“สูตรอาหารของยายส่วนใหญ่ได้มาจากคุณยายของยายอีกที ยายจะทำอาหารเช้าที่คนที่นี่กินกันโดยเฉพาะพี่น้องมุสลิม เช่น โรตีมะตะบะ นาซิดาแฆ ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ข้าวยำ และอื่นๆ เมื่อก่อนขายอยู่ที่ย่านตลาดเก่า ก่อนข้ามทางรถไฟมาเปิดร้านตรงทางเข้าตลาดสดยะลาตอนปี พ.ศ. 2500 ตอนนี้ก็รุ่น 4 เป็นรุ่นหลานยายดูแลเป็นหลักแล้ว
ถึงจะส่งต่อให้รุ่นหลัง ยายก็ยังชอบทำอาหารอยู่ ทุกวันนี้ก็ยังตื่นตี 4 มาช่วยเขา แต่หลักๆ จะเป็นลูกสาวทำ และให้หลานเป็นคนดูแลร้าน ส่วนวัตถุดิบก็ซื้อจากตลาดด้านหลังร้านเลยสะดวก ทยอยทำจนร้านเปิดตอนตี 5 กว่าอาหารทุกอย่างจะครบก็ราวๆ 6 โมง และก็ขายแบบนี้ไปจนเที่ยงก็หมด ระหว่างที่ร้านเปิด ก็จะมีผู้ช่วยเตรียมวัตถุดิบกันต่อสำหรับทำอาหารของวันพรุ่งนี้ วนเวียนอย่างนี้ทุกวันเป็นสิบๆ ปี ไม่มีวันหยุด
อาหารเช้าเป็นวิถีชีวิตของชาวใต้ คนที่นี่กินอาหารเช้าเป็นมื้อหลัก โดยเฉพาะนาซิดาแฆที่เป็นอาหารเช้าคู่วิถีชีวิตของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน นาซิดาแฆคือข้าวมันที่ผสมจากข้าวเจ้า ข้าวเหนียว และข้าวสังข์หยด นำมาแช่น้ำค้างคืนให้พองตัว วันรุ่งขึ้นค่อยนำมานึ่งและมูนกับหางกะทิ น้ำตาลทราย เกลือ หอมแดง ขิง ลูกซัด เราจะเสิร์ฟข้าวมันนี้กับแกงต่างๆ เช่นแกงปลา หรือแกงไก่ จะได้รสทั้งมัน หวาน เค็ม และรสเผ็ดจากน้ำแกง
นอกจากนาซิดาแฆ ก็มีข้าวราดแกง และโรตี แต่ไม่ว่าจะกินอะไร ที่คนส่วนใหญ่ขาดไม่ได้คือน้ำชา คนที่นี่นิยมดื่มเป็นน้ำชาร้อนกับนมข้นหวานตบท้ายมื้ออาหาร และพูดคุยกับเพื่อนต่อ ขณะที่คนในภาคอื่นๆ พบปะเพื่อนฝูงตามร้านอาหารในมื้อเย็น คนยะลาจะเจอกันตอนเช้า ร้านอาหารเช้าแบบเราจึงเหมือนเป็นชีพจรของคนที่นี่
ที่ยายยังช่วยเขาอยู่ เพราะสนุกนะ มันเป็นชีวิตเราไปแล้ว ตื่นมาเตรียมอาหาร รอรับลูกค้า และเห็นผู้คนหมุนเวียนเปลี่ยนเข้ามาในร้าน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตพวกเขา ยิ่งถ้ามีคนชมว่าอาหารอร่อย ยายก็มีความสุข”
กุหลาบ สัสดีพันธ์
เจ้าของร้านไทยอิสลาม ร้านอาหารเช้าเก่าแก่คู่เมืองยะลา
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…