“เราต้องไม่ปิดกั้นโอกาสของเด็ก เพียงเพราะเรายังไม่เข้าใจ
แต่ควรส่งเสริมให้เด็กทุกคน ค้นพบเส้นทางของตัวเอง”
“สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ (สพม. นครสวรรค์) อยู่ใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เรากำกับดูแลโรงเรียนมัธยมในจังหวัดนครสวรรค์ทั้งหมด 37 โรงเรียน ไม่รวมโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ครอบคลุมนักเรียนราว 30,000 คน
นครสวรรค์เป็นเมืองที่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการศึกษามาก ๆ ขณะเดียวกัน แต่ละโรงเรียนก็มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว และมีเป้าหมายของตัวเอง บางโรงเรียนเน้นวิทยาศาสตร์ บางแห่งเน้นเตรียมสอบเข้าเตรียมทหาร หรือบางแห่งเป็นสายศิลปศาสตร์ โรงเรียนเหล่านี้จะออกแบบหลักสูตรของตัวเองให้ตอบโจทย์ความต้องการของนักเรียนและชุมชน ซึ่งกระบวนการนี้เกิดขึ้นแบบ Bottom-Up คือโรงเรียนเสนอแผนมายัง สพม. เขตพื้นที่พิจารณา แนะนำ และสนับสนุนให้เดินหน้า
ความน่าสนใจคือตลอดหลายปีหลังมานี้ ผู้บริหารโรงเรียนเกือบทั้งหมดค่อนข้างเปิดกว้างในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งสอดรับกับบริบทที่แตกต่างกันของกลุ่มนักเรียน แตกต่างจากเมื่อก่อนที่เหมือนจะมีไม้บรรทัดอันเดียวมาวัดคุณภาพเด็ก และตรงนี้เองที่ทำให้หลักสูตรอีสปอร์ตเริ่มเข้ามามีบทบาท เพราะมันคือหนึ่งในความสนใจของเด็ก ๆ
หลายคนอาจยังมีภาพจำว่าอีสปอร์ตคือการเล่นเกมงอมแงม ไม่มีสาระ แต่ถ้าลองมองอีกมุมหนึ่ง มันคือสนามจำลองชีวิตที่เด็กต้องฝึกทั้งเทคนิค การวางแผน การทำงานร่วมกัน การควบคุมอารมณ์ และการจัดการเวลา นี่ไม่ใช่แค่การเล่นเพื่อความสนุก แต่มันคือ ‘การเรียนรู้’ แบบใหม่ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต
ผมดีใจที่นครสวรรค์เริ่มต้นเรื่องนี้แล้ว เราเห็นเด็ก ๆ ตั้งชมรมกันเอง โรงเรียนให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ผู้ปกครองก็เข้าใจ ครูก็พร้อมจะเรียนรู้ไปด้วยกัน เด็กที่เข้าร่วมก็ไม่ได้เล่นเกมแบบไร้จุดหมายอีกต่อไป
ตอนประชุมกับผู้บริหารโรงเรียน ผมพูดเสมอว่า เราต้องไม่ปิดกั้นโอกาสของเด็ก เพียงเพราะเรายังไม่เข้าใจ เราควรเปิดพื้นที่ สนับสนุน และออกแบบระบบให้เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน เช่น โรงเรียนที่มีความพร้อมก็สามารถบรรจุหลักสูตรอีสปอร์ตในรูปแบบวิชาเลือก หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้ ส่วนโรงเรียนที่ยังไม่พร้อม ก็เริ่มจากการสร้างความเข้าใจ พัฒนาครู และหาวิธีหนุนเสริมองค์ความรู้หรือหลักสูตรที่เด็ก ๆ สนใจไปพร้อมกัน
หรือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือโรงเรียนลาดยาววิทยาคม ที่เด็ก ๆ สนใจเรื่องการทำสื่อมาก ๆ โรงเรียนก็สนับสนุนให้เกิดชมรมรวงข้าวสตูดิโอ ไปแข่งขันทำสื่อวิดีทัศน์ในระดับประเทศ เมื่อปี 2566 เด็กกลุ่มนี้ก็ไปชนะรางวัล CYBER Young Challenge 2024 มา หลังจากนั้น โรงเรียนก็มีชื่อเสียงในการส่งเด็กนักเรียนเข้าคณะวิชาด้านสื่อของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำมากมาย คือเรื่องวิชาการพื้นฐานเขาก็ใส่ใจ แต่ศาสตร์อื่น ๆ ที่สอดรับกับเด็ก ๆ เขาก็สนับสนุน
เพราะการศึกษาที่ดีไม่ใช่แค่การผลิตผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ แต่ต้องเป็นการสร้าง ‘คน’ ที่มีความพร้อม และเข้าใจโลกที่กำลังเปลี่ยนไป หากเรายังสอนแบบเดิม ๆ แล้วหวังผลลัพธ์ใหม่ ๆ มันเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเรากล้าปรับ เปลี่ยน และเข้าใจเด็กมากขึ้น ผมเชื่อว่าการศึกษาไทยจะไปได้ไกลกว่านี้แน่นอนครับ”
#เทศบาลนครนครสวรรค์ #นครสวรรค์นครอีสปอร์ต #มหาวิทยาลัยนเรศวร #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ #บพท #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #ciap #wecitizens
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…