Uncategorized

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี 2502 ซึ่งโรงเรียนก็เปิดทำการอยู่พักใหญ่ จนสุดท้ายเลิกกิจการไป เทศบาลเมืองลำพูนเปลี่ยนอาคารหลังนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูนในปี 2550…

3 days ago

[ THE CITIZENS เมืองพนัสนิคม ]<br />กนกวรรณ ลิมป์รุ่งโรจน์<br />นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของบริษัท ควอนทัม คอนสตรัคชั่น จำกัด

“ความน่าอยู่ของพนัสนิคมคือโอกาสที่จะส่งเสริมให้เมืองเป็นบ้านหลังที่สองให้คนทำงานในเมืองมาพักผ่อนหรือมาใช้ชีวิตได้”“พนัสนิคมเป็นเมืองปิด ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว และไม่ใช่เมืองผ่าน คุณจะไปพัทยาก็ไม่ต้องผ่านพนัสนิคม จะไปฉะเชิงเทราก็ไม่ต้องผ่านเรา อันนี้คือโจทย์สำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่รู้จะทำงานอะไรในบ้านเกิดของพวกเขา สิ่งนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดมาหลายสิบปีแล้ว พอเข้ามหาวิทยาลัยหรือถึงวัยทำงานเลยเลือกย้ายไปที่อื่น ทำงานจนเกษียณก็ค่อยกลับมาอยู่พนัสฯ เมืองจึงเต็มไปด้วยคนชรากับเด็ก พอมันเป็นแบบนั้น เมืองจึงไม่มีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่เท่าไหร่ จริงอยู่ที่พอช่วงหลังโควิด เราเห็นแนวโน้มของคนรุ่นใหม่กลับมาทำธุรกิจที่เมืองเรามากขึ้น และเห็นว่าคนพนัสฯ เองก็เริ่มเปิดใจในการจับจ่ายใช้สอยกับธุรกิจใหม่ ๆ มากขึ้น แต่เหมือนเมืองยังขาดพื้นที่ที่สร้างเครือข่ายให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้เข้าถึงโอกาส…

2 months ago

[ สำรวจแนวคิดการทำเมืองน่าอยู่ระดับโลก ]<br />วิจัย อัมราลิขิต นายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม

วิจัย อัมราลิขิต เป็นคนพนัสนิคม เริ่มทำงานการเมืองในฐานะสมาชิกเทศบาลในปี 2523 ก่อนได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม เมื่อปี 2530 ความที่พื้นเพเขาเรียนมาด้านวิศวกรรมโยธา และมีความสนใจด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายหลังที่เขาเข้ารับตำแหน่ง สิ่งแรกที่เขาให้ความสำคัญคือการจัดการระบบระบายน้ำเสียของเมือง รวมถึงการต่อยอดโครงการจากนายกเทศมนตรีคนก่อน จรวย บริบูรณ์ ในการบำบัดน้ำเสียของโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาล ซึ่งเทศบาลเมืองพนัสนิคมเป็นเทศบาลแรกที่ริเริ่ม“ผมมีโอกาสได้รับเชิญไปบรรยายเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียฯ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ หลายแห่ง…

2 months ago

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ และก็ไม่มีการลงทุนอะไรที่ดึงดูดมากพอ จะทำให้คนรุ่นใหม่อยากมาใช้ชีวิต กระทั่งช่วงเราไปเรียนกรุงเทพฯ  เราก็ทราบข่าวว่าร้อยเอ็ดจะมีการสร้างหอโหวดขึ้น ตอนนั้นยอมรับว่า เราก็ไม่ได้คาดหวังอะไรกับสิ่งนี้สักเท่าไหร่ที่ไหนได้…

5 months ago