“ในโครงการวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์ เรารับผิดชอบในการออกแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่การเรียนรู้ของโครงการ โดยพื้นที่เรียนรู้ที่ว่า คือ ‘ตลาดสร้างสุข’ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันอังคารบนถนนรอบอาคารศาลากลางหลังเก่า หรือหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์
ตลาดนี้ (ตลาดสร้างสุข) เป็นโครงการที่ทีมวิจัยของเราต่อยอดมาจาก ‘ตลาดนัดเด็กดี’ ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้ภายในตลาดเมืองเก่าย้อนเวลา ณ ชุมชนเมืองกาฬสินธุ์ ในปี 2564 เพราะตลาดหรือถนนคนเดินคือพื้นที่จับจ่ายใช้สอยและผ่อนคลายสำหรับทุกคนในครอบครัว เราจึงเห็นว่าควรหนุนเสริมพื้นที่กิจกรรมให้เด็กๆ ที่มากับผู้ปกครอง รวมถึงวัยรุ่นได้มีสถานที่ให้พบปะและทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์
พอมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้งบประมาณจาก บพท. มาขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ จึงมีการจัดตั้งตลาดสร้างสุขในรูปแบบถนนคนเดินรอบหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ เพราะนอกจากเราจะใช้หอศิลป์ฯ แห่งนี้เป็นหนึ่งในพื้นที่เรียนรู้ของโครงการ กิจกรรมที่เกิดขึ้นในตลาดรอบหอศิลป์ก็ควรเป็นกิจกรรมที่เชื่อมร้อยเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองของเราด้วย
เราจึงออกแบบกิจกรรมให้ครอบคลุมกับแทบทุกความสนใจเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมโคเวอร์แดนซ์ การระบายสีปูนปลาสเตอร์ บอร์ดเกม ไปจนถึงสาธิตการทำธุง (ธงที่ใช้ในพิธีกรรมของอีสาน) ไปจนถึงการทำข้าวจี่ ซึ่งเราก็ได้สอดแทรกองค์ความรู้เรื่องเมืองกาฬสินธุ์ในทุกกิจกรรมที่ว่ามา อาทิ ระบายสีปูนปลาสเตอร์สัญลักษณ์ของเมือง อาทิ โปงลาง หรือไดโนเสาร์ หรือการเล่นบิงโกอาหารอีสาน เป็นต้น
ทั้งนี้ เราก็ได้ทั้งเด็กๆ ที่มาร่วมกิจกรรมกับเราเป็นขาประจำ และเด็กขาจรที่ตามผู้ปกครองมาเดินตลาด รวมถึงที่คุณครูโรงเรียนต่างๆ ชวนมาร่วมงาน ซึ่งเราก็ดีใจนะ เพราะครูจากหลายโรงเรียนก็สนใจที่จะนำกิจกรรมหนุนเสริมการเรียนรู้เหล่านี้ไปใช้กับโรงเรียนของเขาบ้าง
นอกจากนี้ ก่อนที่เราจะเริ่มโครงการตลาด ช่วงนั้นเป็นช่วงที่โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง จึงทำกิจกรรมออนไซท์ไม่สะดวกนัก เราจึงทำเส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้เมืองกาฬสินธุ์ผ่านทัวร์เสมือนจริงในเว็บไซต์ kalasinlearningcity.com นำเสนอ 5 สถานที่สำคัญของเมืองผ่านภาพถ่าย 360 องศา ได้แก่ วัดกลาง (พระอารามหลวง) หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร (ท้าวโสมพะมิตร) ศาลเจ้าโสมพะมิตร และตลาดเมืองเก่า พร้อมประวัติและข้อมูลของพื้นที่นั้นๆ
แล้วก็กลายเป็นว่าจากที่ต้องแก้ปัญหาที่ไม่สามารถทำกิจกรรมออนไซท์ได้ ภาพถ่าย 360 องศาก็ได้เปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอสถานที่ที่ถ้าเราไปจริงๆ เจ้าของสถานที่เขาอาจไม่เปิดให้เราเข้าชม โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์วัดกลาง ซึ่งเรามองว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ลับ เพราะทางวัดจะไม่ได้เปิดให้เข้าชมตลอด ในนั้นมีโบราณวัตถุหายากของเมืองหลายชิ้น
หรืออนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร และศาลเจ้าโสมพะมิตร ที่เด็กๆ กาฬสินธุ์อาจคุ้นเคย เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่าน พอเราทำภาพถ่าย 360 องศาในเว็บไซต์ ก็จะทำให้ได้เห็นรายละเอียดของสถานที่นั้นๆ พร้อมไปกับได้เรียนรู้ความสำคัญจากข้อมูลที่เราเรียบเรียงขึ้นมา ซึ่งหาอ่านไม่ได้จากสถานที่จริง เป็นต้น
ในปีต่อไป เรามีแผนจะขยายพื้นที่การเรียนรู้ไปยังริมคลองปาว บริเวณศาลเจ้าพ่อโสมพะมิตร ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์และ บพท. นำร่องกับโครงการตลาดริมน้ำปาวฟื้นใจเมือง ภูมิถิ่น แก่งสำโรง โค้งสงเปลือย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (2566) แน่นอน ในตลาดนั้นเราก็นำกิจกรรมการเรียนรู้และการแสดงของเด็กๆ และเยาวชนกาฬสินธุ์มาไว้ที่นี่ด้วยเช่นกัน
เราเชื่อว่าการที่เมืองมีศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กๆ เป็นเรื่องดีมากๆ แต่พอมันอยู่ในรูปแบบที่เป็นทางการ เด็กบางคนก็อาจไม่อยากไป เพราะรู้สึกเหมือนถูกครูบังคับให้ต้องไปใช้พื้นที่ จึงคิดว่าถ้าเรานำพื้นที่เรียนรู้ไปวางไว้ในพื้นที่ที่ไม่เป็นทางการ แต่เป็นพื้นที่ที่ทุกคนต้องใช้ร่วมกันในชีวิตประจำวัน เช่น ตลาดนัด แทนที่เด็กๆ จะรู้สึกว่าต้องไปเรียนรู้ กลายเป็นว่าพวกเขาได้มาเล่นสนุกกับเพื่อนๆ พร้อมทั้งได้ความรู้กลับไป มันจึงเป็นเหมือนเอาพื้นที่เรียนรู้ลงไปหากลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นธรรมชาติไปโดยปริยาย”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาริยา ป้องศิริ
อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
นักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้กาฬสินธุ์
http://www.kalasinlearningcity.com/
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…