“การอพยพแบบเทครัวคือการโยกย้ายถิ่นฐานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในลักษณะของการที่ผู้คนโยกย้ายไปทั้งครอบครัวหรือทั้งชุมชน ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีการอพยพรูปแบบนี้นับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะช่วงศึกสงคราม เช่นที่ครั้งหนึ่งกองทัพนครศรีธรรมราชไปทำสงครามกับรัฐไทรบุรี และก็ได้นำเชลยศึกจากไทรบุรีกลับมาด้วย
อย่างไรก็ดี ในตำบลปากพูน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีการอพยพแบบเทครัวอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของชุมชน นั่นคือราวทศวรรษ 2470 ที่ชาวบ้านในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ล่องเรือลงใต้มาขึ้นฝั่งยังปากพูนกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อหาแหล่งทำมาหากินใหม่ กระทั่งในทุกวันนี้หลายชุมชนริมคลองในปากพูน ก็ล้วนเป็นลูกหลานชาวเพชรบุรีที่ยังคงพูดภาษากลางสำเนียงเพชรบุรีอยู่
นอกจากนำวิถีชีวิตและสำเนียงภาษามาปักหลักที่นี่ อีกสิ่งที่ชาวเพชรบุรีนำติดตัวมาด้วย นั่นคือนวัตกรรมพื้นบ้านในการจับสัตว์น้ำที่เรียกว่าบ้านปลา หรือ ‘หมรัม’
หมรัมคือเครื่องมือที่ทำขึ้นจากท่อนไม้ของต้นแสมขาว หรือต้นอื่นๆ ที่หาได้จากป่าชายเลน จะถูกนำมาปักบนดินโคลนริมสองฝั่งคลองทั้งแนวตั้งและแนวนอน ล้อมรอบเป็นวงกลมและใช้เชือกผูกโยงให้แข็งแรง เมื่อท่อนไม้ถูกปักลงในคลองมากๆ จะทำให้มีแพลงก์ตอนมาอาศัยอยู่ แพลงก์ตอนเหล่านี้เป็นอาหารของสัตว์น้ำ ซึ่งเมื่อพวกมันมารวมตัวกัน ก็ทำให้ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำขึ้นมาได้อย่างสะดวก ชาวเพชรบุรีที่อพยพมาได้นำ ‘หมรัม’ มาใช้จับปลาในคลองปากพูนอยู่สองแบบคือ หมรัมปลาดุกทะเล และหมรัมปลากะพง ซึ่งอย่างหลังจะใช้ท่อนไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่า และทุกวันนี้ก็ยังมีการใช้เครื่องมือชนิดนี้อยู่จนเกิดเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น
นอกจากการทำหมรัม อีกสิ่งที่ชาวเพชรบุรีที่ทุกวันนี้กลายเป็นคนพื้นถิ่นปากพูนไปแล้วยังทันเห็น คือเหตุการณ์ยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นบริเวณคลองปากพูน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 วันเดียวกับที่กองทัพญี่ปุ่นบุกฐานทัพเรือเพิร์ลฮาเบอร์ ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถึงแม้เหตุการณ์นี้จะผ่านมา 81 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีคนเฒ่าคนแก่ที่ยังทันเห็นเหตุการณ์ เป็นความทรงจำของชุมชนที่เจ้าของความทรงจำยังสามารถบอกเล่าให้ลูกหลานได้รับฟัง
ผมเชื่อว่าหากเราอยากพัฒนาพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ การย้อนกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ หรือสำรวจรากเหง้าของพวกเราเองในชุมชน คือต้นทุนอันยอดเยี่ยมสู่การพัฒนาบ้านเกิดหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งสู่อนาคต โครงการ ‘ทุนประวัติศาสตร์ปากพูน เพื่อสร้างความภูมิใจในท้องถิ่นและการฟื้นฟูทรัพยากร’ ซึ่งเป็นโครงการย่อยของเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน ก็มีเป้าหมายในการกลับมาศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อการนี้
โดยโครงการนี้จะโฟกัสไปยังหน้าประวัติศาสตร์ของชุมชน 3 เรื่องด้วยกันดังที่กล่าว ได้แก่ การอพยพแบบเทครัวของชาวเพชรบุรีมายังปากพูน การยกพลขึ้นบกของทหารญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา และการศึกษาการทำ ‘หมรัม’ ของชุมชน
รูปธรรมของการศึกษานี้ไม่เพียงนำมาสู่ความภาคภูมิใจของชาวปากพูน ที่ครั้งหนึ่งเคยมีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์ระดับสากล หากยังรวมถึงสร้างความกลมเกลียวกันของผู้คนผ่านการทำหมรัมส่วนกลางของชุมชน เนื่องจากทุกคนมีส่วนในการสร้าง บำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวดอกผลจากสัตว์น้ำในเครื่องมือกลางนี้ด้วยกัน และรายได้บางส่วนจากการจับสัตว์น้ำในหมรัมชุมชน ยังถูกจัดสรรเข้ากองทุนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของปากพูนอีกต่อหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ทางโครงการยังได้จัดทำนิทรรศการเคลื่อนที่ บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนทั้ง 3 เรื่อง มอบให้กับทางชุมชนไปเผยแพร่ โดยปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ตลาดความสุขชาวเลในหมู่ 4 และทางผู้นำชุมชนมีแผนในการนำนิทรรศการชุดนี้ไปจัดแสดงตามงานของชุมชน รวมถึงตามสถานศึกษาต่อไป”
ผศ.มานะ ขุนวีช่วย
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
และนักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…