การเปิดบ้านหลุยส์ จึงเป็นครั้งแรกที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบนร่วมมือกับชุมชนในรูปแบบของการเปิดบ้านเพื่อการท่องเที่ยว

“องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน แต่เดิมมีชื่อว่า ‘กองทำไม้’ สังกัดกรมป่าไม้ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ในยุคที่อังกฤษเข้ามาทำสัมปทานไม้สักในภาคเหนือของประเทศไทย ผ่านบริษัท บอร์เนียว จำกัด และบริษัท หลุยส์ ที. เลียว โนเวนส์ บทบาทในตอนนั้นคือการทำไม้เพื่อหารายได้ให้รัฐบาล ซึ่งต่อมาในปี 2482 เมื่อสัมปทานป่าไม้ของทั้งสองบริษัทนี้สิ้นสุดลง ที่ดินและอาคารต่างๆ ของทั้งสองบริษัทจึงตกอยู่ในกรรมสิทธิ์ของกรมป่าไม้ โดยหนึ่งในนั้นคือ บ้านหลุยส์

บ้านหลุยส์ เคยเป็นบ้านของ หลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ เป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษที่เข้ามาทำสัมปทาน ลูกชายของ แอนนา เลียวโนเวนส์ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นบ้านกึ่งไม้กึ่งปูน หลังคาทรงปั้นหยา สไตล์โคโลเนียล ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นบ้านที่หรูหรามาก ก่อสร้างเสร็จปี 2449 ทุกวันนี้มีอายุ 116 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ด้วยบทบาทขององค์กรเราดูแลเรื่องการปลูกและใช้ประโยชน์จากป่าเศรษฐกิจเป็นหลัก ภายหลังที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ของเรารับบ้านหลังนี้มา บ้านจึงถูกปิดไว้มาหลายสิบปีโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ใดๆ

จนภายหลังที่ชาวบ้านในชุมชนท่ามะโอรวมตัวกันจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในชุมชน และทางชุมชนเห็นตรงกันว่าน่าจะมีการเปิดบ้านหลังนี้ที่เป็นหนึ่งในมรดกชิ้นสำคัญของยุคสัมปทานค้าไม้ให้ผู้ที่สนใจเข้าชม ความที่องค์กรของเราก็ผูกพันกับผู้คนในชุมชนนี้มาตลอด เราจึงยินดีเปิดบ้านให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

อันที่จริง องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ก็มีภารกิจที่ต้องทำงานส่งเสริมชุมชนอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาภารกิจหลักของเราคือการส่งเสริมให้ชาวบ้านร่วมปลูกป่าและทำผลิตภัณฑ์จากไม้ รวมทั้งไม้สักในภาคเหนือ นี่จึงเป็นครั้งแรกที่องค์กรร่วมมือกับชุมชนในรูปแบบของการเปิดบ้านเพื่อการท่องเที่ยว

ผมย้ายมาประจำการที่นี่ปี 2559 ตอนนั้นบ้านได้เปิดสู่สาธารณะในบางวาระบ้างแล้ว และก็มีเครือข่ายลำปางรักษ์เมืองเก่า เข้ามาร่วมหาแนวทางในการบูรณะร่วมกับชุมชน จนมาปี 2563 ที่ทางจังหวัดตัดสินใจสนับสนุนงบประมาณในการบูรณะบ้านใหม่ทั้งหลัง จนทำให้บ้านหลังนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ผ่านการจัดการของผู้คนในชุมชน

และเพราะเห็นว่าสถานที่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเราแห่งนี้ สร้างประโยชน์ในฐานะแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของเมืองได้ ปัจจุบันทางองค์กรของเราเองก็กำลังทำแผนเพื่อการบูรณะสถานที่อย่างยั่งยืนซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินงาน แต่ก็อาจมีความซับซ้อนเล็กน้อย เพราะที่ดินที่บ้านหลังนี้ตั้งอยู่เป็นที่ดินราชพัสดุที่ดูแลโดยกรมธนารักษ์ ขณะที่ตัวอาคารซึ่งมีอายุมากกว่าร้อยปี กรมศิลปากรก็ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน การจะบูรณะบ้านหลังนี้ต่อไป ก็ต้องประสานกับทั้งสองหน่วยงาน 

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวผมรู้สึกภูมิใจที่เห็นบ้านหลังนี้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เพราะมันไม่ใช่แค่บ้านที่เชื่อมร้อยประวัติศาสตร์ของเมืองในยุคหนึ่งเข้ากับวิถีชีวิตของชุมชนในปัจจุบัน แต่ยังเป็นบ้านที่เป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือขององค์กรเรา หน่วยงานระดับจังหวัด และพี่น้องในชุมชนนี้อีกด้วย”

วิมล เจียรรัตนสวัสดิ์

ผู้จัดการส่วนอำนวยการ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือบน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 week ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 week ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 week ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 weeks ago

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago