“พี่กับสามีเริ่มทำสวนนนดาปี 2548 เนื่องจากเราเป็นข้าราชการทั้งคู่ ก็เลยจะมีเวลาทำสวนแห่งนี้เฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ จึงเรียกกันเล่นๆ ว่าสวนวันหยุด ทำไปได้สักพัก สามีพี่ตัดสินใจลาออกจากราชการมาทำสวนเต็มตัว ส่วนพี่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2565 นี้เอง เราทำเกษตรปลอดสารและสวนสมุนไพร เพราะเห็นว่าสองสิ่งนี้คือขุมสมบัติดีๆ นี่เอง ไม่ได้หมายถึงว่าสวนนี้เป็นแหล่งธุรกิจจริงจังอะไร แต่ทั้งราก ทั้งใบ หรือผลของต้นไม้ที่เราปลูก เราสามารถนำไปกินหรือไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้หมด จึงมองว่านี่แหละสมบัติที่เรามีกินไม่มีวันหมด…
“ในฐานะที่พี่เคยเป็นพยาบาล ก็คิดว่าหนึ่งในผลสำเร็จของอาชีพเราก็คือการได้เห็นผู้คนมีสุขภาพที่ดี แล้วสุขภาพที่ดีเริ่มจากอะไร ก็เริ่มจากอาหารการกินที่มีประโยชน์และไม่ทำให้เราป่วย ความคิดเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่พี่จะเออร์ลี่รีไทร์แฟนพี่เป็นคนพะเยา เขาเป็นวิศวกรในบริษัทรถยนต์ ก่อนที่จะเกษียณออกมา เราใช้เงินเก็บส่วนหนึ่งซื้อที่ดินที่อำเภอดอกคำใต้ไว้ เราทั้งคู่ก็กลับมาดอกคำใต้ เริ่มสิ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ปี 2559 เราตั้งชื่อสวนว่า ‘ผ่อโต้ง’ ซึ่งเป็นคำเมือง แปลว่าดูสวน คิดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราอยากทำการเกษตรที่พิถีพิถันตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ การหมั่นไปดูสวนของเราเองนี่แหละคือหัวใจหลัก เราเริ่มจากปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์พันธุ์ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าถ้ามาจากดินในอำเภอดอกคำใต้นี่จะหอมและอร่อยที่สุด…
“แม้กองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา จะมีหน้าที่ในการจัดการและส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงกับทุกเพศทุกวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาลำพังหน่วยงานเทศบาล เราหาได้มีกลยุทธ์เชิงวิชาการมากนัก การร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่ขับเคลื่อนโดยมหาวิทยาลัยพะเยา จึงสร้างแต้มต่อให้การขับเคลื่อนการศึกษาในเมืองของเราให้รุดหน้ามากยิ่งขึ้น โดยที่ทางมหาวิทยาลัยพะเยามาเสริมให้เรา คือการสานเครือข่ายจนทำให้นักเรียนและประชาชน เข้าถึงการศึกษาที่ตอบโจทย์กับการทำงาน การใช้ชีวิต และทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เห็นได้ชัด คือเมื่อมองหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล เรามีวิชาวิทยาการคำนวณเปิดสอนเป็นปกติอยู่แล้ว แต่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ได้เชื่อมวิชานี้เข้ากับผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ…
“ถ้าไม่ติดงานอะไร ผมมักจะปั่นจักรยานมานั่งดื่มกาแฟริมกว๊านอย่างนี้ทุกเช้า ตอนแรกก็ทำกาแฟดริปขายคนที่มาเดินเล่นเหมือนกันครับ แต่พอมีข้อห้ามไม่ให้มีรถเข็นมาขายเกิน 11 โมง ผมก็เลยไม่ขาย ใครอยากดื่มกาแฟ ผมทำเสิร์ฟเลย ก็กลายเป็นว่าพอมีคนมาดื่มของผมไป คราวต่อมาเขาก็เอาเมล็ดกาแฟมาแบ่งให้ลอง เป็นการตอบแทนอาชีพของผมคือช่างกระจกและอลูมิเนียมครับ ก่อนหน้านี้เคยทำงานอยู่กรุงเทพฯ แต่อยู่จนถึงจุดจุดหนึ่งแล้วคิดว่าเราอยู่กรุงเทพฯ ต่อไม่ไหว เลยกลับมาทำงานที่บ้าน กรุงเทพฯ อะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด แค่อยากจะมานั่งสวนสาธารณะหรือริมแม่น้ำแบบนี้ ก็ต้องเสียค่าเดินทาง…
“ผมมาประเทศไทยครั้งแรกจากการเข้าร่วมเป็นศิลปินพำนักในโครงการศิลปะ One Year Project ของมูลนิธิที่นา (The Land Foundation) ที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2007 การมาใช้ชีวิตครั้งนั้นนอกจากได้รู้จักเพื่อนศิลปินในเชียงใหม่หลายคน ยังพบเสน่ห์จากวิถีชนบทในภาคเหนือของประเทศไทย และนั่นทำให้เมื่อกลับไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา ผมก็ยังมีความคิดถึงบรรยากาศแบบนี้อยู่ จากนั้นไม่นาน ก็มีโอกาสได้กลับมาอีกครั้งในฐานะศิลปินพำนักของโครงการคำเปิงในอำเภอดอยสะเก็ด ที่นั่นไม่เพียงทำให้ผมพบหลุยส์ คู่ชีวิต…
“คุณทราบไหมว่าสาเหตุที่รัฐตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวรไว้ที่จังหวัดพะเยา ซึ่งมีทำเลค่อนข้างห่างไกลกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจค้าบริการในอดีต พื้นที่หนึ่งในจังหวัดพะเยา ขึ้นชื่อเรื่องการที่ผู้หญิงท้องถิ่นออกจากหมู่บ้านเพื่อเข้าทำงานค้าบริการในเมืองใหญ่ๆ จะเป็นเพราะถูกหลอก สมัครใจด้วยตนเอง หรือพ่อแม่เป็นคนตัดสินใจก็ตาม แต่จำนวนผู้หญิงที่เข้าสู่ธุรกิจที่มากเป็นพิเศษนี้ ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าเพราะผู้คนในพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงการศึกษา ทำให้ผู้หญิงหลายคนตัดสินใจดำเนินชีวิตด้วยรูปแบบนี้และในเมื่อเราต้องการให้ผู้คนในพื้นที่เข้าถึงการศึกษา เราก็จำเป็นต้องมีพื้นที่การศึกษา จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นนั่นเอง แม้เรื่องที่เล่ามานี้จะไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา หรือที่ต่อมาจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา นับตั้งแต่การก่อตั้งจนถึงทุกวันนี้ คือนำความรู้มาให้บริการและพัฒนาชุมชน…
“ดิฉันเห็นว่ากองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองพะเยา กับโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยพะเยา มีปลายทางเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งในที่นี้หมายถึงประชาชนชาวพะเยาของเรานี่เองเพราะไม่ว่าเราจะออกแบบกิจกรรมด้วยการดึงต้นทุนของเมืองพะเยาด้วยวิธีการไหน การชวนกันทำบ้านดินริมกว๊านเอย เพ้นท์ผ้าจากใบไม้เอย ทำขนมเอย หรือส่งเสริมให้เกิดวิชาชีพใดๆ สุดท้ายผลลัพธ์ที่เรามองตรงกันคือการทำให้ชาวบ้านที่ด้อยโอกาสกลับมามีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง นักเรียนมีทักษะทางวิชาชีพใหม่ๆ ที่มากกว่าสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียน และผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ช่วยสร้างคุณค่าและความภูมิใจให้เขาเอง อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่ง การได้ร่วมงานกับทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเทศบาลได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อันหลากหลายด้วย ทั้งจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่โครงการส่งเสริมชาวบ้าน…
“พะเยาเรามีทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามากนะครับ ปัญหาก็คือที่ผ่านมาเรายังไม่สามารถพัฒนาต้นทุนทางคุณค่าให้เป็นมูลค่าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็อาจจะเพราะเจ้าของต้นทุนไม่รู้จะแปลงมันให้เป็นเงินอย่างไรดี ไม่รู้จักตลาด หรือเพราะขาดการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนเป้าหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยพะเยานับตั้งแต่ก่อตั้งคือการบริการชุมชน ร่วมงานกับชาวบ้าน เกษตรกร ชาวประมง ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อใช้ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยช่วยยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรามีโครงการและหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้อยู่ไม่น้อย ตั้งแต่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยสัตว์ทดลอง ศูนย์เครื่องมือกลาง เป็นต้นแต่ก็เช่นเดียวกับที่เรามองเห็นถึงความไม่เชื่อมประสานที่เกิดขึ้นในเมือง ในระดับมหาวิทยาลัย เราก็พบว่าแต่ละหน่วยงานก็มีการทำงานไปในทิศทางของตัวเองแบบต่างหน่วยต่างทำ…
“ก่อนหน้านี้ ผมเป็นสัตวแพทย์อยู่กองงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองพะเยา และมีโอกาสทำโครงการพลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ ได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในสิ่งที่เราทำ และพบว่าการได้แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์นี่เป็นเรื่องที่ดีและน่าภูมิใจนะหลังเออรี่รีไทร์ ผมกับแฟนตัดสินใจย้ายบ้านไปอยู่นอกเมือง เรามีที่ดินอยู่สองไร่ ตอนแรกคิดว่าคงจะใช้ชีวิตเกษียณ ทำสวนครัว และพักผ่อนที่นี่ แต่ความที่ผมมีทักษะเป็นวิทยากรและมีเครือข่ายที่เทศบาล คนที่นั่นเขาก็ชวนให้เราทั้งคู่ทำบ้านให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เพราะวิถีชีวิตเราก็เป็นไปตามครรลองนี้อยู่แล้ว ก็เลยเปิดพื้นที่ให้คนจากเทศบาลชวนเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ ขณะเดียวกัน ความที่ชุมชนเกษตรพัฒนาที่เราอยู่เนี่ย ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ ตอนกลางวันถ้าลูกหลานไม่ออกไปทำการเกษตรก็จะไปเรียนหรือทำงานในเมือง ผู้สูงวัยก็อยู่บ้านกันเฉยๆ…
เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เรามีลูกชายและพบว่าน้องทีม ลูกของพี่มีอาการออทิสติก คุณหมอก็บอกว่าการใช้ชีวิตในเมืองที่ค่อนข้างพลุกพล่านอย่างเชียงใหม่อาจไม่เหมาะต่อพัฒนาการ เราก็เลยตัดสินใจพาลูกกลับมาบ้านที่พะเยาตอนนั้นไม่มีความรู้อะไรเรื่องดูแลเด็กที่มีอาการออทิสติกเลย แต่ก็ค่อยๆ เรียนรู้ไป ส่งเข้าโรงเรียนอนุบาลก็ผ่านมาได้ แต่พอขึ้น ป.1 น้องทีมปรับตัวเข้ากับโรงเรียนไม่ได้ เพราะโรงเรียนไม่มีครูหรือหลักสูตรที่ใช้สอนเด็กออทิสติกเลย ย้ายไปมาอยู่ 3 โรงเรียน จนมาเจอศูนย์การศึกษาเด็กพิเศษ และพบผู้ปกครองเด็กพิเศษที่ประสบปัญหาเหมือนเรา ก็เลยมีการรวมตัวกัน ขอให้ศูนย์จัดทำห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก ซึ่งทางศูนย์ก็ประสานโรงเรียนในพะเยาให้ส่งครูมาสอนประกบคู่กับเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะสอนเด็กพิเศษของศูนย์…