ยะลา

พลเมืองแห่งการเรียนรู้ พลังของผู้คนสู่การฟื้นเมืองด้วยองค์ความรู้ [Clip]

WeCitizens ภูมิใจพาทุกท่านไปพบปะกับพลเมืองแห่งการเรียนรู้ ตัวแทนอปท. และนักวิจัยผู้ใช้กระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ และพลังความร่วมมือ ฟื้นฟูชุมชนและเมืองของตนเอง ...กับ 3 เมืองจาก 3 ภูมิภาค - เทศบาลตำบลปากพูน จ.นครศรีธรรมราช - เทศบาลนครยะลา จ.ยะลา และ เทศบาลนครนครสวรรค์…

11 months ago

เรียนรู้ยะลาด้วย infographic
ที่ถูกเล่าใหม่ให้ร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน

We Citizens Thailand ชวนร่วมเรียนรู้เรื่องราวของยะลาที่ถูกเล่าใหม่ด้วยคนยะลา คนที่รักยะลา เพื่อพัฒนาเมืองยะลาอันเป็นที่รัก คลิกภาพเพื่อดูภาพขยายเต็ม 100%

1 year ago

อ่านยะลา ฟังเสียงเมืองยะลา
เมืองแห่งการเรียนรู้

We Citizens Thailand ชวนฟังเสียงเมืองยะลา ผู้คนแห่งเมืองยะลา ผ่านการอ่าน E-Book ฉบับ "เสียงยะลา" ดาวน์โหลดได้แล้วที่ลิงค์ WeCitizens : เสียงยะลา - WeCitizens Flip PDF | AnyFlip

1 year ago

การที่งานนี้ทำให้ทุกคนได้รู้ว่าใครเป็นใครในยะลา และแต่ละคนตระหนักถึงศักยภาพของตัวเองในการร่วมกำหนดอนาคตของเมืองที่พวกเขาอาศัย ตรงนี้แหละที่เป็นผลลัพธ์อันแท้จริงของงานวิจัย

กว่าจะเป็น Yala Storiesเยาวชนยะลากับเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองของพวกเขากับ วรานุช ชินวรโสภาค วรานุช ชินวรโสภาค เป็นหัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบพื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและบูรณาการการเรียนรู้ในบริบทชีวิตจริงสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยในโครงการยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยก่อนหน้านี้ เธอเป็นเอ็นจีโอที่ทำงานประเด็นสาธารณสุขและเพศศึกษาในเยาวชน และร่วมกับอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในการขับเคลื่อนโครงการทักษะวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ของผู้คนหลากวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเธอทำโครงการนี้มาเข้าปีที่ 14 ด้วยพื้นเพเป็นคนยะลา และเข้าใจบริบทของความเป็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่…

1 year ago

‘ยะลาศึกษา’ กับการสร้างหุ้นส่วนสรรค์สร้างเมือง
สนทนากับ อภินันท์ ธรรมเสนา ว่าด้วยการแปลงต้นทุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วมสู่เครื่องมือพัฒนาเมืองยะลา

กับแง่มุมของการพัฒนาเมือง คุณเห็นว่ายะลามีดีอย่างไร? ผู้ให้สัมภาษณ์: โครงสร้างของเมืองที่ดี มีนโยบายในการพัฒนาเมือง ผู้นำมีวิสัยทัศน์ และรุ่มรวยด้วยทุนทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม แล้วยะลายังขาดอะไร? เราถามต่อ ผู้ให้สัมภาษณ์หยุดคิดหนึ่งอึดใจ: ผู้คนยังไม่ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในเมืองนัก ขาดการมีส่วนร่วม และแม้เมืองจะมีพร้อมด้วยสถาบันการศึกษาในทุกระดับ หากอ้างอิงจากงานวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในเมืองก็อยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับความพร้อมที่มี เหล่านี้คือสิ่งที่ อภินันท์ ธรรมเสนา นักวิจัยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรประมวลให้เราฟัง…

1 year ago

สำรวจ ‘ยะลา’ เมืองแห่งการเรียนรู้
จากต้นธารอาหารสู่ต้นทุนผังเมืองและพหุวัฒนธรรม

เมื่อเอ่ยถึงยะลาคุณนึกถึงอะไร? เมืองที่ตั้งของอำเภอเบตง ดินแดนใต้สุดของประเทศ? จังหวัดในภาคใต้ที่อาภัพที่สุด เพราะเป็นแห่งเดียวที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล? หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม? หรือเมืองที่หลายคนคุ้นเคยจากเสียงระเบิดและเหตุการณ์ความไม่สงบ ใช่ โดยเฉพาะข้อหลัง กล่าวตามตรง แม้กาลเวลาจะผ่านมาเกือบยี่สิบปีแล้ว ทุกวันนี้ หลายคนก็ยังจดจำภาพยะลาในฐานะดินแดนแห่งความไม่สงบอยู่เลย ทีมงาน WeCitizens เพิ่งมีโอกาสลงไปเยี่ยมเยือนอำเภอเมืองยะลามาเมื่อปลายปี 2565 และพบว่าภาพที่หลายคนจดจำกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะแม้เรายังพบบังเกอร์ปูนที่ใช้ป้องกันระเบิดอันเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากยุคของความรุนแรงจากปี 2547…

1 year ago

การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ รู้จักการเป็นผู้ให้ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน เหล่านี้จะเปลี่ยนให้ปมด้อยของเด็กๆ กลายเป็นปมเด่น และเติบโตอย่างมีเป้าหมายและความคิดสร้างสรรค์

“ตอนจบมาใหม่ๆ เราทำอาชีพครู แต่ความที่เราชอบทำกิจกรรมและงานภาคสนาม จึงพบว่าครูไม่ตอบโจทย์ชีวิตเราเท่าไหร่ จนมาเจอกับพี่ชมพู่ (วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ) ผู้ก่อตั้งกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ - ผู้เรียบเรียง) พี่ชมพู่ก็ชวนมาทำงาน เรารู้จักกลุ่มนี้ตั้งแต่สมัยที่เราทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว จึงตกปากรับคำลูกเหรียงคือชื่อของพืชท้องถิ่นในภาคใต้ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่กว่าจะออกเมล็ดพันธุ์ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี คือต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟูมฟัก แต่เมื่อมันแตกกิ่งก้านสาขาแล้ว ก็จะให้ร่มเงาแผ่กว้าง และเมล็ดพันธุ์ก็พร้อมจะงอกไปยังพื้นที่อื่นๆ…

2 years ago

เราจะไม่ทำให้ชาวบ้านขายของได้ เพียงเพราะผู้ซื้อรู้สึกสงสาร แต่ต้องเกิดจากที่ผู้ซื้อตระหนักถึงมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้นจริงๆ

“เราแค่อยากกลับมาอยู่บ้าน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าจะกลับมาทำอะไร เราเรียนจบศิลปะ (ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ผู้เรียบเรียง) และทำงานสายครีเอทีฟตั้งแต่เรียนจบ ย้อนกลับไปเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว เรานึกไม่ออกเลยนะว่าทักษะทางวิชาชีพที่มี จะไปประกอบอาชีพอะไรในยะลาได้เราเริ่มอาชีพใหม่ในบ้านเกิดของตัวเองด้วยการร่วมกับน้องสาวเปิดร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ชื่อ Living Room ที่เลือกทำร้านก็เพราะเราทั้งสองคนชอบทำอาหาร และเห็นว่ายะลายังไม่มีร้านที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยแบบนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นรูปแบบหนึ่งของงานครีเอทีฟที่เราถนัดด้วยเช่นกัน ทั้งการทำสไตล์ลิ่ง การออกแบบเมนูอาหาร…

2 years ago

ทั้งผังเมืองและสวนสาธารณะตอกย้ำว่าเมืองยะลาเป็นเมืองสำหรับคนยะลาจริงๆ เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนในพื้นที่ และเป็นเมืองน่าอยู่

“เมื่อก่อนถนนรวมมิตร ที่ตั้งของร้านกาแฟผม เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจของเมืองยะลา มีโชว์รูมร้านค้ามาเปิดเยอะ พลุกพล่านแทบทั้งวัน กระทั่งมีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงปี 2547 ผู้ประกอบการก็พากันย้ายหนีไปที่อื่นเกือบหมด แม้หลายปีผ่านไป สถานการณ์คลี่คลาย ถนนที่อยู่ในตัวเมืองสายนี้ก็เงียบลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลังเรียนจบและไปฝึกประสบการณ์ทำกาแฟในร้านที่ผมหุ้นกับเพื่อนที่ปัตตานีมาหนึ่งปี ผมก็คิดถึงการกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟที่ยะลา เพราะตอนนั้นยะลายังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบ specialty ขณะที่คนดื่มกาแฟหลายคนก็เริ่มมองหาร้านแบบนี้ จนมาเจออาคารให้เช่าบนถนนรวมมิตรนี่แหละ ซึ่งตอนนั้นก็เริ่มมีผู้ประกอบการกลับมาเปิดร้านค้าบนถนนสายนี้บ้างแล้วหลังจากซบเซามานาน เกรโช (Gratio)…

2 years ago

ไม่ใช่นักออกแบบทุกคนที่อยากเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ หลายคนก็อยากทำงานที่ตัวเองรักในบ้านเกิดตัวเอง แต่ที่ผ่านมามันเป็นไปได้ยาก

“แม่ผมเป็นช่างเย็บผ้า จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างซนและไปกวนแม่ตอนทำงาน แม่เลยเอาสมุดวาดเขียนและดินสอสีมาให้ผมวาดรูประหว่างรอแม่ กลายเป็นว่าผมชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็กตอนแรกอยากเรียนสถาปัตย์ครับ แต่พ่อกับแม่ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วว่าทำไม พอจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เลยเลือกเรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี - ผู้เรียบเรียง) แทน ที่เลือกสาขานี้เพราะเหมือนเราสามารถประยุกต์ทักษะทางศิลปะที่เราชอบให้เป็นอาชีพอันหลากหลายได้ โดยระหว่างเรียนผมก็พบตัวเองว่าน่าจะจบไปทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ ตอนทำโปรเจกต์เรียนจบ…

2 years ago