แม้จะมีองค์ประกอบแบบเฉกเช่นตลาดเช้าที่พบได้ทั่วประเทศ - ผู้คนขวักไขว่ แผงขายอาหาร เขียงหมู น้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ สภากาแฟ หรือบรรยากาศจอแจตั้งแต่ไก่ยังไม่ขัน กระนั้นเมื่อพินิจถึงรายละเอียด คุณจะพบว่าตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก ตลาดเช้าที่ซ่อนตัวอยู่ระหว่างถนนบรมไตรโลกนาถและแม่น้ำน่าน ไม่ไกลจากหอนาฬิกาใจกลางเมือง กลับมีเอกลักษณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้ ตึกแถวเก่าแก่ในยุคโมเดิร์นเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว บรรยากาศแบบย่านคนไทยเชื้อสายจีนที่คลุกเคล้าไปกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนพิษณุโลก วิถีตลาดท้องถิ่นที่ซ้อนทับไปกับชีวิตคนเมือง แผงขายสินค้าแบบกะดินกลางถนน…
“บ้านผมอยู่แถวตลาดเหนือ ซึ่งอยู่บริเวณวัดใหญ่ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร) สมัยเด็กๆ ยังทันเห็นตลาดในสภาพดั้งเดิม ที่พ่อค้าแม่ค้าจับปลาในแม่น้ำน่านขึ้นมาขาย มีผู้คนจากทั่วสารทิศนำของป่าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมาแบกะดินขาย เห็นวิถีชีวิตกึ่งชนบทกึ่งเมืองหมุนเวียนในตลาด อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ตลาดแห่งนี้ก็เปลี่ยนตาม ทุกวันนี้ตลาดเหนือก็เป็นตลาดในแบบที่เราเห็นได้ทั่วไปจากที่อื่นๆ ทั้งนี้ การได้มาเดินตลาดใต้ตอนเช้า จึงเป็นเหมือนได้เห็นตลาดใกล้บ้านที่ผมคุ้นเคยในอดีต เพราะตลาดแห่งนี้ยังคงรักษาความดั้งเดิมของตัวเองไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และในฐานะที่ผมทำงานสำนักงานการท่องเที่ยวเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งตลาดใต้ก็อยู่ในพื้นที่ดูแลของเราด้วย ผมจึงพร้อมประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ไปพร้อมกับฟื้นฟูตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก…
“บ้านหลังนี้สร้างปีเดียวกับที่ผมเกิดเลย ปีนี้เป็นปีที่ 49 ล่ะครับ สมัยก่อนเราเปิดเป็นร้านโชห่วย ขายดีมาก เพราะอยู่ใกล้ๆ กับโรงหนังกิตติกร ซึ่งเป็นโรงหนังที่ฉายหนังจีนเป็นหลัก ซึ่งก็สอดรับกับบรรยากาศของย่านตลาดใต้ดีที่เป็นย่านคนจีน จนโรงหนังปิดตัวลง ร้านโชห่วยก็เลิกตามไปผมอยู่ตลาดใต้ตั้งแต่ยุคที่มีทั้งโรงหนัง โรงแรม ตลาดที่เปิดตั้งแต่เช้าจนค่ำ รวมถึงบางส่วนของย่านที่ยังเป็นป่ารก พอมาสมัยนี้ไม่เหลือป่ารกแล้ว โรงหนังถูกทุบทิ้งกลายเป็นทาวน์เฮ้าส์ ส่วนโรงแรมยังอยู่ (โรงแรมเทพประทาน) แต่ไม่ได้ถูกบูรณะอะไร…
“ก่อนหน้านี้ผมเป็นพนักงานฉายหนังที่โรงหนังกิตติกรในตลาดใต้ สมัยที่เขายังพากย์เสียงอยู่นั่นแหละ หน้าที่ผมจะฉายฟิล์มจากห้องฉาย และเปิดเทปเสียงประกอบไปพร้อมกับที่นักพากย์พากย์หนังไป วันนึงหนังจะฉาย 4 รอบ ก็ดูเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ ประมาณ 10 วันแล้วค่อยเปลี่ยนเรื่องใหม่ตอนนั้นได้ค่าแรงวันละ 50 บาท ก็โอเคอยู่ เพราะสมัยก่อนของยังราคาถูก และบ้านผมอยู่หลังศาลปุ่นเถ่ากง-ม่า เดินมาทำงานได้ ทำไปได้สักพักก็เริ่มมีอายุ ประกอบกับผมแต่งงานและเริ่มทำปาท่องโก๋ขายเป็นรายได้เสริม…
“ทวดพี่เคยเป็นทหารของซุนยัดเซ็น และเป็นเพื่อนกับเจียง ไคเชก สมัยนั้นจีนกำลังจะแตกเพราะสงครามกลางเมือง ผู้คนก็ต่างอพยพออกจากประเทศ เจียง ไคเชก ไปอยู่ไต้หวัน ส่วนทวดนั่งเรืออพยพมาอยู่เมืองไทย มาขึ้นฝั่งที่ย่านที่ทุกวันนี้คือตลาดใต้ เมืองพิษณุโลกสมัยที่ทวดพี่มาที่นี่เป็นยุคที่คนจีนอพยพมาประเทศไทยกันมากที่สุด รวมถึงเมืองพิษณุโลก มาถึงท่านก็ทำหลายอย่างจนเก็บเงินตั้งตัวเปิดร้านขายของได้ สมัยก่อนทวดชื่อ เตียก้ำชอ ยังไม่ได้สัญชาติไทย กระทั่งในหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จมาพิษณุโลก…
“อากงของผมเป็นคนจีนแต้จิ๋วที่อพยพมาตั้งรกรากที่พิษณุโลก เริ่มจากเป็นจับกังที่ท่าเรือ และได้เป็นผู้ช่วยกุ๊กที่รถเสบียง นั่นทำให้อากงได้เจอกับอาม่าที่เป็นลูกของเจ้าของร้านขายยาแผนโบราณที่ลำปาง อากงก็แต่งงานและพากลับมาที่พิษณุโลก โดยเปิดร้านขายของชำชื่อ ซุ่นฮะฮวด อาม่าเป็นคนมีต้นทุนเรื่องการทำอาหารและสมุนไพรจีน ก็ถ่ายทอดให้แม่ผมต่อมา โดยอาม่าเคยเปิดร้านอาหารเล็กๆ อยู่พักหนึ่ง แต่รุ่นพ่อกับแม่ผมทำร้านโชห่วยและไปได้ดี เลยไม่ได้คิดถึงการเปิดร้านอาหารเลยพวกเราเป็นรุ่นสามของบ้าน ธุรกิจแรกๆ ก็ราบรื่นดีครับ โดยนอกจากขายของหน้าร้าน เราก็ได้ส่งวัตถุดิบประกอบอาหารให้ตามภัตตาคารและโรงแรมทั่วเมืองพิษณุโลก จนกระทั่งมาปี 2540 เจอวิกฤตฟองสบู่…
“ยายผมเริ่มขายก่อน แล้วแม่ก็มาขายต่อ ขายอยู่ที่เดิมในตลาดใต้ตอนเช้ามา 50 กว่าปีแล้วครับ ขายตั้งแต่ 7 โมงเช้า ประมาณ 9 โมงก็หมด วันธรรมดาจะทำแกงมา 4 อย่าง ส่วนเสาร์-อาทิตย์ ลูกค้าเยอะก็จะทำมา 6-7 อย่าง เป็นกับข้าวตำรับโบราณ พวกแกงขี้เหล็ก…
“แม่เจ๊เคยขายก๋วยเตี๋ยวตอนเช้า และตอนบ่ายก็ขายเต้าหู้ทอดที่ตลาดเช้ามาก่อน แต่เขาเสียชีวิตไปแล้ว พอดีกับลูกเจ๊เรียนจบและทำงานในกรุงเทพฯ กันหมด เจ๊ก็เลยกลับมาอยู่บ้านที่พิษณุโลก และเช่าล็อคขายขนมปังหน้าหมู เผือกทอด เต้าหู้ทอด โดยประยุกต์สูตรของแม่มาอีกทีหนึ่ง ขายอยู่ตลาดใต้ฝั่งริมน้ำน่าน ขายมา 10 กว่าปีแล้ว ปกติก็ออกจากบ้านตี 4 เกือบตี 5 จัดร้านเสร็จ 7…
“พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่มากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ รองจาก กรุงเทพฯ ภูเก็ต และนครสวรรค์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าความเจริญย่านใจกลางเมือง บริเวณหอนาฬิกาเรื่อยไปถึงหน้าศูนย์การค้าท็อปแลนด์ ส่วนหนึ่งก็มาจากการบุกเบิกของลูกหลานชาวจีนที่บรรพบุรุษของพวกเขาเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ และเพราะมีลูกหลานชาวจีนอยู่มาก กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในพิษณุโลกจึงก่อตั้งโรงเรียนสิ่นหมิน บนถนนบรมไตรโลกนาถขึ้น โดยแต่เดิมใช้ชื่อว่าโรงเรียนแชมิน เปิดทำการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2465 ปัจจุบันโรงเรียนมีอายุ 101 ปี จนทุกวันนี้…
“พิษณุโลกเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนล่างมาแต่ไหนแต่ไร และเพราะเหตุนี้ แต่เดิมพื้นที่ย่านใจกลางเมืองที่อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครพิษณุโลกจึงมีความคึกคัก ทั้งการเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอย รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในฐานะที่ตั้งของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พระราชวังจันทน์ ไปจนถึงวัดเก่าแก่และพิพิธภัณฑ์อื่นๆนอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่มีมากถึง 300 กว่าหน่วย นั่นทำให้แม้ในช่วงโควิดที่ผ่านมา เมืองจะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้า แต่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ภาคบริการการท่องเที่ยวจึงยังพอไปรอด เพราะยังมีการจับจ่ายใช้สอยของพนักงานราชการและพนักงานบริษัทเอกชนหมุนเวียนอยู่ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวมานี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะอย่างที่ทราบกันว่าปัจจุบันมีการขยายตัวเมืองออกไปรอบนอกกันมากขึ้น ย่านเศรษฐกิจกระจายออกไปนอกเขตเทศบาล รวมถึง แผนการที่จะย้ายศูนย์ราชการออกไปนอกเมือง…