“สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นการรวมกันของเด็กนักเรียนในโรงเรียนภายในเขตเทศบาลเชียงใหม่ โดยแต่ละโรงเรียนจะมีตัวแทนมาร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน การพัฒนาชุมชน และรณรงค์แก้ปัญหาต่างๆ ที่วัยรุ่นอย่างพวกเราส่วนใหญ่ต้องเจอ ทั้งการกลั่นแกล้ง การพนัน ยาเสพติด ภัยจากโลกออนไลน์ ไปจนถึงการท้องก่อนวัยอันควร ตอนนี้ในสภามีด้วยกัน 21 คนครับ ตัวแทนจากโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนมี 4 คน อันนี้ไม่รวมคณะทำงานที่มีกระจายอยู่ทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งบางคนก็ทำงานสภามาก่อน
ผมเข้าร่วมสภาเด็กตั้งแต่ขึ้น ม.4 ปกติจะเป็นแค่ 2 ปี แต่พอดีมีโควิด ก็เลยได้เป็นต่อจนถึง ม.6 ที่เข้าร่วมเพราะเราชอบทำกิจกรรมอยู่แล้ว บ้านผมอยู่แถววัวลาย แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรกับชุมชนนัก คือรู้ว่าเป็นชุมชนทำเครื่องเงินเก่าแก่ มีถนนคนเดิน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ แต่ก็รู้ประมาณนี้ ถึงรู้ว่าเขามีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมในชุมชนเป็นบางวาระ
แต่ผมก็ไม่รู้จะเข้าหาหรือเริ่มต้นยังไง จนพอได้มาทำสภาเด็ก และมีหน้าที่ที่เราต้องลงพื้นที่ไปเรียนรู้หรือจัดกิจกรรมในชุมชนหรือไปทำค่าย จึงรู้สึกว่าเข้าทางพอดี เพราะผมคิดว่าพื้นที่ต่างๆ ในเชียงใหม่มีอะไรให้ศึกษามากมายเต็มไปหมด แต่มันไม่ค่อยอยู่ในบทเรียนในห้องเรียนเท่าไหร่นัก อย่างคลองแม่ข่าที่ผมรู้จักแค่ว่าเป็นคลองที่เคยมีความสำคัญในประวัติศาสตร์เมืองและตอนนี้มีแต่น้ำเสีย พอได้ลงพื้นที่ ก็เลยทราบถึงปัญหาต่างๆ ได้เข้าใจในความเหลื่อมล้ำจริงๆ ที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก
หรือการได้ร่วมกิจกรรมวิชาดอยสุเทพศึกษา ที่มีพี่ๆ มาเล่าถึงดอยสุเทพในมิติที่ไม่เคยทราบมาก่อน อย่างการเป็นแหล่งน้ำสำคัญนับตั้งแต่การตั้งเมือง ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการยอมรับระดับสากล หรือความผูกพันกับคนเชียงใหม่มากไปกว่าการเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ ผมจึงคิดว่านี่เป็นกำไรที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
ผมตั้งใจจะสอบเข้าคณะบริหารน่ะครับ แต่ถ้าไม่ได้ ที่มองเตรียมไว้คือเรียนทำอาหาร ไม่ทราบเหมือนกันว่าสิ่งที่ได้จากสภาเด็กจะช่วยให้ผมสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้หรือเปล่า แต่คิดว่าผมก็ได้อะไรจากกิจกรรมเหล่านี้เยอะ เช่น ความกล้าแสดงความคิดเห็น การตั้งคำถาม หรือความรู้เกี่ยวกับชุมชนและเมืองเชียงใหม่ ก็หวังจะช่วยให้ผมสอบติดน่ะครับ”
///
จารุพัทร บุญเฉลียว
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนและประธานสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครเชียงใหม่
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…