“แม้ชื่อจะเป็นบริษัท แต่ ‘ระยองพัฒนาเมือง’ ไม่ได้ทำธุรกิจ เราจดทะเบียนให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยมีรูปแบบที่ว่าถ้ากิจกรรมของเราสร้างกำไรมาได้ รายได้ดังกล่าวจะไม่เข้าสู่กระเป๋าหุ้นส่วน แต่จะเป็นการนำรายได้นั้นไปลงทุนกับกิจกรรมการพัฒนาเมืองอื่นๆ ต่อไป ความท้าทายของเมืองระยองก็อย่างที่ทราบกัน เขตเทศบาลถูกขนาบหัวท้ายด้วยโรงงานขนาดใหญ่ พื้นที่เมืองไม่ได้ใหญ่ แต่มีประชากรซึ่งรวมประชากรแฝงมากถึง 200,000 กว่าคน ซึ่งโรงงานที่ขนาบเราก็มีทั้งโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซ เรียกได้ว่าหันไปตะวันออกหรือตะวันตกก็จะเจอปล่องปล่อยควันขนาดใหญ่ตระหง่านอยู่ แต่ข้อดีก็คือ เรามีป่าชายเลนอยู่ตรงกลาง มีชายทะเล และมีแม่น้ำไหลผ่านเมือง…
“ช่วงราวปี 2549 เจ้าหน้าที่กองสิ่งแวดล้อมชวนตัวแทนชุมชนของเราไปดูงานป่าชายเลนที่สถานีพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) จังหวัดจันทบุรี และชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด สองพื้นที่นั้นเขามีป่าโกงกางเหมือนเรา แต่ของเขาป่าสมบูรณ์ ส่วนของเรามีแต่พื้นที่ว่างเจิ่งน้ำและโขด เสื่อมโทรม หรือถ้ามี ป่าก็ถูกบุกรุกเอาเข้าจริงตัวเมืองระยองเรามีป่ามากกว่า 300 ไร่อีกนะ แต่พอมันไม่ถูกจัดการดีๆ มันจึงถูกรุกล้ำอยู่เรื่อยๆ จนเหลือเท่านี้ พอได้เห็นว่าชาวบ้านที่นั่นเขามีวิธีจัดการพื้นที่อย่างไร…
“ช่วงที่เรียน ป.โท (เศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีวิชาหนึ่งที่ผมตั้งเป้าจะศึกษารูปแบบของบริษัทพัฒนาเมือง เลยมีโอกาสได้สัมภาษณ์พี่โจ (ภูษิต ไชยฉ่ำ) ที่เพิ่งก่อตั้งบริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด ได้ไม่นาน ด้วยความตั้งใจจะให้องค์กรนี้เป็นแพลตฟอร์มกลางเชื่อมหน่วยงานต่างๆ มาขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง ขณะนั้นพี่โจกำลังหานักวิจัยมาทำงานให้ แกจึงชวนผมมาร่วมทีมด้วยผมจึงเริ่มขับเคลื่อนกับระยองพัฒนาเมืองตั้งแต่ปีแรกๆ โดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลเรื่องพัฒนาเมืองที่ย่านเมืองเก่ายมจินดา ก็มีการชวนผู้คนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน…
“หนึ่งในโปรเจกต์สำคัญที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองกำลังเร่งขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้คือการพัฒนาศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจรของจังหวัด ให้สร้างมูลค่าผ่านการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งที่นี่ยังจะเป็นแห่งแรกๆ ของประเทศอีกด้วยเพราะอย่างที่หลายคนทราบดี ระยองอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นเมืองอุตสาหกรรม ผู้ผลิตพลังงาน และผู้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ของประเทศ ในฐานะ อบจ. ที่กำกับดูแลสาธารณูปโภคต่างๆ ของจังหวัด เราก็ควรใช้จุดแข็งที่เมืองเรามีอยู่แล้วมาช่วยบริหารจัดการให้มีความสมาร์ท สอดคล้องไปกับเมืองและบริบทของการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ในเฟสแรกเราได้จับมือกับ GPSC (บริษัท โกลบอล…
“ก่อนหน้านี้อาจารย์ประภาภัทร (รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์) ได้เข้ามาร่วมกับ อบจ.ระยอง และเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัด ทำเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาก่อน ในช่วงนั้นท่านก็คิดว่าต้องมี body หรือกลไกบางอย่างขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน จึงชวนให้ผมเข้ามาทำ social lab ร่วมออกแบบการทำงานเพื่อประสานเครือข่ายต่างๆพอระยองมีคณะกรรมการนวัตกรรมการศึกษาเป็นทางการ เราก็พบว่าลำพังแค่การพัฒนาหลักสูตรแต่เพียงในสถาบันการศึกษายังไม่พอ เมืองจำเป็นต้องมีเครือข่ายและแพลตฟอร์มการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับคนทุกเพศทุกวัย จึงเกิดการจัดตั้ง ‘สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย…
“ป้าย้ายมาอยู่ระยองตอนอายุ 17 ปี มาทำงานเป็นเด็กเดินตั๋วโรงหนังให้โรงหนังวิกศรีอุดมในย่านยมจินดานี่ สมัยนั้นคือเมื่อเกือบๆ 50 ปีที่แล้ว ถนนยมจินดาที่มีระยะทางไม่ถึงหนึ่งกิโลเมตรสายนี้นี่คึกคักมากเลยนะ มีโรงฝิ่น โรงแรม ร้านขายทอง ร้านรวง ร้านนั่งดื่ม มีที่ขึ้นสินค้าทางเรือ และโรงหนังตั้งอยู่ถึง 2 โรง คนระยองคิดอะไรไม่ออกก็มาพักผ่อน มาจับจ่ายใช้สอยบนถนนสายนี้จุดเปลี่ยนน่าจะช่วงราวปี พ.ศ.…
“กระทั่งเรียนถึง ม.6 ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยคณะอะไร ใจหนึ่งก็อยากเรียนด้านการศึกษา แต่ก็ไม่ได้อยากเรียนเพื่อเป็นครูแบบในระบบที่เราโตมา จนมาเจอว่าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขามีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ ซึ่งหลักสูตรเขาไม่ได้เน้นสร้างครู แต่เป็นการสร้างคนที่มาออกแบบกระบวนการการเรียนรู้เชื่อมไปกับบริบทสังคมและชุมชน ผมเลยตัดสินใจยื่นคะแนนเข้าสาขานี้ ผมเกิดกรุงเทพฯ และอยู่ที่นั่นมาทั้งชีวิต จนได้เรียนที่คณะนี้ในวิชา community engagement ที่เขาจะให้นักศึกษาเลือกลงไปใช้ชีวิตกับชุมชนเป็นเดือนๆ เพื่อถอดองค์ความรู้จากชุมชนนั้น โดยผมเลือกลงชุมชนชาวไทยทรงดำที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งนั่นเป็นครั้งแรกที่ผมไปใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัดนานๆ และก็เพราะได้เรียนคณะนี้และวิชานี้…
“ผมเริ่มฝึกเชิดหนังใหญ่ตอนอายุ 10 ขวบครับ ตอนนั้น พระครูบรุเขต วุฒิกร อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านดอน มาถามเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดบ้านดอนว่าใครอยากเรียนเชิดหนังใหญ่บ้าง ผมเห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยเข้าร่วมจากตอนแรกก็แค่เล่นสนุกๆ แถมยังได้ค่าขนมอีกเวลาไปออกแสดงตามที่ต่างๆ พอเล่นไปเล่นมาก็พบว่าเป็นความผูกพันที่ได้แสดงร่วมกับเพื่อน และได้ฝึกซ้อมรุ่นน้องต่อๆ มาให้มาแสดงร่วมกับเรา อีกทั้งพอได้ไปตระเวนเปิดการแสดงที่ต่างๆ รวมถึงในต่างประเทศ เล่นจบได้ยินเสียงปรบมือก็รู้สึกภาคภูมิใจ ทุกวันนี้ผมอายุ 29 อยู่ในกลุ่มหนังใหญ่วัดบ้านดอนมาได้เกือบ 20…
“ราวร้อยกว่าปีก่อน หลังจากที่ชาวจีนที่มาตั้งรกรากที่เกาะสมุยก่อตั้งศาลเจ้าพ่อกวนอูได้ 20 ปี ก็ถึงเวลาที่องค์เจ้าพ่อต้องเข้าพิธีเปลี่ยนเครื่องทรง พวกเขาจึงส่งเจ้าพ่อกวนอูลงเรือสำเภากลับไปยังเกาะไหหลำเพื่อให้ช่างที่นั่นทำสีและบูรณะองค์ท่าน จนแล้วเสร็จ พอจะล่องเรืออัญเชิญองค์พ่อกลับมา ความที่การล่องเรือกลับสยามในยุคนั้นต้องเผชิญมรสุมมากมาย คนจีนที่นั่นก็ได้จำลององค์เจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นเทพแห่งสายน้ำ อัญเชิญลงเรือมาพร้อมกันด้วย เพื่อให้การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัยแล้วเรือลำดังกล่าวก็ล่องมาถึงเกาะสมุย ชาวสมุยอัญเชิญเจ้าพ่อกวนอูขึ้นฝั่งด้วยดี แต่พอถึงคราวโยนไม้เสี่ยงทายเพื่ออัญเชิญเจ้าแม่ทับทิมลงบ้าง ปรากฏว่าต่อให้โยนไม้อย่างไร ก็ตีความหมายได้ว่าเจ้าแม่ทับทิมไม่ยอมขึ้นฝั่ง หลังจากเชิญอยู่หลายวัน ก็ได้เวลาที่เรือลำนั้นต้องกลับพระนครเพื่อไปขนถ่ายสินค้าอย่างอื่นต่อ เจ้าแม่ทับทิมจึงติดกับเรือขึ้นอ่าวไทยมาด้วย…
“พี่ย้ายมาอยู่ประแสปี พ.ศ. 2536 มาเป็นสะใภ้ที่นี่ ประแสในยุคนั้นเป็นชุมชนคนทำประมงพาณิชย์ที่ใหญ่มาก โดยครอบครัวสามีพี่เขาเปิดอู่ซ่อมเรือ เรือประมงเข้าออกแทบจะทั้งวันและทุกวัน เรือขึ้นมาที ลูกเรือก็จะแห่มาซื้อของ ที่นี่จึงเต็มไปด้วยร้านโชห่วย ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ไปจนถึงคาราโอเกะและสถานบันเทิง แม่สามีพี่ก็เปิดร้านบนถนนตลาดเก่าตรงนี้ ขับรถไปที่ซื้อของที่ตัวเมืองแกลง และเอามาขายที่นี่ เอาอะไรมาก็ขายได้หมด สมัยก่อนชาวประมงเป็นคนอีสานเยอะ เวลาสาวอวนลงเรือ พวกเขาจะร้องเพลงกัน…