การสนับสนุนศิลปินก็จำเป็น การทำให้เมืองมีพื้นที่ศิลปะอย่างหอศิลป์ก็ใช่ แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้นครสวรรค์เป็นเมืองศิลปะ คือทำให้ผู้คนเห็นคุณค่าของศิลปะ

“ในฐานะที่ผมเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงมีโอกาสได้รับเชิญให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาเมืองของเราในมิติต่างๆ อยู่บ่อยๆ รวมถึงล่าสุดที่เกิดกฎบัตรนครสวรรค์ขึ้น ผมก็เข้าไปร่วมขับเคลื่อนกลไกที่จะทำให้นครสวรรค์เป็นเมืองศิลปะ

จะทำยังไงให้เมืองของเราเป็นเมืองศิลปะ? แน่นอน การนำงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมให้ศิลปินท้องถิ่น หรือดึงศิลปินต่างชาติมาทำโครงการในบ้านเรา ทั้งทางด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และการแสดง เป็นสิ่งจำเป็น หรือการมีพื้นที่ทางศิลปะอย่างหอศิลป์ก็ใช่ แต่สำคัญกว่านั้นคือ การทำให้คนในเมืองรับรู้และเห็นคุณค่าของศิลปะ ทำให้ศิลปะกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของพวกเขา

กลไกแห่งการเรียนรู้จึงเป็นหนึ่งในคำตอบที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ การทำให้คนนครสวรรค์เข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตัวเอง เข้าใจความหลากหลาย และตระหนักว่าศิลปะคือสิ่งที่โอบอุ้มวัฒนธรรม โอบอุ้มวิถีชีวิตเราได้ ซึ่งถ้าทุกคนเข้าใจ จะพบว่าศิลปะมันจะสร้างประโยชน์ให้กับเราหลายทาง ทั้งทางด้านสุนทรียะในวิถีชีวิต ไปจนถึงการเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจของเมืองในระยะยาว

ในบทบาทของนักการศึกษา ผมก็พยายามผลักดันหลักสูตร ‘นครสวรรค์ศึกษา’ ให้เข้าไปอยู่ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และผ่องถ่ายไปยังระดับมัธยมและประถมศึกษา ผ่านทางการสอนของครูบาอาจารย์ในแต่ละโรงเรียน ทั้งนี้ ผมก็เพิ่งได้เสนอกับผู้ว่าราชการจังหวัด (ชยันต์ ศิริมาศ) ไป และท่านก็มีความคิดอยากให้มีคลิปการเรียนประวัติศาสตร์เมืองเป็นเครื่องมือสนับสนุนด้วย

เช่นเดียวกับ นายก อบจ. นครสวรรค์ พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ ก็ตระหนักในเรื่องนี้ ท่านก็ให้ทางมหาวิทยาลัยเราทำวิจัยเรื่องต้นทุนเมือง หาสิ่งที่เป็น Ideal ของเมืองเพื่อจะได้นำมาพัฒนาเป็นสินค้า เป็นแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการทำให้เกิดสมาร์ทซิตี้ ซึ่งคณะมนุษย์ฯ ของผมก็ร่วมทำในมิติของการสร้างฐานการเรียนรู้ที่มั่นคง สร้าง Smart People ควบคู่ไปกับที่ทางคณะวิทยาศาสตร์ที่ทำเรื่องเทคโนโลยีทางอาหาร

ที่เล่ามา จะเห็นได้ว่าในภาคผู้บริหารเมือง รวมถึงเทศบาลนครนครสวรรค์ที่เป็นตัวตั้งตัวตีเรื่องกฎบัตร ต่างมองเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาตัวตนและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนนครสวรรค์ เพื่อสกัดองค์ความรู้มาเป็นต้นทุนในการพัฒนา นี่จึงเป็นแนวโน้มที่ดี

กลับมาที่เรื่องของการทำให้เมืองของเราเป็นเมืองศิลปะ อีกมิติที่ไม่พูดไม่ได้คือมิติของศิลปิน  ต้องยอมรับว่าศิลปินร่วมสมัยในบ้านเราหลายท่านมีผลงานที่ได้ยอมรับในระดับประเทศและนานาชาติ แต่พอเราพูดถึงการขับเคลื่อนเมือง ศิลปินก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องเมืองของเรา และทำงานที่มีส่วนสะท้อนบริบทของเมือง เพื่อสื่อสารกับผู้คนในเมืองไปพร้อมกันด้วย

ที่กล่าวมานี้ ไม่ใช่หมายความว่าศิลปินต้องเปลี่ยนแนวทางมาวาดรูปทิวทัศน์ของเมืองหรือปากแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างนั้นหรอกนะครับ เพียงแต่ถ้าศิลปินสร้างผลงานที่สามารถสื่อสารประเด็นทางสังคมเมือง ประวัติศาสตร์ หรือวิถีชีวิตของคนนครสวรรค์ เชื่อมโยงกับผู้ชม ก็จะช่วยสร้างไดนามิกของการขับเคลื่อนเมืองไปถึงเป้าหมายได้มากทีเดียว

และสำคัญที่สุดคือการสื่อสารถึงความสำคัญ เพราะเอาเข้าจริงส่วนราชการบางส่วนก็ยังไม่เข้าใจว่าเราจะเป็นเมืองศิลปะไปทำไม เพราะลำพังปากท้องของประชาชนยังไม่อิ่ม ชาวไร่ชาวนาบางส่วนก็ยังลำบากเลย

ซึ่งไม่ผิดที่เขาจะคิดแบบนั้น แต่มันไม่ใช่การเลือกจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เรื่องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาคน พัฒนาเศรษฐกิจเราก็ทำกันต่อไป ขณะเดียวกัน เราก็ขับเคลื่อนเรื่องศิลปะต่อไปได้

เพราะอันที่จริง ศิลปะก็ส่งเสริมเศรษฐกิจเมืองเราได้ อย่างเป้าหมายเบื้องต้นคือการดึงไทยแลนด์เบียนนาเล่ หรือเทศกาลศิลปะระดับนานาชาติมาจัดในเมืองของเรา นั่นก็หมายถึงงบประมาณสนับสนุนจากส่วนกลาง และเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในจังหวัด หรือการลงทุนทางพื้นที่ศิลปะอย่างหอศิลป์ มันก็ก่อให้เกิดระบบนิเวศให้กับผู้คนในเมือง ทั้งศิลปิน นักดนตรี นักแสดง ไปจนถึงนักการศึกษา สิ่งนี้จะเป็นมูลค่าเพิ่มของเมืองในอนาคต เช่นที่หลายๆ เมืองเล็กๆ ในญี่ปุ่นทำสำเร็จมาแล้ว”   

รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago