การศึกษาเรื่องการทำงานข้ามภาคส่วน ทำให้เข้าใจโครงสร้างของการทำงานร่วมกัน ระหว่างชุมชน ภาคเอกชน และรัฐ ซึ่งจะกลายเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเมืองต่อไป

“เชียงใหม่เป็นเมืองมหาวิทยาลัย เราจึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับเมืองเยอะมากๆ ขณะเดียวกัน เมืองเรามีภาคประชาสังคมที่ทำงานครอบคลุมแทบทุกด้าน ก็เป็นเช่นที่หลายคนมองเห็นตรงกันคือ แม้เราจะมีบุคลากรและทรัพยากรที่พร้อมสรรพ แต่เราก็กลับขาดการทำงานร่วมกัน ต่างคนต่างทำงานในพื้นที่หรือศาสตร์เฉพาะของตนเองไป ซึ่งทำให้มีไม่น้อยที่เมื่อเราทำๆ ไปของเราฝ่ายเดียวเรื่อยๆ แล้วเราก็พบกับทางตัน

พออาจารย์สันต์ (รศ.ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์) มาชวนเราทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของเชียงใหม่ ทั้งอาจารย์และเราก็ต่างมองตรงกันว่าควรจะมีการศึกษากลไกการทำงานแบบข้ามภาคส่วน เพราะเชื่อว่าไม่ว่าเมืองจะพัฒนาเป็นอะไรสักอย่าง เป็นเมืองหัตถกรรม เมืองสร้างสรรค์ เมืองมรดกโลก หรือเมืองแห่งการเรียนรู้ สิ่งที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายได้คือการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน บุคคล หรือกลุ่มต่างๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงหรือภาคส่วนเดียวกัน

โดยคำว่าคนละภาคส่วนนี่ไม่ใช่หมายถึงแค่รัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม หรือชาวบ้านเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการทำงานข้ามศาสตร์หรือองค์ความรู้กันระหว่างคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ไปจนถึงงานด้านสังคม และรัฐศาสตร์ ซึ่งเราก็เข้าไปศึกษาว่าตลอด 30 ปีหลังมานี้ แต่ละกลุ่มทำงานอย่างไร เคยทำงานร่วมกันด้วยกระบวนการแบบใดบ้าง

การเลือกพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมของโครงการนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่คณะทำงานมองเห็นถึงความร่วมมือข้ามภาคส่วนดังกล่าว อย่างชุมชนควรค่าม้าที่ภาคชุมชนเป็นฝ่ายลุกขึ้นมาจัดกิจกรรมเอง ก่อนที่ภาครัฐหรือภาคประชาสังคมมาร่วมสนับสนุน หรือที่ช้างม่อยที่มาจากการร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการรุ่นใหม่กับชาวบ้านในชุมชน ส่วนชุมชนป่าห้าจะแตกต่างจากสองพื้นที่หน่อย เพราะชุมชนเก่าแห่งนี้ได้รับผลกระทบโดยตรงของการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ความเป็นชุมชนจึงค่อยๆ เลือนหายไป พร้อมกับกายภาพของลำเหมืองซึ่งเป็นระบบชลประทานดั้งเดิมของเมือง เราจึงโฟกัสไปที่การข้ามภาคส่วนกันระหว่างวัฒนธรรมและความเชื่อของคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน กับแง่มุมด้านการเรียนรู้ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ซึ่งเราพบว่าหนึ่งในอุปสรรคสำคัญการทำงานข้ามภาคส่วนคือความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพราะต้องยอมรับว่ากิจกรรมใดๆ ก็แล้วแต่ เราจำเป็นต้องใช้เงิน แต่เราไม่สามารถการันตีได้เลยว่าในทุกๆ ปีภาครัฐ หรือองค์กรต่างๆ จะร่วมสนับสนุนกิจกรรมภายในชุมชนได้ตลอดไหม อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคณะกรรมการชุมชนหลายแห่งที่มีระบบการจัดการกองทุนที่ดี หรือมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ดีมากๆ ก็เป็นเคสที่ดีที่จะนำมาศึกษากลไกการทำงานของพวกเขากันต่อไป

ผลจากการทำงานในปีแรก ทำให้เราได้ทราบว่าใครเป็นใครหรืออยู่ในกลไกความร่วมมือส่วนไหนของการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละชุมชนหรือพื้นที่ก็ต่างมีบริบทเฉพาะเป็นของตัวเอง แต่การศึกษาเรื่องการทำงานข้ามภาคส่วน ก็ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างของการทำงานร่วมกัน การเข้าใจความสัมพันธ์ภายในชุมชน หรือระหว่างชุมชน ภาคเอกชน กับรัฐ ซึ่งจะกลายเป็นโมเดลต่อการทำงานวิจัยหรือการขับเคลื่อนเมืองต่อไป

ก็เหมือนที่เราเกริ่นไว้ตอนต้น พอเราจะพัฒนาให้เมืองเป็นไปตามเป้าหมายอะไรก็ตามแต่ หลายคนก็อาจสงสัยว่า เออ เป็นแล้ว จะไปต่อยังไง หรือเราจะได้ประโยชน์จากเป้าหมายนี้อย่างไร การเข้าใจการทำงาน รวมถึงการทำให้ทุกคนเข้าใจกลไกของการทำงานข้ามภาคส่วน ทำให้เรารู้ว่า อืม… ต่อไปเราให้รัฐหนุนเสริมเรื่องนี้ได้นะ หรือชุมชนไหนอยากทำกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเมือง เขาก็จะรู้ได้ว่าควรเริ่มต้นตรงไหนและอย่างไร

ซึ่งเมื่อความเข้าใจตรงนี้มันกระจ่าง มันยังทำให้เราสามารถกำหนดยุทธศาสตร์หรือทิศทางการพัฒนาเมืองต่อไปได้ ชาวบ้านหรือเครือข่ายชุมชนตกลงร่วมกันว่าอยากให้เมืองไปทางไหน นักวิจัย และภาคประชาสังคมร่วมขับเคลื่อน ส่วนรัฐก็พร้อมสนับสนุนไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าเชียงใหม่มีเป้าหมายจะเป็นเมืองอะไร ถ้าโครงสร้างตรงนี้เข้มแข็ง มันก็เป็นไปได้ทั้งนั้น”

///

อจิรภาส์ ประดิษฐ์

นักวิจัยโครงการโครงข่ายท้องถิ่นกับการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่

#WeCitizensTh  #LearningCity  #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 week ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 week ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 week ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 weeks ago

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago