“ชมรมนาฏศิลป์หัวหินเริ่มต้นจากกิจกรรม “รำฟ้อนหน้าบ้านพ่อ” ตอนในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต เทศบาลเมืองหัวหินประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาร่วมจุดเทียนรำถวายหน้าวังไกลกังวล ช่วงนั้นครูยังสอนคณิตศาสตร์อยู่โรงเรียนหัวหิน เทศบาลฯ มอบหมายให้ครูเป็นคนสอนรำให้ชาวบ้านที่มาร่วมรำประมาณ 1,500 คน เราเลยคิดว่าทำยังไงจะได้ประสานความสัมพันธ์นี้ต่อเนื่องไป 50 วัน 100 วัน จนถวายพระเพลิง อยากให้วัฒนธรรมไทยนี้ยั่งยืนเลยจัดตั้งเป็นชมรม และวิสาหกิจชุมชนศูนย์นาฏศิลป์เมืองหัวหิน ตอนนี้มีสมาชิกคงที่อยู่ประมาณ 500 คน นางรำที่อายุมากสุด 85 ปี รองลงมา 83 ปี นอกนั้นก็ 60 ปีขึ้น น้อยกว่า 60 ที่ยังทำงานอยู่ก็มี แล้วมีนางรำต่างชาติด้วย
ครูอยากสานต่อกิจกรรม “รำฟ้อนหน้าบ้านพ่อ” เลยจัดรำถวายสักการะที่อุทยานราชภักดิ์ ซึ่งเป็นจุดเด่นของอำเภอหัวหิน เราก็ทำเพลงใหม่ คิดท่ารำใหม่กับพี่สองคน เพลงที่คิดใหม่คือดุษฎีบูชาสัตตะบูรพกษัตราธิราชเจ้า การรำเพลงนี้มี 3 องก์ องก์ที่ 1 กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของสมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์ องก์ที่ 2 กล่าวถึงการต่อสู้เพื่อบ้านเมือง องก์ที่ 3 เทิดทูนพระองค์ท่าน ได้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพาแต่งเพลงและเรียบเรียง ส่งโน้ตเพลงให้นักศึกษาซ้อม ครูก็ซ้อมรำ แล้ววันที่ 3-4-5 ธันวาคม ก็ไปรำถวายสักการะที่อุทยานราชภักดิ์ ซึ่งเราทำมาทุกปีจะเข้าปีนี้ปีที่ 6 ทางเทศบาลฯ ก็มีบทบาทและส่วนร่วมในการสร้างเวทีให้ ปีที่แล้วเราได้เป็นตัวแทนจังหวัดประจวบฯ ไปแสดงที่กระทรวงวัฒนธรรม และได้รับคะแนนโหวตเป็นอันดับหนึ่ง ทางกระทรวงฯ ก็บอกว่าที่หัวหินยังไม่มีวัฒนธรรมท้องถิ่นของอำเภอ เลยปรึกษานายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน ซึ่งท่านก็ให้กิจกรรมรำถวายสักการะเข้าไปอยู่ในหลักสูตร คือนางรำของศูนย์นาฏศิลป์ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ซักวันนึงเมื่อเราคืนสู่ธรรมชาติ ก็จะไม่มีคนสานต่อ เราเสียดายสิ่งที่ทำมาแล้ว ครูก็ทำเนื้อหาเป็นหลักสูตรให้ครูนาฏศิลป์ในแต่ละโรงเรียนของเทศบาลฯ สอนให้นักเรียนในชั่วโมงกิจกรรมเสริมหลักสูตร ซึ่งนักเรียนจะมาร่วมรำถวายสักการะได้ เหมือนมาปฏิบัติจริง มันก็จะยั่งยืน นักเรียนจะรู้ละว่าบ้านเรามีนาฏศิลป์ท้องถิ่นของหัวหิน
ครูจัดตั้งชมรมนาฏศิลป์หัวหินมาได้สามปี ฝึกรำกันอยู่ที่นี่ แต่หัวหินมันก็กว้างนะ คนก็ไม่รู้ ทางดร.ศิวัช บุญเกิด รองปลัดเทศบาลเมืองหัวหินในตอนนั้น อยากให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง เขาได้มาเห็นว่าเราทำกิจกรรมอะไรบ้างตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เขาเลยมายกระดับให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนาฏศิลป์ไทย ให้คนเข้ามาเจาะลึกเลย เพราะแค่ฟังจะไม่รู้ แต่เข้ามาดูแล้วจะรู้เลยว่าทำอะไร ซ้อมจริง ทำจริง ซึ่งนอกจากศูนย์ฯ ที่หัวหิน ก็มีเครือข่ายที่ปราณบุรีด้วย ตอนแรกเขามาร่วมรำกับเรา แต่มากันเยอะมาก เกือบร้อยคน ครูเลยให้เขาจัดตั้งเป็นชมรม แต่เขาไม่มีครูสอน ครูก็จะวิ่งไปสอน เรียกว่า นาฏศิลป์สัญจร ชมรมของเราบางครั้งเรียกว่าชมรมนาฏศิลป์เมืองหัวหิน-ปราณบุรี ตอนหลังก็เป็นศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัวหิน-ปราณบุรี
สิ่งที่นางรำมาทำตรงนี้ คือเขาใจรัก แล้วคนอายุรุ่นนี้ต้องการความสุขทางใจ เขาไม่อยากอยู่นิ่ง พอได้มารวมกลุ่ม เขาอยู่ได้ เขาก็อยู่ เขามาแล้วมีความสุข อีกอย่างคือการรำคือการออกกำลังกายทุกอวัยวะได้ดีที่สุด ได้ทุกส่วน เริ่มตั้งแต่ฟังเพลง สมองต้องคิดตามว่าแข้งขาไปทางไหน เขามาเรียนรู้ท่านาฏศิลป์พื้นฐาน แต่บางท่า เช่น ยกขา ถามว่าคนรุ่นนี้ยกนานไม่ได้เดี๋ยวล้ม ครูก็จะปรับให้ แทนที่จะยกก็โน้มตัว อย่างท่าเพลงรำอวยพร จะนั่งรำแล้วค่อยๆ ลุกขึ้น บางคนนั่งไม่ได้ บางคนขาไม่ธรรมดานะ ขาเหล็กนะ ครูปรับท่าให้ เขาทำก็เกิดความศรัทธาว่าเขารำได้
นอกจากนี้ เรายังเป็น “นางรำไร้ถัง” ทางเทศบาลฯ ให้คนมีความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมเข้ามาอธิบายให้เราเข้าใจ สอนว่าทำยังไง สมัยก่อน ขยะเรารวมกันหมดเลยทั้งแก้ว เศษอาหาร ตอนนี้เราคัดแยกขยะจนเป็นศูนย์ฯ ตัวอย่างการคัดแยกขยะ นางรำก็เอาไปใช้ที่บ้าน กองสาธารณสุขก็เข้ามา ทำหลักสูตรโครงการ “นางรำไร้ถัง” นอกจากรำแล้วยังออกกำลัง และคัดแยกขยะด้วย
บุคลิกของนาฏศิลป์ท้องถิ่น จุดเด่นของการรำที่เราสร้างขึ้นมาคือเรารำถวายให้พระเจ้าอยู่หัว 7 พระองค์ ซึ่งครูบอกสมาชิกว่า ในประเทศไทย อำเภอหัวหินเป็นอำเภอที่พร้อม พระมหากษัตริย์มารวมกันอยู่ตรงนี้ 7 พระองค์ อย่างไปดูจังหวัดอื่น มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ แต่ไม่อยู่รวมกัน บางจังหวัดมีองค์เดียว นี่คือจุดเด่นของหัวหิน ปลูกฝังให้เขามองเห็นคุณค่า ได้รู้ว่าบรรพบุรุษพระมหากษัตริย์กอบกู้เอกราชมายังไงบ้าง อุดมการณ์ของเราคือเป็นจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และสังคม เราไม่เรียกร้องจากใคร ทำด้วยใจกันจริงๆ ทุกคนอยากมาร่วม เสื้อผ้าที่ใส่รำทุกคนซัพพอร์ตตัวเอง จุดมุ่งหมายใหญ่ของเราคือซักวันนึง เราอยากจะรำให้เต็มพื้นที่ธงชาติบริเวณหญ้าสีเขียวของอุทยานราชภักดิ์ ก็ขยับคนเพิ่มขึ้นมาทุกปี ถ้าบวกปราณบุรีกับประจวบฯ ก็ได้คนเยอะ บางที่ที่เขารำคือสามสี่หมื่นคนผู้ใหญ่ต้องมาเกณฑ์ แต่ของเราที่มารำ เพราะใจรักจริงๆ”
ทิพวรรณ สุทัศน์ (ครููติ๋ว)
ประธานศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนาฏศิลป์ไทย เทศบาลเมืองหัวหิน
วิสาหกิจชุมชนศูนย์นาฏศิลป์เมืองหัวหิน
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…