การบูรณะสวนน้ำปิงถือเป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อการบูรณะพื้นที่รกร้างแห่งอื่นๆ ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นปอดของคนเชียงใหม่

“แม้เชียงใหม่จะมีคูเมืองที่เป็นเหมือนสวนหย่อมใจกลางเมือง และมีดอยสุเทพเป็นฉากหลัง แต่ข้อเท็จจริงคือ คนในเมืองกลับมีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก โดยเมื่อเทียบขนาดพื้นที่กับประชากรโดยเฉลี่ย เราจะมีพื้นที่สีเขียวราว 6 ตารางเมตรต่อคน ต่ำกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตร นี่ยังไม่นับรวมประชากรแฝง เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือแรงงานอื่นๆ ที่ประมาณ 5 แสนคน ถ้านับรวมจำนวนนี้เข้าไป คนที่อาศัยในเชียงใหม่จะมีพื้นที่สีเขียวต่อคนอยู่ที่แค่ 1.8 ตารางเมตรเท่านั้น ต่ำกว่ามาตรฐานหนักเข้าไปอีก

นอกจากเรื่องการขาดแคลนพื้นที่สีเขียว ในเวทีสาธารณะของกลุ่มเชียงใหม่ฮอม ที่เปิดให้คนเชียงใหม่มาร่วมแบ่งปันข้อเสนอในการพัฒนาเมืองบริเวณข่วงประตูท่าแพ เมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เรายังพบเสียงสะท้อนของปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญอีก 3 ประการ ได้แก่ ฝุ่นควัน PM 2.5 ซึ่งมันไม่ใช่แค่มาจากการเผาป่า แต่ยังเกิดจากรถยนต์และวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนในเมือง ปัญหาเกาะความร้อนในเมือง หรือการที่เมืองมีอุณหภูมิสูงขึ้นต่อเนื่อง และปัญหาสำคัญอีกข้อคือ ความมั่นคงทางอาหาร อันนี้เป็นผลสืบเนื่องจากโควิด-19 ที่กลุ่มคนจนเมืองต้องเผชิญหนักที่สุด และก็เช่นปัญหาขาดแคลนพื้นที่สีเขียว แม้เราจะมีพื้นที่เกษตรรอบเชียงใหม่มากมาย แต่ผู้คนที่ยากจนในเมือง กลับไม่สามารถเข้าถึงอาหารการกินที่ดีในราคาย่อมเยาได้

เราพบว่าปัญหา 4 ข้อนี้ล้วนเชื่อมโยงกันหมด นั่นคือเมืองไม่มีพื้นที่ให้หายใจ ต้นไม้ใหญ่ที่ใช้ฟอกอากาศมีน้อย อาคารสูงขึ้นหนาแน่น ประกอบกับภูมิศาสตร์แอ่งกระทะอีก มลภาวะและความร้อนจึงไม่ถูกระบายเท่าที่ควร ขณะเดียวกันเมื่อเรามีพื้นที่สวนน้อย ยังส่งผลให้เราขาดแคลนพื้นที่สวนครัวซึ่งเป็นต้นทุนทางอาหารที่ถูกที่สุดในเมืองด้วย

พอเราได้มีโอกาสทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ จึงเห็นช่องทางในการสร้างพื้นที่ของการเรียนรู้ ไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื้อรังของเมืองไปพร้อมกัน พูดเหมือนเป็นการทำพื้นที่สีเขียวใหม่ใหญ่โต แต่เปล่าเลยครับ เอาจริงๆ เรามีสวนสาธารณะหรือพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างในเขตเทศบาลรอให้มีการปรับปรุงฟื้นฟูเต็มไปหมด หนึ่งในนั้นคือสวนน้ำปิง ซึ่งตั้งอยู่เยื้องกาดต้นลำไย ริมแม่น้ำปิง โดยที่ผ่านมามีภาคประชาสังคม กว่า 10 ภาคีร่วมรณรงค์และขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูสวนแห่งนี้ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ในที่สุดเทศบาลนครเชียงใหม่ ก็เห็นด้วย และรับเป็นแม่งานในการก่อสร้าง โดยมีใจบ้านสตูดิโอและสตูดิโอ A49 เชียงใหม่ ร่วมออกแบบ

กล่าวได้ว่าพื้นที่ที่กำลังจะกลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ของเมืองแห่งนี้ เกิดขึ้นจากเสียงของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะมันเริ่มมาจากกลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้องต่อรัฐ และเมื่อรัฐอนุมัติ ก็มีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในการกำหนดทิศทางของสวน ขณะเดียวกัน ภายหลังที่เทศบาลประกาศแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาสวนน้ำปิง ที่มาจากตัวแทนประชาชนจากภาคส่วนต่างๆ 23 คน ทางทีม Learning City ของเราก็เข้าไปร่วมออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้คณะทำงานของเรา รวมถึงชาวชุมชนบางส่วน ได้ล่องเรือสำรวจระบบนิเวศริมแม่น้ำปิง รวมถึงทำกิจกรรมชักชวนผู้ที่สนใจมาพายเรือคายัคในแม่น้ำ และฟังวิทยากรเล่าถึงความสำคัญของระบบนิเวศและประวัติศาสตร์ของแม่น้ำปิง

เพราะเราเชื่อว่าการเรียนรู้นี้ ไม่เพียงจะช่วยเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจแก่คนในพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อการกำหนดทิศทางการออกแบบและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในสวนน้ำปิง แต่มันยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าที่หลายคนมองข้ามของแม่น้ำสายที่กล่าวได้ว่าเป็นเส้นเลือดของเมืองเชียงใหม่สายนี้ ความตระหนักรู้จะนำไปสู่ความเข้าใจและนำมาซึ่งจิตสำนึกของความหวงแหนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จริงอยู่ที่การทำสวนสาธารณะแห่งเดียว ไม่สามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนานัปการที่ผมเกริ่นไว้ได้ ดังนั้น การที่ชาวเชียงใหม่ร่วมแรงร่วมใจผลักดันให้เกิดสวนแห่งนี้ ก็ถือเป็นแรงบันดาลใจสำคัญต่อการบูรณะพื้นที่รกร้างแห่งอื่นๆ ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นปอดของคนเชียงใหม่ รวมไปถึงอาจเป็นสวนครัวสำหรับทุกๆ คนช่วยลดปัญหาความมั่นคงทางอาหารของผู้คนในอนาคต

นอกจากนี้ ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจอีกประการก็คือ เรายังได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การออกแบบพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นโมเดลของการออกแบบสิ่งปลูกสร้างอะไรก็ตามแต่ในเมืองของเรา ให้สอดรับกับบริบทของวิถีชีวิตของผู้คนและระบบนิเวศ ช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองเมืองนี้ ไม่ให้หนักเกินกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน”

///

นิเวศน์ พูนสุขเจริญ

ผู้เชี่ยวชาญโครงการจัดตั้งศูนย์ล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

#WeCitizensTh #LearningCity #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago