“ในงานวิจัยเมืองแห่งการเรียนรู้ ย่านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดใต้ พิษณุโลก ผมรับหน้าที่เป็นทีมนักวิจัยในโครงการย่อยที่ 2 สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้เมืองท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ มีอาจารย์อรวรรณ (ดร.อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล) เป็นหัวหน้าโครงการ โดยผมรับผิดชอบในการจัดการข้อมูลสารสนเทศที่จะเผยแพร่ทางออนไลน์ ทั้งเพจเฟซบุ๊ค WordPress รวมถึง E-book
จริงๆ ผมเป็นคนติดตามคอนเทนต์ออนไลน์อยู่แล้วครับ โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองหรือชุมชน อย่างไรก็ตาม ที่ประทับใจโครงการตลาดใต้ซึ่งผมมีส่วนร่วมนี้ก็คือ ในขณะที่คอนเทนต์ออนไลน์ส่วนใหญ่มักจะมาจากการที่สื่อมวลชนที่เป็นคนนอกเข้าไปเก็บข้อมูลมาเผยแพร่ หรือนำเสนอมุมมองที่เขามีต่อชุมชนนั้นๆ แต่กับงานวิจัยนี้ เหมือนกับเป็นการเปลี่ยนบทบาทให้คนในชุมชนเป็นคนทำคอนเทนต์เสียเอง ผ่านการบอกเล่าความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับย่านของแต่ละคน โดยมีเราเป็นเพียงผู้เรียบเรียงออกมาสู่สาธารณะ
ซึ่งพอเป็นแบบนั้น ผู้คนในชุมชนจึงมีความผูกพันไม่เฉพาะกับย่านที่ตัวเองอยู่ แต่ยังผูกพันกับทั้งสื่อออนไลน์ที่พวกเขาเป็นผู้ถ่ายทอดข้อมูลด้วย ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนตรงที่พอภายหลังโครงการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว แต่เพจ ‘ตลาดใต้ พิษณุโลก’ www.facebook.com/profile.php?id=100068896173400 ก็ยังคงแอคทีฟต่อเนื่องอยู่ เนื่องจากมีพ่อค้าแม่ค้าในตลาด รวมถึงชาวบ้านที่อยู่ในชุมชนคอยส่งข่าวประชาสัมพันธ์ หรือใช้เพจนี้เป็นสื่อกลางในการประสานความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาอันหลากหลายที่เกิดขึ้นในชุมชนจนถึงทุกวันนี้
ถามว่าชอบอะไรในตลาดใต้เป็นพิเศษ? ผมชอบความที่มันยังเป็นชุมชนเมืองที่ยังคงมีความดั้งเดิม เพราะทุกวันนี้เหลือตลาดเช้าไม่กี่แห่งที่อยู่ใจกลางย่านธุรกิจของเมือง และไม่ว่าภูมิทัศน์ของเมืองจะเปลี่ยนไปแค่ไหน หรือมีร้านค้าแบบโมเดิร์นเทรดเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน แต่ตัวตลาดเองก็ยังกลับรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมไว้ได้
แน่ล่ะ ภายในตลาดเองเขาก็มีการใช้เทคโนโลยีอย่างพวกการโอนเงินจากมือถือ หรือสแกนคิวอาร์โค้ดมาใช้ตามยุคสมัยอยู่แล้ว เพียงแต่สินค้าที่ขาย อย่างขนมโบราณ หรืออาหารตำรับเก่าๆ ก็ยังคงอยู่ รวมถึงไดนามิกอื่นๆ อย่างวิถีชีวิตชาวจีนที่ผูกโยงกับศาลเจ้า พระสงฆ์มาบิณฑบาตกลางตลาด หรือพ่อค้าแม่ค้าจากทั่วสารทิศเดินทางมาขายของแบบแบกะพื้นกลางถนน ก็ยังคงอยู่ และถ้าอ้างอิงจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ก็น่าตกใจมากที่ตลาดแห่งนี้เป็นแบบนี้มา 120 กว่าปีแล้ว ซึ่งนี่คือเสน่ห์อย่างมาก
ขนาดผมเป็นคนพิจิตร ซึ่งเจริญน้อยกว่าพิษณุโลก ยังไม่มีตลาดเช้าที่มีกลิ่นอายแบบนี้หลงเหลืออยู่เลย
ที่ไปแล้วจะไม่พลาดทุกครั้งน่าจะเป็น ก๋วยจั๊บร้านป้าบุญเทียม เป็นก๋วยจั๊บสูตรแต้จิ๋ว เขาขายมา 50 กว่าปีแล้ว เต้าหู้อาซังที่เป็นเต้าหู้สดทำใหม่ทุกวันก็มีทั้งความสดชื่นและอร่อย น้ำเต้าหู้เขารสชาติดีครับ และพวกขนมโบราณอย่าง แดกงา ขนมด้วง ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง หรือขนมวง พวกนี้ก็น่ากิน แถมหากินที่ไหนในพิษณุโลกไม่ได้แล้ว”
ทรงพล ชุมนุมวัฒน์
อาจารย์ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยนเรศวร และนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…