ขณะที่ปลูกต้นไม้ เราทุกคนก็ล้วนเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานตามวิถีของตัวเองด้วยเช่นกัน

“ที่นี่เป็นบ้านเดิมคุณตา ภายหลังแม่ต่อเติมข้างหน้าเป็นคลินิกทำฟัน แต่ตอนนี้แม่ไม่ทำแล้ว พอเราเรียนจบกลับมาก็เห็นบ้านหลังนี้มีศักยภาพ พร้อมกับที่เห็นว่าพะเยายังไม่พื้นที่สร้างสรรค์ หรือพื้นที่ที่คนรุ่นใหม่ได้เชื่อมโยงกับชุมชน เลยไม่ไปทำงานที่ไหน กลับมาเปิดร้านที่บ้านเลย

ที่นี่เป็นร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ มีไอศกรีม และขนม ที่ตั้งชื่อว่า ‘นิทานบ้านต้นไม้’ ก็ตามตัวเลยค่ะ เราสนใจเรื่องความสัมพันธ์กับคนกับธรรมชาติและคนกับสังคม โดยสังคมที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือครอบครัว เลยใช้คำว่าบ้านมาแทนคุณค่าของครอบครัว แล้วให้ต้นไม้เป็นตัวแทนของธรรมชาติ

เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างและทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาจทำให้เรามองข้ามสิ่งนี้ไป ก็คิดว่าถ้าเราใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นเครื่องมือทำให้เขาค้นพบคุณค่าของตัวเองได้คงดีไม่น้อย ขณะเดียวกันเราก็สามารถทำธุรกิจไปพร้อมกันได้ ตอนนี้ก็เปิดมา 8 ปีแล้วค่ะ

เราเป็นคาเฟ่ที่ขยันจัดกิจกรรมโดยใช้สวนหลังบ้านเรานี่แหละจัดงานเรื่อยมา ทั้งตลาดนัดสินค้าทำมือ เวิร์คช็อปวาดสีน้ำ ปั้นดิน ถักไหมพรม โดยชวนเครือข่ายที่เป็นเพื่อนๆ กันมาร่วม และวางคอนเซปต์ของกิจกรรมในแต่ละช่วง หมุนเวียนไปเรื่อยๆ เราอยากให้คนในชุมชนมาใช้ ครอบครัวมาทำกิจกรรมร่วมกัน และมองว่ามันจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนผ่านพื้นที่ของการเรียนรู้และผลิตผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ 

พอจัดงานไปแต่ละครั้ง ก็มีโอกาสได้รู้จักคนมากขึ้น และตั้งกลุ่มกับเพื่อนๆ ในนาม Phayao Lovers ได้ไปร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ จัดงานในเมืองบ้าง เช่น งานลอยกระทงของเมือง (ล้า’ลา’ลอย คอยเธอที่กว๊านพะเยา) หรืองานเทศกาลกาแฟและชา (Phayao Coffee & Tea Lovers)

ซึ่งนอกจากเรามีส่วนช่วยเมืองด้านการทำอีเวนท์กระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเมือง เราก็ยังสามารถทำตามเป้าหมายที่คิดไว้แต่แรก คือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจของผู้คนในสังคมผ่านการร่วมมือกันทำงาน ซึ่งความเข้าใจตรงนี้นี่แหละจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมือง

เรามีภาพฝันไกลๆ ว่าอยากพัฒนาย่านที่เราอยู่ (ถนนราชวงศ์เชื่อมสู่กว๊านพะเยา – ผู้เรียบเรียง) ให้เป็น creative district โดยเริ่มเล็กๆ จากรอบๆ ร้าน เพราะเห็นว่าพะเยาเรามีต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมเยอะ และเมื่อทำอีเวนท์ไปเรื่อยๆ ก็พบว่าเรามีทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพไม่น้อยเลย ต้นทุนดีอยู่แล้ว แค่ต้องหารวิธีเชื่อมเข้ากับภาพใหญ่ของเมือง จากย่านเล็กๆ ถ้าได้แรงเสริม มันก็อาจทำให้เมืองทั้งเมืองเป็นเมืองสร้างสรรค์ ที่มาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนได้ต่อไป

เราเชื่อว่าถ้าอยากเห็นดอกไม้ คุณก็ต้องลงมือปลูกต้นไม้ แต่ดอกไม้จะไม่สวยเลยถ้ามันมีต้นไม้แค่ต้นเดียว เราจำเป็นต้องช่วยกันปลูกเพื่อจะได้ชื่นชมดอกไม้ที่สวยงามด้วยกัน การได้ร่วมมือกันเช่นนี้ ยังทำให้เราได้เห็นศักยภาพของกันและกัน เช่นนั้นแล้ว ขณะที่ปลูกต้นไม้ เราทุกคนก็ล้วนเป็นดอกไม้ที่เบ่งบานตามวิถีของตัวเองด้วยเช่นกัน”

บงกช กาญจนรัตนากร
เจ้าของร้านนิทานบ้านต้นไม้ ตัวแทนจากกลุ่ม Phayao Lovers
และนายกสโมสรโรตารี่พะเยา
https://www.facebook.com/nithanbaantonmai/

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago