การประยุกต์มรดกดั้งเดิมของคนล้านนาให้มีความร่วมสมัยหรือสอดคล้องไปกับการใช้งานของคนรุ่นใหม่ คือเสน่ห์ที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่

“เราเรียนจบมาด้านสถาปัตยกรรม แต่ด้วยความที่เราสนใจองค์ความรู้เกี่ยวกับล้านนาและงานวิจัย เลยมุ่งไปทำงานวิจัย ไม่ได้ทำงานออกแบบเท่าไหร่ จนมาเจอพี่เบิด (ประสงค์ แสงงาม) ซึ่งเราเปิดบริษัททำอีเวนท์ด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยกัน ก็เลยมีโอกาสได้ใช้ทักษะในงานออกแบบภูมิทัศน์มาผสานกับองค์ความรู้จากพี่เบิด ที่เขาสะสมมาจากคนเฒ่าคนแก่หรือพ่อครูแม่ครูอีกที บริษัทจึงมีจุดแข็งที่เราทำงานอีเวนท์ที่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามขนบวัฒนธรรม สามารถอธิบายคุณค่า หรือความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เรานำมาออกแบบได้

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างการใช้ตุงประดับตบแต่งงาน เราใช้ตุงไส้หมูที่คนล้านนาใช้ตานปักไว้บนต้นเขืองและเจดีย์ทรายในประเพณีปี๋ใหม่เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ฉะนั้นถ้าเราจะเอามาใช้ประดับงาน ตำแหน่งของตุงควรอยู่ที่สูง ไม่ควรอยู่ต่ำหรือห้อยกับอะไรที่มันไม่สมควร หรืออย่างตุงสามหางนี่ก็สวย แต่เราจะไม่เอามาประดับในงานรื่นเริง เพราะเป็นตุงส่งวิญญาณ คนเมืองเขาเอาใส่ไว้หน้าศพ เราก็ต้องอธิบาย เพราะบางทีลูกค้าเห็นอันนั้นสวยดี ก็อยากให้เราใส่ แต่ไม่เข้าใจความหมาย

หรืออย่างโคม ปกติโคมจะใช้ตบแต่งช่วงยี่เป็ง เพราะวัสดุมันจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเทศกาล และเราก็จะหมุนเวียนนำมาใช้ในแต่ละปี แต่เดี๋ยวนี้โคมก็ถูกเอามาห้อยแทบทุกงานตลอดปี แต่เราก็ไม่ได้หัวแข็งในแบบที่ว่าอันนี้ใช้ไม่ได้ค่ะ คือถ้าจะใช้ เราก็อาจหาวิธีประยุกต์ให้ได้ หรือคุณอาจจะนำคอนเซปต์ที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาต่อ อย่างการทำตุงเพื่อการเฉลิมฉลองในสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เราก็อาจใช้รูปแบบตุงดั้งเดิมมาพัฒนาเพื่อสื่อความหมายของเทศกาลเฉพาะ เช่นงานเทศกาลช้างม่อย เราก็อาจชวนคนช้างม่อยมาร่วมกันออกแบบตุงเฉพาะ เป็นตุงช้างม่อยที่ใช้สำหรับเฉลิมฉลองให้ผู้คนในย่านช้างม่อย โดยไม่จำเป็นต้องนำตุงที่เกี่ยวกับพุทธศาสนามาใช้

ที่สำคัญ เราคิดว่าการประยุกต์มรดกดั้งเดิมของคนล้านนาให้มีความร่วมสมัย หรือสอดคล้องไปกับการใช้งานของคนรุ่นใหม่ นี่เป็นเสน่ห์ที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ที่เราเห็นได้ชัดในรอบหลายปีหลังมานี้เลยนะ

การเรียนรู้และทำความเข้าใจรากเหง้า ก็เหมือนกับการที่เราได้พบหมุดหลักสำหรับยึดหรือจับ ซึ่งมันไม่ใช่แค่ความภาคภูมิใจ แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่เราจะนำไปต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์ หรืออย่างน้อยที่สุดคือทำให้เราได้รู้ทิศทางในการเติบโต หรือมีส่วนในการร่วมพัฒนาเมืองของเราอย่างตระหนักในคุณค่าต่อไปในอนาคต”

///
ไพลิน ทองธรรมชาติ
นักวิจัยด้านภูมิปัญญาล้านนาและเจ้าของบริษัท เมืองงาม ครีเอชั่น

#WeCitizensTh#LearningCity#ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago