พิษณุโลก

“คนอื่นเขาไม่สนใจหรอกว่าเมืองเรามีอะไร เขาสนใจว่าเมืองเราจะให้อะไรกับเขามากกว่า”

“สำหรับพี่ พิษณุโลกเป็นเมืองเสน่ห์หลบในน่ะ… คือมันเป็นเมืองที่มีเสน่ห์นะ แต่คุณจะไม่มีทางพบเจอ ถ้าเพียงแค่มองผ่านๆถ้าให้เปรียบก็เหมือนผู้หญิงคนหนึ่งที่หน้าตาอาจไม่ได้สวยเด่นอะไร แต่พอคุณได้นั่งคุย ได้ทำความรู้จัก ผู้หญิงคนนี้อาจมีเสน่ห์มากไปกว่าผู้หญิงสวยๆ หลายคนเสียอีก แต่ก็เพราะเมืองเรามันเป็นเมืองเสน่ห์หลบในแบบนี้ ความท้าทายของคนที่ทำงานที่เกี่ยวกับเมือง คือการสื่อสารเสน่ห์ของเมืองเมืองนี้ออกไปให้คนอื่นๆ ได้รู้จัก ในฐานะที่พี่เป็นเจ้าของบริษัท พาวเวอร์พลัสครีเอชั่น จำกัด ซึ่งทำงานด้านการจัดอีเวนท์และสัมมนาในเมืองพิษณุโลก รวมถึงทำงานหอการค้าจังหวัดพิษณุโลกมาหลายปี พี่พอจะถอดดีเอ็นเอของเมืองเมืองนี้มาได้ 4…

2 years ago

ศักยภาพที่มากไปกว่าตลาด
ทอดน่องชมตลาด และสนทนากับ
ธนวัฒน์ ขวัญบุญ หัวหน้าโครงการ “ย่านเก่าเล่าเรื่อง” เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต เทศบาลนครพิษณุโลก

WeCitizens นัดหมาย อาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ หัวหน้าภาควิชาการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้มาพบกันที่ตลาดใต้ พิษณุโลก ตอน 9 โมงเช้า แต่ทันทีที่เราบอกเวลา อาจารย์ก็รีบตอบกลับมาว่า 9 โมงเช้าตลาดก็เริ่มวายแล้ว นั่นหมายถึงเราจะพลาดอะไรดีๆ ไปเยอะ“ตลาดใต้เป็นตลาดเช้าครับ…

2 years ago

“ถ้าหน่วยงานท้องถิ่นมีอำนาจและอิสระพอจะจัดการเมืองของตัวเองให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้คน มันจะย้อนกลับมาที่ภาคประชาชน ในการทำให้พวกเขาแอคทีฟกับเมืองของตัวเอง”

“ผมเกิดลำปาง เรียนกรุงเทพฯ และย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม สอนที่นี่มาได้ 11 ปีแล้ว โดยซื้อบ้านอยู่กับภรรยาที่สอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผมกับภรรยามีลูกแฝด 2 คน ตอนนี้ทั้งคู่เข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร พวกเขาเกิดและโตที่นี่ จะบอกว่าครอบครัวเราเป็นคนพิษณุโลกแล้วก็ได้ ความที่ผมสอนคณะครุศาสตร์ ผมจึงสนใจด้านการศึกษาและพื้นที่การเรียนรู้เป็นพิเศษ ซึ่งถ้าถามถึงเมืองพิษณุโลก แน่นอน เรามีสถาบันการศึกษาที่พร้อมในทุกระดับ แต่ในแง่มุมของพื้นที่การเรียนรู้ เมืองเรายังขาดอยู่มาก…

2 years ago

“มันอาจไม่ได้ดังระดับไวรัล แต่แค่สื่อที่เราทำช่วยสร้างความหมายให้กับคนในย่าน เท่านั้นก็ประสบความสำเร็จมากแล้ว”

“ก่อนหน้าที่จะทำโครงการ ย่านเก่าเล่าเรื่อง เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต นักศึกษาในสาขาของอาจารย์ (นิเทศศาสตร์) ได้ลงพื้นที่ตลาดใต้ พิษณุโลก เพื่อทำสื่อการท่องเที่ยวประกวดในโครงการของธนาคารไทยพาณิชย์และได้รางวัลชนะเลิศกลับมา ตอนนั้นโครงการเราทำคลิปวิดีโอ และทำป้ายสื่อสารพร้อม QR Code เพื่อบอกเล่าถึงความสำคัญตามแลนด์มาร์คต่างๆ ของพื้นที่ตลาดใต้และตลาดเจริญผล โครงการดังกล่าวมีอาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ จากภาควิชาการท่องเที่ยวมาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งต่อมาอาจารย์ธนวัฒน์ ได้รับทุนจาก สกสว.…

2 years ago

“ขนาดผมเป็นคนพิจิตร ซึ่งเจริญน้อยกว่าพิษณุโลก ยังไม่มีตลาดเช้าที่มีกลิ่นอายแบบนี้หลงเหลืออยู่เลย”

“ในงานวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ ย่านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดใต้ พิษณุโลก ผมรับหน้าที่เป็นทีมนักวิจัยในโครงการย่อยที่ 2 สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เมืองท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ มีอาจารย์อรวรรณ (ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล) เป็นหัวหน้าโครงการ โดยผมรับผิดชอบในการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่จะเผยแพร่ทางออนไลน์ ทั้งเพจเฟซบุ๊ค WordPress รวมถึง E-book จริงๆ ผมเป็นคนติดตามคอนเทนต์ออนไลน์อยู่แล้วครับ โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองหรือชุมชน อย่างไรก็ตาม…

2 years ago

“พวกป้าทำงานแบบนี้มาสี่สิบกว่าปีแล้ว ไม่เบื่อหรอก เพลินดี ทำงานกับพระแล้วมีสมาธิ มีความสุข”

ป้ายับ (พยับ สิงห์ราม) ทำงานที่นี่มา 40 กว่าปีแล้ว มาทีหลังป้าเล็ก (ทับทิม พัดจั่น) ที่มาทำงานก่อนหลายปี ตอนนั้นเรียนจบมาแล้วว่างงาน โรงหล่อพระบูรณะไทยของจ่าทวีเขากำลังหาคนงานโรงหล่อพระอยู่ ก็เลยมาสมัคร สมัยก่อนจ่าทวีแกสอนงานป้าเล็กเองเลย ป้าได้ค่าแรงวันละ 9 บาท ส่วนป้าเล็กมีประสบการณ์จะได้วันละ 15 บาท…

2 years ago

“ไหบางใบที่รูปทรงบิดเบี้ยว คนอื่น
อาจมองว่ามันใช้งานไม่ได้ ไม่มีประโยชน์ แต่คนเล่นของเก่าเขาจะมองว่ามันสวยงามจากความผิดพลาดระหว่างเผา แถมยังมีแค่ใบเดียวด้วย”

“ผมเป็นคนฝั่งธนบุรี จำได้ว่าสมัยตอนเป็นเด็ก มันมีตึกร้างแถวบ้านโดนน้ำท่วม หลังจากน้ำลดแล้ว ผมกับเพื่อนก็เข้าไปหาของเก่าที่เหลือในตึกนั้น เมื่อก่อนตึกนั้นเคยเป็นบ่อนการพนันของคนจีน ก็เลยเจอ ‘ปี้’ ที่มีลักษณะเหมือนกระเบื้องที่นายบ่อนใช้แทนเงินสมัยก่อน รวมถึงเศษสตางค์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ไปจนถึงเงินพดด้วง เห็นแล้วแปลกตาดีเลยเก็บไว้ ซึ่งก็มีเถ้าแก่คนจีนมาหลอกเอาขนมมาแลกด้วยนะ ผมก็ยอมแลกเพราะอยากกินขนม มารู้ทีหลังว่าของที่เราเก็บได้มันมีค่ากว่าขนมเยอะ (หัวเราะ) หลังเรียนจบผมย้ายมาทำงานการไฟฟ้าที่จังหวัดพิษณุโลกราวปี พ.ศ. 2513…

2 years ago

“อาคารทุกหลังในตลาดใต้ถูกสร้างหลังยุค 2500 ทั้งหมดเป็นอาคารโมเดิร์นชุดแรกในเมืองพิษณุโลกซึ่งยังคงถูกใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้”

“ย่านตลาดใต้ พิษณุโลก เป็นหนึ่งในอีกหลายๆ ย่านเก่าในเมืองต่างจังหวัดทั่วประเทศที่กำลังเผชิญปรากฏการณ์ Gentrification หรือภาวะที่คนรุ่นใหม่ทยอยกันย้ายออกไปทำมาหากินนอกเมือง พื้นที่จึงเหลือแต่คนชรากับธุรกิจเดิมๆ ที่ขาดการสานต่อ และนั่นทำให้ย่านค่อยๆ ตายลงผมมีโอกาสร่วมกับทีมของอาจารย์ธนวัฒน์ ขวัญบุญ, ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล และ ผศ.ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล ทำวิจัยโครงการย่านสร้างสรรค์ที่ตลาดใต้ พิษณุโลก โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก…

2 years ago

“ความที่ชุมชนตลาดใต้อยู่ติดกับแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักเมื่อครั้งอดีต ตลาดแห่งนี้จึงมีประวัติศาสตร์ที่ย้อนไปไกลถึงรัชกาลที่ 3 หรือกว่าสองร้อยปีมาแล้ว”

“เวลาพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์เมืองพิษณุโลก หลายคนจะคิดถึงสมเด็จพระนเรศวร พระพุทธชินราช หรือประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับรัฐชาติ ที่มักปรากฏในแบบเรียน หรือถ้าลงลึกไปอีกด้วยการไปถามคนเฒ่าคนแก่ ส่วนใหญ่พวกเขาจะนึกถึงอยู่เหตุการณ์เดียว คือเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2500 เพราะนี่เป็นเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำผู้คนจำนวนมาก เวลาไปร้านอาหารดังๆ ร้านไหนในเมือง ก็จะเห็นรูปเหตุการณ์แขวนประดับไว้เป็นที่ระลึก   อย่างไรก็ตาม พิษณุโลกไม่ได้มีแค่สิ่งเหล่านี้เท่านั้น เพราะอย่าลืมว่าพัฒนาการของเมืองตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นจากผู้คน โครงการวิจัยเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้พิษณุโลกที่เราทำในพื้นที่ตลาดใต้…

2 years ago

“พิษณุโลกเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยนักเรียน นักศึกษา และคนรุ่นใหม่ แต่พอพ้นไปจากรั้วสถาบันการศึกษา เมืองกลับไม่มีพื้นที่เรียนรู้ให้คนรุ่นใหม่เท่าไหร่เลย”

“ก่อนมาสอนหนังสือ ผมทำงานเป็นนักออกแบบกราฟิกและแบบอักษร รวมถึงเป็นศิลปินอิสระที่กรุงเทพฯ แต่ทำไปทำมารู้สึกอิ่มตัว และพอดีที่บ้านอยากให้กลับมาด้วย บ้านผมอยู่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ไม่ไกลจากพิษณุโลกเท่าไหร่ และความที่ผมเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็เลยมาสมัครเป็นอาจารย์ที่นี่เป็นงานที่แปลกใหม่ดี เพราะแต่ก่อนผมจะทำงานที่ค่อนข้างเป็นอิสระ ตั้งโจทย์ให้ตัวเองและสร้างมันออกมา หรือทำกับลูกค้ารายใดรายหนึ่งไปเรื่อยๆ แต่พอกลับมาสอนหนังสือ กลายเป็นว่าเราต้องทำตามโจทย์ของหลักสูตร รวมถึงตั้งโจทย์ให้นักศึกษามาทำ และที่ใหม่ที่สุด คือการทำงานวิจัยที่สอดคล้องไปกับชุมชน ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานศิลปะในพื้นที่สาธารณะตามชุมชนอยู่บ้าง แต่พอมาเป็นอาจารย์…

2 years ago