“ผมเป็นคนปากน้ำโพ เรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พอกลับมาอยู่บ้าน ช่วงปี 2527 เห็นเมืองกำลังเติบโต และก็เห็นวัสดุก่อสร้างกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ขณะเดียวกันพื้นเพของบ้านแฟนผมเขาขายวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว ผมก็เลยเข้ามาช่วยเต็มตัว โดยพยายามเปลี่ยนให้ร้านค้าแบบเดิมให้เข้าสู่โมเดิร์นเทรด ก่อนจะไปจับมือกับ SCG เป็นผู้แทนจำหน่ายรายใหญ่ให้เขาในโซนนี้
เมื่อก่อนเราเปิดร้านอยู่บนถนนสวรรค์วิถี ย่านใจกลางเมืองปากน้ำโพ มีบริการส่งวัสดุก่อสร้างไปที่ไซท์งานเลย ร้านเราจึงไม่ต้องการที่จอดรถอะไรมาก แต่ช่วงหลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้รับเหมาเขาอยากลดต้นทุนเรื่องค่าส่ง เขาจึงเลือกจะขับรถมารับเอง ขณะเดียวกัน พอเมืองมีการขยายตัว จึงแทบไม่มีไซท์งานก่อสร้างในย่านกลางเมืองเท่าไหร่แล้ว พื้นที่ร้านในตัวเมืองจึงไม่ตอบโจทย์ เราเลยย้ายไปเปิดนอกเมือง
การย้ายที่ตั้งร้านของเราเนี่ยก็เป็นภาพสะท้อนการเติบโตของเมืองเหมือนกันนะ คุณสังเกตไหมว่าห้องแถวหลายแห่งในเมือง ถ้าไม่ปิดไว้ ก็จะแขวนป้ายให้เช่า ซึ่งภาพแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจเมืองไม่ดีนะ เพียงแต่เศรษฐกิจมันไปเติบโตรอบนอก แถวมหาวิทยาลัยภาคกลาง ถนนถนนตัดใหม่ เป็นต้น
ที่ขยายไปข้างนอก ส่วนหนึ่งเพราะค่าที่ดินและค่าเช่าในเมืองแพง ขณะเดียวกัน ที่จอดรถก็หายากด้วย รวมถึงวัฒนธรรมเก่าๆ ที่เจ้าของตึกเอาเก้าอี้มาวางบนถนนหน้าร้านตัวเอง เพื่อกีดกันไม่ให้คนอื่นมาจอดรถ คนจากข้างนอกเข้ามาซื้อของในเมืองพอหาที่จอดรถไม่ได้ เขาก็ไม่อยากมา
ผมย้ายร้านมาอยู่นอกเมืองได้สิบกว่าปีแล้ว จริงๆ ก็นำโมเดลแบบพวก Walmart ของอเมริกามาใช้เหมือนกัน ตอนย้ายมาใหม่ๆ คนก็บอกว่าบ้าหรือเปล่าย้ายมานอกเมือง แล้วลูกค้าประจำที่เคยขี่มอเตอร์ไซค์มาซื้อของเราเขาจะทำยังไง ผมก็ต้องยอมตัดตรงนี้ไป ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น กลายเป็นว่าร้านค้าออนไลน์เข้ามาตีตลาดวัสดุก่อสร้างขนาดเล็กๆ ก็กลายเป็นว่าคนขี่มอเตอร์ไซค์เขาก็ไม่ต้องขี่รถมาซื้อของที่ร้านเท่าไหร่แล้ว ส่วนธุรกิจเราก็ยังอยู่ได้ เพราะของที่ขายยังเป็นของขนาดใหญ่ หรือมีน้ำหนักมาก คุณส่งกระเบื้อง ส่งเหล็ก หรือปูนทางไปรษณีย์ไม่ได้หรอก แต่นั่นล่ะ เราก็ยังมีช่องทางขายทางออนไลน์ด้วยเช่นกัน คือคุณสั่งสินค้ากับเรา เราจัดเตรียมสินค้าให้ แล้วคุณก็ขับรถมารับที่ร้าน
ผมร่วมแลกเปลี่ยนกับทางกฎบัตรนครสวรรค์ ในฐานะที่เป็นนักธุรกิจในเมือง และประธานสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ผมเห็นด้วยกับการพัฒนาเมืองในรูปแบบกฎบัตร อย่างไรก็ดี กฎบัตรควรต้องมีพาวเวอร์ในการสร้างข้อผูกมัดกับภาครัฐมากกว่านี้ เพราะถึงจะมีทิศทางที่ดี มีเกณฑ์ประเมินผลทางวิชาการดี หรือมีเจตนาที่ดีอย่างไร ถ้าคุณไม่ทำให้รัฐรับข้อเสนอไปทำตาม มันก็ยาก
ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผมก็เห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นมาบ้าง อย่างที่เขาพยายามแก้ผังเมืองรวมนครสวรรค์ ซึ่งพูดตามตรงที่ผ่านมาผังเมืองนี้ประกาศใช้อย่างบ้าๆ บอๆ มาก กำหนดเขตห้ามทำนู่นนี่เต็มไปหมด ผมเป็นวิศวกร ดูก็รู้ว่าด้านสาธารณูปโภคเป็นหลักว่าตรงนี้ต้องทำบ้าน ตรงนี้ต้องทำโรงงาน แต่เมืองเรามันยังไม่ถึงขนาดนั้น หรือบางพื้นที่คุณตั้งโซนห้ามโรงงาน แต่สภาพความเป็นจริงโรงงานมันขึ้นก่อนข้อกำหนด โรงงานจึงเต็มพื้นที่ที่ห้ามมีโรงงานไปหมด หรือการสร้างอาคารสูงก็เหมือนกัน ตอนนี้มีการปลดล็อคพื้นที่ให้เซ็นทรัลตั้งอาคารสูงได้แล้ว ผมก็อยากให้มีการปลดล็อคพื้นที่อื่นๆ ได้ปลดล็อคด้วยในอนาคต ไม่งั้นมันจะเป็นภาพที่ลักลั่นมากทีเดียว”
สรรเสริญ นภาพร
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารตึกน้ำเงิน กรุ๊ป จำกัด
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…