“ย้อนกลับไปก่อนปี พ.ศ. 2547 ยะลาเคยเป็นเมืองที่น่ารักและน่าอยู่มากๆ จำได้ว่าผู้คนไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือศาสนาอะไรก็ล้วนเป็นมิตร คนในชุมชนรู้จักและเข้าถึงกัน บางคนต่างศาสนาแต่กินข้าวโต๊ะเดียวกันก็มีให้เห็นบ่อย แต่พอมีเหตุการณ์ความไม่สงบเท่านั้นแหละ ทุกอย่างเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ
พอเกิดความรุนแรง ผู้คนก็หวาดระแวงกัน แถมยังมีกระแสว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ในชุมชน จากที่เคยไปมาหาสู่กัน เราก็ค่อยๆ ถอยห่างคนที่อยู่ต่างศาสนา พอมีคนต่างถิ่นหรือคนแปลกหน้าเข้ามา จากที่เราเคยยิ้มแย้มต้อนรับ ก็กลายเป็นความตึงเครียดไม่ไว้วางใจ และพอไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรงตรงไหนหรือเวลาไหน กิจกรรมในเมืองก็ถูกระงับหมด ซึ่งก็มาซ้ำเติมสถานการณ์กับการที่มีกลุ่มวัยรุ่นทะเลาะและทำร้ายกันด้วย
แม้พื้นฐานของเมืองจะน่าอยู่ แต่บรรยากาศที่เป็นตอนนั้นก็ทำให้หลายคนเลือกจะเก็บตัว หรือบางครอบครัวก็ย้ายไปอยู่ที่อื่นแทน
จนผ่านไปราว 2-3 ปี สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่บรรยากาศของเมืองก็ยังคงตึงเครียดอยู่ ท่านนายกเทศมนตรี (พงศ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) ก็มาคิดว่าจะทำอย่างไรให้เมืองกลับมามีบรรยากาศเหมือนเดิม ท่านก็ริเริ่มโครงการหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการปลูกฝังความสามัคคีในเยาวชนด้วยการทำวงออร์เคสตราเยาวชนเทศบาลนครยะลา
โครงการนี้ท่านนายกฯ ได้แนวคิดมาจาก รศ.ดร. สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งท่านเห็นว่าการแสดงดนตรีจะเป็นเครื่องละลายพฤติกรรมของเยาวชนได้ ก็เลยมีการเปิดรับสมัครครั้งแรกปี พ.ศ. 2550 มีเด็กนักเรียนในยะลามาสมัครราว 120 คน มาจากทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม เทศบาลก็จัดสรรงบประมาณซื้อเครื่องดนตรี และสถานที่ฝึกซ้อม ก่อนจะพาตัวแทนเด็กๆ และคุณครูไปอบรมที่วิทยาลัยดุริยงคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้พวกเขากลับมาสอนเพื่อนๆ
หลังจากฝึกซ้อมอยู่พักใหญ่ ก็มีการแสดงครั้งแรกในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เดือน ธ.ค. 2550 ที่หอประชุมใหญ่ของเทศบาล มีผู้ชมมาชมหลักพันคน ผลตอบรับดีมาก นั่นทำให้มีการเปิดรับสมัครอบรม ฝึกซ้อม และจัดการแสดงประจำปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังได้รับเชิญให้ไปออกงานในหลายจังหวัดรวมถึงต่างประเทศ และกลายเป็นโมเดลที่ถูกใช้เป็นแบบอย่างในเมืองอื่นๆ รวมถึงกรุงเทพฯ
ปีนี้เราแสดงติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 15 กระทั่งช่วงโควิด-19 เราก็จัดแสดงต่อด้วยรูปแบบคอนเสิร์ตออนไลน์ โดยล่าสุดเราก็เพิ่งจัดแสดงในงานยะลาสตอรี่ของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้มาเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ตอนนี้เรามีศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของวงออร์เคสตราอยู่ที่ราว 1,300 คน โดยจากกิจกรรมนี้ ทำให้มีนักเรียนหลายคนเลือกเรียนต่อด้านดนตรี และที่น่าภูมิใจที่สุดคือ มีศิษย์เก่าของเราหลายคนไปเรียนต่อถึงระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหิดลและศิลปากร เพื่อจะกลับยะลามาสอนน้องๆ เพราะในช่วงปีแรกๆ ก็ต้องยอมรับว่าวงของเรายังไม่ได้มาตรฐาน ก็เลยมีรุ่นพี่ไปเรียนเชิงลึก เพื่อกลับมาพัฒนาน้องๆ ต่อไป
พี่มาดูแลโครงการนี้ตอนปี 2559 ค่ะ ก็มีสิ่งที่ต้องแก้ไขในทุกปี โดยก็ยังคงยึดถือแนวคิดการสร้างความสามัคคีเป็นหลัก การเล่นดนตรีให้เก่งก็เรื่องหนึ่ง แต่ออร์เคสตราจะไม่มีทางสมบูรณ์แบบ ถ้าสมาชิกในวงไม่ร่วมมือหรือทำงานเป็นทีมกัน ขณะเดียวกันเราก็ปลูกฝังคุณธรรม และความรู้สึกแบบครอบครัวเดียวกัน คือไม่ใช่แค่เล่นดนตรี แต่ในชีวิตจริงทุกคนต้องเอื้ออาทรและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ซึ่งอีกผลลัพธ์ที่น่าภูมิใจก็คือ ไม่เพียงพี่ที่จบไปกลับมาช่วยพัฒนาทักษะน้องๆ แต่การที่วงออร์เคสตราได้แสดงทุกปีด้วยการเก็บค่าเข้าชม ก็ทำให้เรามีเงินทุนสนับสนุนการศึกษาให้สมาชิกในวงที่เรียนจบระดับมัธยมและไปเรียนต่อระดับอุดมศึกษาต่อไป กลายเป็นวงที่พี่กลับมาช่วยน้อง ส่วนน้องก็เล่นดนตรีหาเงินส่งพี่เรียนกลับคืน
ทุกวันนี้แทบไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงในตัวเมืองยะลาแล้ว แต่กิจกรรมของวงออร์เคสตราก็ยังดำเนินต่อไป เพราะสิ่งนี้มาไกลกว่าการเป็นเครื่องมือสลายความขัดแย้ง แต่อาจเรียกได้ว่าเป็นสถาบันหนึ่งที่เป็นความภูมิใจของเยาวชนคนยะลา”
ธิปัตยา คงสุวรรณ
ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…