*การระบุระยะเวลา 2,000 ปีในชื่อบทความ นำมาจากยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ที่มีการค้นพบโบราณวัตถุและโครงกระดูกของมนุษย์ยุคนั้นบริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านโคกพริก อำเภอเมืองราชบุรี ดังที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และหัวหน้าโครงการวิจัยราชบุรีเมืองแห่งการเรียนรู้ (พ.ศ. 2564-2565) ให้สัมภาษณ์ไว้ – “แทบไม่มีจังหวัดไหนในประเทศไทยที่คุณมาเที่ยวแค่วันเดียว แต่ได้เรียนรู้รากเหง้าของคนไทยตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาถึงปัจจุบันได้ครบ” (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทสัมภาษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชวลิต…
เรียนรู้ราชบุรีผ่านวิถี ประวัติศาสตร์ และความครีเอทีฟ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว “เวลาพูดถึงราชบุรี คนส่วนมากจะคิดถึงโอ่งมังกรและสวนผึ้ง แต่ถ้ามองลึกลงไป เมืองแห่งนี้คือพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของดินแดนสุวรรณภูมิในอดีต พ่อค้าจากจีนและอินเดียต่างเดินทางมาค้าขาย จนเกิดการแลกเปลี่ยนและสั่งสมทางศิลปวัฒนธรรม ราชบุรีจึงเป็นทั้งพื้นที่การค้าและวัฒนธรรมในระดับโลก เรื่องราวตรงนี้แหละคือบทเรียนสำคัญ ถ้าคนราชบุรีได้เรียนรู้ พวกเขาจะเกิดความภาคภูมิใจ และสิ่งนี้จะกลายมาเป็นแรงขับสำคัญในการพัฒนาเมืองต่อไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว หัวหน้าโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ราชบุรี…
จากเมืองสร้างสรรค์และน่าอยู่ สู่ ‘ราชบุรี เมืองแห่งการเรียนรู้’ ศาสตราจารย์ ดร. นันทนิตย์ วานิชาชีวะ “ความที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็น อว. ส่วนหน้าของจังหวัดราชบุรี (หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ประจำจังหวัดราชบุรี) จึงมีพันธกิจในการพัฒนาและบูรณาการงานวิจัยให้มาช่วยขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในราชบุรีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อ บพท. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยในระดับพื้นที่…
“พวกเราเรียนสายศิลป์จีนธุรกิจ โรงเรียนดรุณาราชบุรี รุ่นที่เรียนสาขานี้มีอยู่ 12 คน แต่จะเรียนร่วมห้องกับเพื่อนที่เรียนศิลป์ภาษาอังกฤษและไอทีพร้อมกัน ยกเว้นวิชาหลักที่แยกกันไปเรียนตอน ม.4 เราสองคนได้ร่วมกิจกรรมอบรมยุวมัคคุเทศก์ของโครงการเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนต่อการมองเมืองราชบุรีบ้านเกิดของเรา เพราะแม้เราจะคุ้นเคยกับสถานที่ต่างๆ แต่ความเป็นจริง ถ้าเราไม่ได้รู้จักและสอบถามคนในพื้นที่ ก็กลับแทบไม่รู้ที่มาที่ไปของสถานที่นั้นๆ เลย พอเข้าร่วมอบรมจึงได้รู้ว่า อ่อ ชุมชนริมน้ำตรงนี้เริ่มขึ้นมาได้อย่างไร โอ่งมังกรก็มีที่มาที่น่าสนใจนะ กำแพงเมืองเก่าทำไมถึงไปอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำ…
“ผมเกิดอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ย้ายมาทำธุรกิจที่ราชบุรี แต่ถูกโกงเงิน เลยต้องมาสมัครเป็นลูกจ้างประจำสำนักงานไปรษณีย์ ทำได้สักพักก็มีปัญหากับหัวหน้างาน จึงลาออกมา พอดีกับที่ทาง อบจ. กำลังหาเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายในวิหารบนเขาแก่นจันทร์ ผมก็เลยได้ทำงานนี้เขาแก่นจันทร์เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองราชบุรี แม้เป็นภูเขาที่ไม่สูงนัก แต่ถ้าขึ้นมาข้างบน ก็จะเห็นเมืองราชบุรีได้ทั้งหมด บริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแก่นจันทร์ เชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของเจ้าแม่แก่นจันทร์ วิญญาณอารักษ์ที่สถิตอยู่ในไม้แก่นจันทร์ ตามตำนานท้องถิ่นของเมืองราชบุรี นอกจากนี้ บริเวณเชิงเขายังเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์รัชกาลที่…
“ถ้าเป็นผู้หญิงในครอบครัวพี่จะทอผ้าได้ทุกคนค่ะ ตอนเด็กๆ เราจะรวมตัวกันตรงใต้ถุนบ้าน มียายซ้อน (ยายซ้อน กำลังหาญ) คุณยายของพี่เป็นจุดศูนย์กลาง หลานๆ จะมากองรวมกัน และทอผ้าแข่งกัน ตื่นมาลงจากบ้านก็เจอกี่ทอผ้า เราโตมาแบบนั้น ตอนเด็กๆ ชอบไม่ชอบไม่รู้ แต่เริ่มทอเป็นตั้งแต่อายุ 15 ปีแล้ว พี่เป็นลูกสาวของยายพิมพ์ (พิมพ์ ชมพูเทศ)…
“หน้าที่ของสำนักงานศิลปากรที่ 1 ราชบุรี คือดูแล อนุรักษ์ และบูรณะพื้นที่โบราณสถานและโบราณวัตถุใน 6 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ซึ่งเรายังมีพิพิธภัณฑ์ในความรับผิดชอบหลักอีก 2 แห่งคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี…
“อากงของผมเป็นชาวจีน ท่านนั่งเรือสำเภาจากบ้านเกิดลงมาประเทศไทย และล่องเรือเข้าแม่น้ำแม่กลองมาลงหลักปักฐานในเมืองราชบุรีราวเกือบ 100 ปีที่แล้ว ท่านน่าจะเป็นรุ่นต่อจากคนจีนที่เข้ามาบุกเบิกทำโอ่งมังกรที่เมืองเมืองนี้อากงเริ่มจากศูนย์ ก่อนก่อตั้งธุรกิจและส่งต่อมาที่รุ่นพ่อแม่ ผมโตมาในครอบครัวที่มีต้นทุนที่ดีอยู่แล้ว จึงสามารถริเริ่มธุรกิจของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อยได้ไม่ยาก แต่นั่นล่ะ แม้เรามีแต้มต่อที่ดี ก็ใช่ว่าชาวราชบุรีทุกคนจะมี พอทุกอย่างลงตัว ผมก็เลยอาสาเข้ามาสมัครเป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี หวังจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ยกระดับให้เมืองของเราเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน ผมเข้ามาเป็นนายกเทศมนตรีในปี พ.ศ. 2564 มีความตั้งใจจะทำให้ราชบุรีพัฒนา…
“ถ้าเราดูตามเอกสารและหลักฐานทางงานศิลปกรรม ราชบุรีมีการอาศัยอยู่ของผู้คนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในพื้นที่บ้านโคกพริก ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมืองราชบุรี ความน่าสนใจก็คือพื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นเส้นทางของแม่น้ำแม่กลองสายเก่า ซึ่งเมื่อแม่น้ำมีการเปลี่ยนเส้นทางในยุคต่อๆ มา ก็มีการเกิดขึ้นของชุมชนตามไปด้วย ทั้งเมืองโบราณคูบัว บริเวณวัดมหาธาตุ มาจนถึงเส้นทางใจกลางตัวเมืองในยุคปัจจุบัน การเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำนำมาสู่การตั้งถิ่นฐานของผู้คนในแต่ละยุค และนำมาสู่การกระจายตัวของงานศิลปกรรมที่เป็นผลผลิตของผู้คน เราจึงพบโบราณวัตถุที่สะท้อนยุคสมัยต่างๆ กระจายอยู่ทั่วเมือง ขณะเดียวกัน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำแม่กลอง ก็ยังได้ดึงดูดให้ผู้คนจากพื้นที่ต่างๆ มาลงหลักปักฐาน…
“หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมเมืองราชบุรีกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ หนูก็ได้รวมทีมกับเพื่อนๆ เข้าประกวดแนวคิดการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง เราตั้งชื่อทีมว่า Jungle Kids โดยนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองราชบุรี แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่หลัก พร้อมออกแบบของที่ระลึกในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสะสมให้ครบ โดย 5 พื้นที่ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตลาดโคยกี๊ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดช่องลม และวัดมหาธาตุ…