“จริงๆ ก็เป็นการจับผลัดจับผลูพอสมควรครับ ก่อนหน้านี้ผมเป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก สอนอยู่สักพัก เพื่อนรุ่นพี่เขาทำหลักสูตรศิลปะขึ้นมาใหม่ให้วิทยาเขตพะเยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา) ผมอ่านหลักสูตรแล้วสนใจ เลยย้ายมาสอนประจำที่นี่ ทุกวันนี้สอนมา 8 ปีแล้ว
ผมสนใจหลักสูตรนี้ตรงที่เขามุ่งเน้นให้ศิลปะ งานออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์รับใช้ชุมชน หาใช่การผลิตบัณฑิตศิลปะเพื่อเข้าหาแวดวงศิลปะเป็นศูนย์กลาง ต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาคุณเป็นนักเรียนมัธยมปลายที่อยากเรียนปริญญาด้านศิลปะ คุณก็จะมุ่งไปหามหาวิทยาลัยศิลปากร ลาดกระบัง หรือวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น้อยคนนักที่อยากจะเรียนศิลปะในมหาวิทยาลัยที่เพิ่งเปิดใหม่ แถมยังอยู่ถึงจังหวัดพะเยา แต่หลักสูตรเราก็สร้างโอกาสจาก pain point ตรงนี้ โดยเน้นที่การเรียนรู้และพัฒนาการศึกษาร่วมกัน
แล้วสิ่งนี้ก็สอดคล้องกับวิธีคิดผมที่กำลังอิ่มตัวกับความคิดที่ว่าศิลปะร่วมสมัยต้องผูกอยู่แต่กับมหานครอย่างนิวยอร์ก ลอนดอน ปารีส หรือในกรุงเทพฯ คือแต่เดิมผมก็แสวงหาที่จะไปอยู่จุดนั้น แต่พอมีโอกาสได้ไปอยู่ (อาจารย์นิธิศ เรียนจบจาก Kent Institute of Arts and Design ประเทศอังกฤษ) เราก็พบว่าเราอยากเห็นแง่มุมอื่นที่ศิลปะมันจะพาเราไปได้บ้าง
หรือที่อาจารย์ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าโลกศิลปะตอนนี้กำลังให้ความสนใจเรื่องเล่าหรือสุนทรียะจากความเป็นชายขอบทั้งหลาย เพราะในเมืองใหญ่ๆ มันถูกเล่าไปหมดแล้ว และตรงนี้เองที่ผมพบว่า อันที่จริงงานศิลปะดีๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในหอศิลป์ดังๆ ตามเมืองใหญ่เสมอไป บางทีวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นก็อาจเป็นศิลปะในวิถีของพวกเขาเอง ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ชมก็ได้
ซึ่งก็พอดีได้ร่วมงานกับอาจารย์โป้ง (ปวินท์ ระมิงค์วงศ์) ซึ่งเขาพยายามขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยพะเยามีหอศิลป์มาตลอด แต่เมื่อไม่ได้ เขาก็ลงมือทำด้วยตัวเอง ทั้งจากพื้นที่ที่เขาทำ (PYE Space) ไปจนถึงการเปลี่ยนพื้นที่โรงหนังร้าง ตลาดสด หรือพื้นที่สาธารณะของเมืองพะเยาให้เป็นอาร์ทสเปซ นี่จึงเป็นความท้าทายใหม่ๆ ของทั้งผู้เรียนและผู้สอนด้านศิลปะ
แน่นอน พะเยาไม่มีระบบนิเวศทางศิลปะในแบบที่หลายคนเข้าใจ เมืองของเราไม่มีทั้งแกลเลอรี่ นักสะสมผลงาน ภัณฑารักษ์ หรือกระทั่งกลุ่มคนดูอย่างเป็นทางการ ประกอบกับที่ลูกศิษย์ของเราส่วนใหญ่เป็นลูกหลานเกษตรกรหรือผู้ประกอบการท้องถิ่น ซึ่งพอเรียนจบพวกเขาก็ต้องกลับไปสานต่อกิจการที่บ้าน มีบางส่วนไปทำงานด้านการออกแบบในเมืองใหญ่ และมีน้อยคนมากๆ ในหนึ่งรุ่นที่จะดำเนินชีวิตในฐานะศิลปิน
แต่นั่นล่ะ ไม่ว่าพวกเขาจะเลือกดำเนินชีวิตไปทางไหน อย่างน้อยที่สุด การได้เรียนศิลปะก็ช่วยปลดล็อคความคิดของนักศึกษา ได้มีอิสระในการได้ทดลองทำในสิ่งที่เขาอยากทำสักครั้งในชีวิต หรือได้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ไปพัฒนาสิ่งที่เขาทำหรือเป็นอยู่ ตรงนี้แหละที่ผมมองว่ามันคือคุณค่าที่แท้จริงของศิลปะ”
ผศ.นิธิศ วนิชบูรณ์
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…