“การลงทุนด้านสมาร์ทซิตี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
คือการลงทุนกับผู้คน”
“ผมเข้าใจว่าหลายท่านได้พูดถึงอีสปอร์ตในฐานะรูปแบบหนึ่งของเครื่องมือพัฒนาเมืองไปแล้ว จึงอยากเล่าถึงแง่มุมอื่นของเมืองที่มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการจัดการขยะและน้ำเสีย ซึ่งสะท้อนทิศทางของการเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลนครนครสวรรค์โดยตรง
ปัจจุบันเทศบาลฯ รองรับขยะจากครัวเรือนและสถานประกอบการในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงวันละไม่น้อยกว่า 200 ตัน แต่เดิมเราก็มีวิธีการกำจัดด้วยการฝังกลบในบ่อขยะที่ตำบลบ้านมะเกลือ กระทั่งราว 10 ปีก่อน คณะผู้บริหารเมืองก็มาคิดว่า ถ้าเราฝังกลบอยู่ต่อไปเช่นนี้ สักวันเราจะไม่สามารถจัดการขยะได้อย่างครอบคลุม และเป็นมลภาวะต่อชุมชนข้างเคียง จึงเริ่มคิดถึงการเปลี่ยนขยะให้เกิดประโยชน์
เทคโนโลยี RDF หรือ Refuse Derived Fuel คือโซลูชันที่ว่า เป็นการแปรรูปขยะให้เป็นเชื้อเพลิงขยะมูลฝอยสำหรับผลิตไฟฟ้า (RDF) แต่การจะตั้งโรงไฟฟ้าเอง ก็ใช้งบประมาณมหาศาล เราจึงเปลี่ยนวิธีคือการเปลี่ยนบ่อขยะที่บ้านมะเกลือให้กลายเป็นสถานที่คัดแยกและแปรรูป พวกขยะอินทรีย์เราก็เอาไปทำปุ๋ย ขยะที่รีไซเคิลได้เราก็นำไปขาย ส่วนพวกโฟม เศษไม้ พลาสติก กระดาษ ยาง และอื่น ๆ เราก็ไปทำเป็น RDF ส่งขายให้โรงไฟฟ้า กลายเป็นว่าแทนที่เราจะต้องใช้งบประมาณจัดการขยะปีละไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท เราก็ไม่ต้องเสียเงินตรงนี้ แถมยังได้รายได้จากการขาย RDF และขยะรีไซเคิล ซึ่งรวมถึงเปิดรับขยะจาก อปท. ใกล้เคียงมาจัดการต่อได้อีกด้วย เพราะเรามีกำลังผลิตเหลือเฟือ
น้ำเสียเป็นอีกเรื่องที่เราให้ความสำคัญ ทำให้เราลงทุนการทำบ่อบำบัดน้ำเสียอย่างจริงจัง พร้อมไปกับการสร้างแลนด์มาร์กใหม่ของเมือง ‘คลองญวนชวนรักษ์’ ให้เป็นลำคลองสาธารณะที่รองรับน้ำที่ผ่านการบำบัดมาแล้ว จนได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติมากมาย
ใช่ครับ คลองที่เทศบาลฯ เอาปลาคาร์ปมาปล่อยนั่นล่ะ มันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่เป็นภาพสะท้อนว่าน้ำที่เราบำบัดเนี่ยมันสะอาดจริง เพราะปลาคาร์ปเนี่ยอ่อนไหวต่อน้ำเสีย ถ้ามันอยู่ได้ก็คือปลอดภัย
แต่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เพราะพอเรามีคลองสาธารณะแห่งใหม่ ก็มีชาวบ้านหลายคนเอาปลามาปล่อยบ้าง บ้างก็ขโมยปลาคาร์ปไปเลี้ยงเอง (หัวเราะ) ก็จำต้องมีการกวดขันเรื่องนี้เป็นพิเศษ
และเรื่องนี้สะท้อนประเด็นที่ผมอยากสื่อเป็นพิเศษ คือไม่ว่าเมืองจะลงทุนกับเทคโนโลยีมากแค่ไหน แต่สำคัญไม่แพ้กันคือการลงทุนกับผู้คน การลงทุนสร้างจิตสำนึกร่วมกันให้กับคนในเมือง คือแนวทางที่จะทำให้เมืองเป็นสมาร์ทซิตี้ได้อย่างยั่งยืนที่สุด และนี่คือโจทย์สำคัญที่ทั้งเทศบาลฯ และภาคส่วนอื่น ๆ ต้องหาวิธีในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ร่วมกัน”
#เทศบาลนครนครสวรรค์ #นครสวรรค์นครอีสปอร์ต #มหาวิทยาลัยนเรศวร #หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ #บพท #pmua #โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด #ciap #wecitizens
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…