นเรือก็จะเข้าอุโมงค์ป่าโกงกาง จนออกปากอ่าวปากพูน…
“พวกเรามีทั้งลูกหลานชาวปากพูนดั้งเดิม อีกส่วนเป็นคนมุสลิม และลูกหลานคนเพชรบุรีที่อพยพมา เป็นชาวประมงเหมือนกัน แต่ก็มีวิถีที่แตกต่างกันเล็กน้อยอย่างถ้าเป็นลูกหลานคนเพชรจะมีเครื่องมือจับปลาอีกแบบที่เรียกว่า ‘หมรัม’ เอาท่อนไม้มาร้อยต่อกันและล้อมเป็นทรงกลม ล่อให้ปลาเข้ามากินอาหาร และเราก็ขึ้นปลาจากหมรัมได้เลย ส่วนถ้าเป็นคนปากพูนแต่เดิมเลยก็จะใช้อวน ใช้ไซ รวมถึงโพงพาง ซึ่งอย่างหลังนี้เราเลิกใช้ไปแล้วเพราะผิดกฎหมาย เมื่อก่อนคนปากพูนก็ใช้เครื่องมือผิดกฎหมายกันแหละครับ โพงพาง ไซตัวหนอน ไอ้โง่ หรือลากตะแกรง ก็จับปลากันได้เยอะ แต่เพราะเครื่องมือพวกนี้มันจับปลาได้หมด…