“คนส่วนใหญ่มักมองว่าชุมชนคือที่อยู่อาศัย แต่ที่จริงแล้วในทุกชุมชนต่างมีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและเป็นต้นทุนในการเรียนรู้หรือทำความเข้าใจสังคมต่อไปไม่จบไม่สิ้น
โครงการหลากมิติแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงให้เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการลงพื้นที่ไปศึกษาเรียนรู้จากชุมชน โดยในทางกลับกันเราก็หวังให้คนรุ่นใหม่มีส่วนในการกระตุ้นผู้คนในชุมชนให้กลับมาทบทวนมรดกในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อเป็นต้นทุนในการต่อยอดไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา
ในระยะแรก เราส่งเทียบเชิญไปยังสถาบันการศึกษาในเขตอำเภอเมือง ให้ส่งตัวแทนนักเรียนมาร่วมกิจกรรมโรงเรียนละ 5 คน โดยออกแบบกิจกรรมไว้ 3 ระดับ ใน 3 ชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน เริ่มจากระดับมัธยมต้นที่ลงพื้นที่ในชุมชนควรค่าม้าในเขตเมืองเก่า เน้นไปที่การศึกษาประวัตศาสตร์ของชุมชนที่เชื่อมโยงกับเมือง ส่วนนักเรียนระดับมัธยมปลายเราให้ลงพื้นที่ชุมชนป่าห้าที่อยู่ไม่ไกลจากถนนนิมมานเหมินท์ ศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการทำเหมืองฝายโบราณที่ยังคงหลงเหลือในปัจจุบัน และสุดท้ายคือระดับมหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ชุมชนช้างม่อยไปศึกษาด้านเศรษฐกิจจากร้านรวงที่มีอยู่เดิมในย่านและที่เกิดขึ้นใหม่
รูปแบบกิจกรรมใน 3 พื้นที่จะคล้ายกัน ได้แก่การลงพื้นที่สำรวจพูดคุยกับเจ้าบ้าน แล้วกลับมาระดมความเห็น จากนั้นก็ให้นำเนื้อหาที่ได้มาทำเป็นงานศิลปะซึ่งสะท้อนมุมมองของผู้ร่วมกิจกรรมที่ได้ลงพื้นที่มา กิจกรรมจะแล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน
แม้จะเป็นโครงการนำร่อง แต่เราก็รู้สึกปลื้มใจที่เห็นเด็กๆ กระตือรือร้น หรือค้นพบแง่มุมที่พวกเขาไม่คาดว่าจะได้พบมาก่อน อย่างเด็กๆ ที่ลงชุมชนป่าห้า พวกเขาก็ไม่รู้มาก่อนว่าที่นี่มีเหมืองฝายซึ่งเชื่อมโยงกับระบบชลประทานตั้งแต่สมัยก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ ยังมีการไหว้ศาลผีกัน หรือมีกลุ่มช่างฟ้อนอยู่ ทั้งๆ ที่ชุมชนนี้ซ้อนทับกับย่านสมัยใหม่อย่างนิมมานเหมินท์ หรือการได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมกิ๋นหอม ตอมม่วนที่ควรค่าม้า หรือกวนข้าวยาคู้ที่ช้างม่อย ซึ่งเป็นมิติที่ต่างออกไปจากภาพจำของนักศึกษาที่มองว่าย่านนี้เป็นย่านคาเฟ่ที่กำลังฮิต เป็นต้น ที่สำคัญ เด็กๆ ส่วนหนึ่งก็ยังกลับมาคิดต่อว่าจริงๆ ชุมชนของพวกเขาเอง ก็อาจมีคุณค่าอะไรแบบนี้ ซึ่งจุดประกายให้พวกเขากลับไปศึกษาชุมชนของตัวเองด้วย
เราว่าโมเดลการศึกษาชุมชนแบบนี้มันสามารถนำไปพัฒนาเป็นกระบวนวิชาหนึ่งในสถาบันการศึกษา หรือเป็นกิจกรรม CSR ที่โรงเรียนไปร่วมกับภาครัฐหรือชุมชนต่อไปได้ และถ้ากระบวนการนี้อยู่ในหลักสูตรการศึกษาได้จริง ไม่เฉพาะเด็กนักเรียนที่ได้ประโยชน์ ตัวชุมชนเองก็จะสามารถออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยว กระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือเป็นแนวทางในการเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่ของตัวเองต่อไปได้เช่นกัน”
///
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัมพิกา ชุมมัธยา
อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้รับผิดชอบโครงการหลากมิติแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…