“จากการที่สถาบันอาศรมศิลป์ได้ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาในจังหวัดระยอง และพบว่าการทำงานเฉพาะแค่การศึกษาในระบบนั้น ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาในปัจจุบัน ที่ซึ่งการพัฒนาผู้คนในปัจจุบันไปได้ไม่เท่าทันกับการพัฒนาเมือง เราจึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองก่อตั้ง ‘สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย’ (Rayong Inclusive Learning Academy: RILA) เพื่อเน้นการสร้างองค์ความรู้ผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้คนระยองทุกช่วงวัยสถาบันดังกล่าวหาได้เป็นมีสำนักงานหรือมีห้องเรียนที่เป็นรูปธรรม แต่เป็นพื้นที่กลางที่สานความร่วมมือไปยังหน่วยงาน เครือข่ายภาคประชาสังคม และเจ้าขององค์ความรู้ต่างๆ มาออกแบบชุดความรู้ให้กับผู้คนในเมืองระยอง ผ่านกระบวนการ Learning City Lab…
“ราว 5 ปีที่แล้ว บริษัทด้านการเงินที่เราทำอยู่ที่ระยองถูกยุบรวมเข้ากับสำนักงานใหญ่ที่ชลบุรี เขาก็ให้พี่ย้ายไปทำงานที่นั่น แต่ความที่เราปลูกบ้านอยู่ระยอง และเป็นคนที่นี่ไปแล้ว ก็ไม่อยากย้ายไปไหน จึงตัดสินใจลาออกมา ตอนออกมาใหม่ๆ ก็เคว้งนะ เพราะเราทำงานประจำมาทั้งชีวิต แต่ในอีกทาง เราก็อยากทำธุรกิจส่วนตัวด้วย ก็เริ่มจากทำวุ้นมะพร้าวส่งขาย พออยู่ได้ จนกระทั่งช่วงโควิด เราขายของสด พอมีสถานการณ์ที่การค้าขายแบบเดิมทำได้ยาก มันจึงไม่ตอบโจทย์…
“แต่เดิมหนังใหญ่เล่นกันเฉพาะในวัง นักแสดงเป็นเพศชายล้วน มีหลักฐานว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่การแสดงนี้จะแพร่ออกมาจัดในวัด และมาถึงชุมชนในที่สุดจังหวัดระยองไม่เคยมีการแสดงหนังใหญ่ กระทั่งราวร้อยกว่าปีที่แล้ว พระยาศรีสมุทไชยโชคชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เจ้าเมืองระยอง (พ.ศ. 2408-2436) ได้ติดต่อซื้อตัวหนังประมาณ 200 ตัวมาจากพัทลุง และว่าจ้างครูประดิษฐ์ให้ขึ้นมาฝึกสอนคนในบังคับของท่าน เพื่อจัดแสดงในระยองและจังหวัดในภาคตะวันออก หลังจากเจ้าเมืองท่านเสียชีวิต หนังใหญ่ก็ถูกเก็บไว้ที่วัดเก๋ง (วัดจันทอุดม…
“ผมเป็นชาวประมงที่ล่องเรือลำแรกๆ พาชาวประมงจากปากน้ำประแส (อ.แกลง จ.ระยอง) ไปจับปลาทูน่าไกลถึงน่านน้ำอินโดนีเซียนั่นคือเมื่อราว 40 ปีที่แล้ว สมัยนั้นยังไม่มี GPS ใช้แค่แผนที่ทหารเรือที่มีเข็มทิศ ทาบมาตราส่วนเอาว่าจากอ่าวไทยลงไปปัตตานี มาเลเซีย จนเลยไปถึงอินโดนีเซียนี่กี่ไมล์และใช้เวลากี่วัน ก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปจนชำนาญ จากนั้นชาวประมงจากประแสก็พากันล่องใต้ไปจับทูน่าหาเงินได้เป็นถุงเป็นถังกันหมด สมัยนั้นถ้าพูดถึงประมงพาณิชย์ที่ออกเรือไปจับปลาไกลๆ มีไม่กี่ที่หรอกที่หาปลาได้เก่งและสร้างเม็ดเงินได้เยอะ ประแสของเรานี่ที่หนึ่งล่ะ ปากน้ำระยองอีกที่หนึ่ง…
“โดยตำแหน่ง ผมจะรับผิดชอบด้านการศึกษาของเทศบาลนครระยอง ก็ดูแลโรงเรียนทั้งหมด 6 โรงเรียนในเขตเทศบาล โดยในจำนวนนั้นมีโรงเรียนระดับมัธยมอยู่ 1 โรงเรียน นั่นคือนครระยองวิทยาคมจริงอยู่ที่ระยองได้รับการจัดอันดับให้เป็นจังหวัดที่มี GDP สูงที่สุดในประเทศ แต่ตามข้อเท็จจริง GDP เราไม่ได้กระจายถึงทุกคนอย่างทั่วถึง เทศบาลเรามีประชากรราว 50,000-60,000 คน แต่มีประชากรแฝง หรือคนที่ย้ายเข้ามาทำงานในเมืองหลักแสนคนได้ น่าเสียดายที่คนระยองแท้ๆ…