“กับองค์ความรู้บางอย่างที่คุณมั่นใจหนักหนาว่ามันสามารถเลี้ยงชีวิตคุณไปจนตาย ก็ไม่แน่ว่าเดี๋ยวนี้จะเป็นแบบนั้น”

ถ้าคนระยองเรียนจบด็อกเตอร์ แต่กลับหางานทำที่บ้านเกิดของตัวเองไม่ได้ ผมว่ามันไม่ใช่

ขณะเดียวกัน แม้เมืองของเราจะขึ้นชื่อเรื่องเศรษฐกิจที่ดี แต่เศรษฐกิจที่ดีที่ว่านี้ กลับถูกขับเคลื่อนจากคนทำงานจากจังหวัดอื่นๆ ที่ย้ายเข้ามาทำงานในเมืองเรา อันนี้ผมว่าก็ไม่ถูก

ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ต่อต้านอะไรคนจากที่อื่นนะ เพียงแต่รู้สึกเสียดายที่คนระยองเราน่าจะมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบ้านเมืองเราให้มากกว่าที่เป็นอยู่ นั่นทำให้ผมกลับไปหาสาเหตุ จนมาพบว่าปัจจัยสำคัญคือการศึกษา ที่ผ่านมา คนระยองเรียนผิดทาง จบออกมาจึงต้องไปหางานที่อื่นหมด และนั่นทำให้ทุกภาคส่วนในจังหวัด เห็นตรงกันว่าถึงเวลาแล้วที่การศึกษาระยองต้องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของเมืองจริงๆ เสียที

ระยองมีจุดเด่นอะไร? อุตสาหกรรม ประมง การท่องเที่ยว และการเกษตร แต่เพราะเด็กระยองยังเรียนในระบบแบบเดิม ไม่ได้ถูกหล่อหลอมให้มีทักษะที่รองรับจุดเด่นเหล่านี้เลย นั่นจึงเป็นที่มาให้ภาคส่วนต่างๆ นำร่องโครงการจังหวัดนวัตกรรมการศึกษา ปรับปรุงหลักสูตรการสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ให้สอดคล้องกับโจทย์ในพื้นที่ ซึ่งระยองเราทำก่อนรัฐบาลประกาศพื้นที่เขตนวัตกรรมการศึกษาเสียอีก

และพอรัฐบาลประกาศ มันก็สอดคล้องตรงกันพอดี ทำไปทำมา เราก็เห็นว่ามันมีอย่างอื่นต้องส่งเสริมอีก จึงมีการตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย (RILA) ขึ้นมา ให้คนของเราได้ reskill และ upskill ได้ตลอดไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ 

ผมว่าไม่ใช่เรื่องผิดอะไรเลย ถ้าคนรุ่นใหม่ยังตอบไม่ถูกว่าโตขึ้นจะเป็นอะไร หรือมีความสนใจอะไรเฉพาะ สิ่งสำคัญก็คือเมืองเราต้องมีพื้นที่ แพลทฟอร์ม หรือโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึงการเรียนรู้เพื่อที่จะพัฒนาและค้นพบตัวเองได้ตลอดเวลา เพราะอย่าลืมว่าเทคโนโลยีสมัยนี้มันเปลี่ยนแปลงเร็ว กับองค์ความรู้บางอย่างที่คุณมั่นใจหนักหนาว่ามันสามารถเลี้ยงชีวิตคุณไปจนตาย ก็ไม่แน่ว่าเดี๋ยวนี้จะเป็นแบบนั้น การเข้าถึงการเรียนรู้และการพัฒนา ขณะเดียวกันทุกคนก็มีความยืดหยุ่นและพร้อมจะปรับตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ

แต่ขณะเดียวกัน การรักษาต้นทุนดั้งเดิมที่คุณมีอยู่แล้วก็เป็นเรื่องจำเป็น อย่างสมมุติคุณเป็นลูกชาวสวน คุณเป็นคนรุ่นใหม่ ที่ไม่อยากทำสวนเหมือนพ่อแม่ แต่หากคุณรักษาต้นทุนนี้ไว้ เรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี เรื่องการตลาด หรือการขายสินค้าออนไลน์ก็ว่ากันไป ปรับให้สวนผลไม้ของพ่อแม่คุณเป็นสมาร์ทฟาร์ม หาช่องทางการขายให้พวกเขา คุณมีต้นทุนดีอยู่แล้วนี้ คุณเสริมเข้าไป มูลค่าก็มาเอง

ผมยกตัวอย่างสวนทุเรียนแห่งหนึ่งที่ตำบลนาตาขวัญ เขามีที่ดินไม่ถึง 10 ไร่ มีข้อจำกัดด้านการผลิต แต่คุณไม่มีโอกาสได้กินทุเรียนของเขาเลย เพราะทุเรียนทุกต้นมีคนจองเต็มหมดแล้ว มันถูกจองตั้งแต่ทุเรียนยังไม่ออกผลด้วยซ้ำ เขาเปิดขายออนไลน์ ให้คนจองต้นไปเลย โมเดลนี้คุณก็ไม่จำเป็นต้องเอาทุเรียนไปขายล้งให้โดนกดราคา พอสวนคุณถูกจองเต็มหมด คุณก็ไปดีลกับสวนทุเรียนเพื่อนบ้านให้เอามาขายได้อีก ตั้งกลุ่มไปเลย ใช้การตลาดนำ 

ผมถึงบอกว่าถ้าคุณเข้าถึงเทคโนโลยีและไม่หยุดเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ก็จะเจอโอกาสในเมืองนี้อีกเยอะ คุณจะค้าขายทางออนไลน์และออนไซท์ก็มี อย่างคุณขายสินค้าเกษตร อบจ.เราก็ช่วยเรื่องการหาตลาดวางขายให้ด้วย หรืออีกหน่อยสนามบินเราเปิดนานาชาติ มีแอร์พอร์ทซิตี้ตามมา ช่องทางทำมาหากินตามมาอีกเยอะ

เอาเข้าจริง แต่ไหนแต่ไรผมมองว่าคนระยองมีข้อดี คือทุกคนพร้อมปรับตัวและคุยกันเข้าใจง่าย เพราะถ้าไม่เป็นแบบนั้น นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างทุกวันนี้มันเกิดขึ้นที่เมืองนี้ไม่ได้หรอก เหมือนกับคนลงทุนเขาก็ต้องศึกษาก่อนว่าภูมิศาสตร์ตรงไหนเหมาะแก่การลงทุน ทำไมโรงแยกก๊าซต้องมาขึ้นระยอง ปิโตรเคมี อุตสาหกรรม และอื่นๆ เมื่อสิ่งเหล่านร้พุ่งตรงมาที่ระยองแล้ว พอคนระยองคุยกันเข้าใจง่าย ทุกอย่างจึงเกิดขึ้น และคนระยองก็สามารถหาประโยชน์จากการพัฒนาที่เข้ามาได้

โลกยุคหลังจากนี้ก็เช่นกัน เมื่อระยองของเรามีพร้อมหมดแล้ว การศึกษาเราก็ปรับให้เข้ากับเมืองแล้ว จากนี้ก็อยู่ที่คนระยองยุคใหม่อีกเช่นกันที่มีความสามารถปรับตัวและเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อจะสร้างความมั่นคงหรือมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเมือง และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนอื่นๆ ในเมืองได้มากแค่ไหน ซึ่งถ้าถามผม ผมว่าคนของเรามีศักยภาพที่จะทำได้”

ปิยะ ปิตุเตชะ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

7 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago