เมืองขอนแก่น
ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป
ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ‘ผู้คน และความร่วมมือ คือกุญแจสำคัญของการพัฒนาเมือง’
WeCitizens ฉบับเสียงขอนแก่น พาทุกท่านมาร่วมพูดคุย Update งานพัฒนาเมืองขอนแก่น ผ่านมุมมองของ กังวาน เหล่าวิโรจนกุล Co-founder บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด และหัวหน้าโครงการวิจัย Khon Kean Learning City (ขอนแก่นเมืองแห่งการเรียนรู้) มาดูกันว่า พ.ศ.นี้และอีกไม่กี่ปีข้างหน้าชาวขอนแก่นจะนำเมืองตนเอง ก้าวไปไกลถึงจุดไหน และมีประเด็นใดที่อยากแบ่งปันและชวนให้ทุกท่านเรียนรู้ไปพร้อมกัน
Learning City เข้ามาช่วยการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองขอนแก่นอย่างไร
Learning City จริงๆ ก็คือจิ๊กซอร์ชิ้นสำคัญที่มาช่วยเติมเต็มงานพัฒนาเมือง ปกติเราทำพัฒนาเมืองเราก็ทำ เราคุยกัน เราเห็นปัญหา เราหาวิธีแก้ปัญหาโยนไอเดีย Brainstorm กันไปมากับพันธมิตร และบรรดา Stakeholders พอได้รับการสนับสนุนทั้งแนวคิด และงบประมาณจาก บพท.(หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ )เข้ามา เราก็นำงานบางส่วนที่เป็นรายละเอียดซึ่งเกิดขึ้นระหว่างทาง เช่น งานเก็บข้อมูล Archive ประมวลองค์ความรู้ และประสบการณ์ ว่าที่ผ่านมาเราทำอะไรกันไปบ้าง นำมาทำเป็น Data Set จัดเรียงจัดข้อมูลให้เราสามารถเข้าใจได้ง่าย ช่วยอธิบายวิธีคิดแบบ ‘ขอนแก่นโมเดล’ หรือยุทธศาสตร์ Smart City กับกลไกแรงขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ซึ่งกลายเป็นประเด็นหลักสำคัญ ที่จะช่วยให้เราสามารถสื่อสาร และส่งต่อ ทั้งกับน้องๆ คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาช่วยงาน กับหน่วยงานภายในจังหวัด และคนใหม่หน่วยงานใหม่ที่กำลังจะเข้ามา รวมไปถึงเมืองอื่นๆ ที่เขาอยากเรียนรู้เรื่องการพัฒนาเมือง ก็สามารถเรียนรู้สิ่งนี้ได้จากงานวิจัยของบพท. ผ่านงานของ Learning City ขอนแก่นนี่แหละครับ
บทเรียนที่ได้ ทำเป็นหลักสูตรหรือโปรแกรมอะไรให้คนได้เรียนรู้ต่อ
เราใช้คำว่าขอนแก่นศึกษาครับ เป็นการประมวลเรื่องราวหลายอย่างที่เคยทำกันมาตั้งแต่ยุคต้นๆ เพื่อเกริ่นให้เห็นภาพที่ไปที่มาของวิธีคิด ทัศนคติ เบื้องหลังการพัฒนาเมืองแบบขอนแก่น และที่สำคัญ คือ เราอธิบายถึงความพยายามของการพัฒนาที่ผ่านมา เราทำอะไร เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร วิธีการทำเริ่มจากตรงไหน ต้องไปคุยกับใครบ้าง Process ต่างๆ เวลามองจากข้างนอกแล้วภาพความสำเร็จมันดูง่าย แต่จริงๆ แล้วมันมีวิธีการ มีพัฒนาทางความคิด บอกไปถึงการทำงานร่วมกันทั้งกับภาคธุรกิจ ภาควิชา และภาครัฐที่มักจะโยกย้ายเปลี่ยนตัวบุคคลกันบ่อยๆ DATA ขอนแก่นศึกษา และหลักสูตร พวกนี้จะช่วยเยอะทำให้คนอ่านเห็นภาพ และพร้อมทั้งกับการทำงานร่วมกับเรา และนำไปประยุกต์ใช้กับเมืองของตนเอง ตัวอย่าง เช่นความเชื่อที่ว่าท้องถิ่นไม่มีสิทธิ์ทำรถไฟรางเบา หรือ BRT ใช้เอง พวกเราก็มีกรณีศึกษาอย่างการตั้ง บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม (KKTS) จำกัด เราศึกษาตัวบทกฎหมายกันมาพอสมควร ว่าสามารถทำบริษัทที่ถือหุ้นโดยเทศบาลท้องถิ่นได้ ซึ่งตัวนี้ก็จะช่วยไปเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างการลงทุนหรือการประกอบการรถไฟฟ้ารางเบา หรือการฟื้นฟูย่านเก่าสู่ย่านสร้างสรรค์ที่ศรีจันทร์ เราก็ได้สังเคราะห์ไว้ว่ากระบวนการสร้างความร่วมมือนั้นทำได้อย่างไร บทบาท Partner หลักอย่าง CEA และเทศบาล หรือกับเราในฐานะผู้สนับสนุน เราทำงานร่วมกันอย่างไร ตัวเนื้อหาของหลักสูตรขอนแก่นศึกษาก็จะครอบคลุมเรื่องราวการพัฒนาเมืองประมาณนี้ครับ นี่เป็นงานส่วนของ Learning City Phase 1 ส่วนในการทำงาน Phase 2 ก็จะไปเรื่องการต่อยอดผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญ ซึ่งเราเก็บข้อมูลไว้เบื้องต้นตอน Phase 1ให้สามารถต่อยอดใน Digital Platform เชื่อมกับยุทธศาสตร์ Smart City และแตะไปถึงเรื่อง Blockchain กับ Utility token อย่าง KGO ที่เราช่วยกันพัฒนาขึ้นมา
Digital Platform Blockchain Token ช่วยเรื่องการเรียนรู้หรือการพัฒนาเมืองอย่างไร ที่ผ่านมางานพัฒนาเมืองขอนแก่นสังเกตให้ดีจะเป็นเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure ไปซะส่วนใหญ่ เรื่อง Digital ก็ยังต้องทำส่วนของโครงสร้างพื้นฐานอยู่เช่นกันแต่กระแสใหม่ของโลกที่มันมีมาสักพักแล้ว และเราก็มองว่ามีมุมที่มีประโยชน์ก็คือเรื่อง Blockchain Token เรามองว่าแค่การจะเริ่มทำความเข้าใจ ให้คนเข้าใจตรงนี้มากขึ้น แทนที่จะ Introduction แบบเล่าเรื่อง Cryptocurrency จะดีกว่าไหมถ้าลองลงมือทำไปเลย เรียนรู้จากการทำนี่แหละ และให้มาช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าการขายเป็นทางเลือกของเราอีกทางหนึ่งด้วย พอคิดกันได้แบบนี้ ก็มีเอกชนในเครือข่ายมาช่วยกันลงทุนทำ เหรียญ KGO (เค-โกะ) เป็น Utility token หรือ Cryptocurrency รูปแบบหนึ่ง ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า KGO ไม่ได้ใช้เพื่อแทนสกุลเงินแต่ใช้เป็นตัวแทนของการเอื้อประโยชน์ สิทธิพิเศษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายสินค้าและบริการในกลุ่มสมาชิก แล้วก็ใช้ Blockchain ในการส่งรายการเก็บในการจ่ายและการรับบันทึกธุรกรรม นอกจากนี้สิ่งที่เราสนใจและพยายามหาแนวทางเพื่อจะทำให้เกิดขึ้นและใช้ได้จริงก็จะมี NFT marketplace กับ Metaverse โดยมองไปที่ การเรียนรู้ และใช้ประโยชน์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ กับการหารายได้เสริมของพวกเขา ซึ่งก็ยังอยู่ระหว่างหาความเป็นไปได้ว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป
การขับเคลื่อน Learning City จะต้องมีการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ที่ขอนแก่นหน้าตาเป็นอย่างไร
เราใช้ย่านศรีจันทร์เป็นพื้นที่การเรียนรู้ ส่วนหนึ่งเพราะย่านต้องการกระตุ้น และฟื้นฟูให้กลับมามีชีวิต แบบที่ย่านเก่าในหลายเมืองพยายามทำกันอยู่ อีกส่วนหนึ่งคือเราได้ร่วมมือกับเจ้าภาพหลักอย่าง CEA กับเทศบาลที่เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อยากให้คนได้ออกมาเรียนรู้ และทำกิจกรรมปลุกย่านไปด้วยกัน พอมีการจัดงาน Esan Fest เราก็เข้าไปช่วยจัดกิจกรรมเสวนาต่างๆ การประสานงานเรื่องระบบขนส่งมวลชน เพื่อสนับสนุนการจัดงาน เป็นช่วงเวลาที่หลายๆ อย่างมาลงตัวที่ตรงย่านนี้พอดีที่จะพัฒนาร้านในพื้นที่หรือแม้กระทั่งจัดระบบขนส่งสาธารณะยังไงมีการออกแบบร้านที่ดีขึ้นไหม มีบางร้านที่เกิดขึ้นในย่านตั้งแต่ตอนโครงการแรกก็มีร้านกาแฟที่ปรับตัวจากร้านเก่า เป็นเก่าแก่และสวยงามและมีคนมาถ่ายรูป พอย่านนี้มันดีขึ้นคนเห็นโอกาสก็มีคนรุ่นใหม่เข้ามาเปิดร้านเจ๋งๆ แนวๆ มากขึ้น นี่คือพื้นที่ของการเรียนรู้ให้คนรุ่นใหม่เรากำลังวางแผนว่าต่อไปจะร่วมกับกลุ่มมิตรผล ที่เค้ามาสร้างตึกตรงนี้ ว่าตึกต่างๆ ที่ขึ้นให้เช่า เราจะไปเช่ามาแล้วก็จัดพื้นที่ให้ ชั้นบนเป็นเหมือนกับหอพักห้องพักรายเดือนให้คนทำงานในนั้น ห้องข้างล่างเป็นห้องเช่าค้าขายหรือเป็นออฟฟิศรวมไปถึงบางพื้นที่เราก็ได้มีความร่วมมือจากธนาคารประเทศไทยและกรมธนารักษ์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเขาย้ายสำนักงานออกไปอยู่ตรงศรีจันทร์นี่แหละ และคุยกับกรมธนารักษ์ และเทศบาลก็อยากให้พื้นที่นี้เป็นประโยชน์กับคนเมือง เป็นพื้นที่การเรียนรู้ สุดท้ายกรมธนารักษ์ก็เลยปรับอาคารธนาคารประเทศไทยเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์เมือง พิพิธภัณฑ์เหรียญเหรียญกษาปณ์ก็เกิดเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ขึ้นมาจากการร่วมมือ ตึกที่ให้เป็นกิจกรรมของคนเมืองเอารั้วออกเพื่อให้เข้าถึงได้ ก็เป็นสิ่งที่เราสร้าง Learning space ไม่ใช่แค่ว่าพื้นที่จะมานั่งทำกิจกรรมเฉยๆ มันก็จะมีเรื่องของคนในพื้นที่ได้เรียนรู้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ด้วยครับประมาณนี้
รถไฟฟ้ารางเบามีความก้าวหน้าอย่างไร
มีเหตุผลอยู่ว่างานชิ้นนี้เป็นงานชิ้นที่ยากที่สุด เป็นงานสำคัญอันดับต้นๆ และใช้เวลานานที่สุด เราจึงตัดสินใจรีบพูด เพื่อให้มันเกิดการขยับเขยื้อน ซึ่งเราก็มีงานศึกษาผลกระทบ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเอาไว้ คนก็คาดหวัง เพราะมันติดหู ระหว่างที่เป้าหมายยังไปไม่ถึง เราก็เอาไอเดียที่เกี่ยวข้องไปขับเคลื่อนก่อน อย่างการใช้แอพพลิเคชั่นติดตามรถขนส่งสาธารณะแบบที่เคยใช้กับรถบัส การจ่ายเงินสามารถแล้วได้รับโทเคนไปใช้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อะไรอย่างนี้ครับค่อยๆ ซึมซับไป เพราะรู้ว่าคนในเมืองอาจจะไม่มีโอกาสมาฟังที่เราประชุม หรือให้เราได้เล่าได้บอกในรายละเอียด เน้นชวนมาทำกิจกรรมให้คนได้มาร่วม เอากิจกรรมพาคนค่อยๆ เข้าใจร่วมกัน อย่างล่าสุดเครือข่ายจาก มทร.ขอนแก่น ร่วมกับเทศบาล ก็ทำการศึกษาพัฒนารถรางรอบบึงแก่นนคร เพื่อบริการคนในพื้นที่ และการท่องเที่ยวก็เข้ามาเชื่อมกับระบบรางเบาที่วางเอาไว้ ที่มหาวิทยาลัยก็มีตัวรถไฟที่ได้รับจากญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบเพื่อการเรียนรู้
ขอนแก่นกับแนวทางพัฒนาเมืองก้าวต่อไป
อย่างที่บอกครับ ขอนแก่นไม่ใช่เมืองพิเศษไม่ได้มีอะไรเป็นฐานมาให้ อยู่ดีๆ ก็ได้ ถนนสวยๆ หรืออยู่ดีๆ ก็มีอีเว้นท์มาจัด ขอนแก่นไม่มี ฉะนั้นพอเราต้องผลักดันมันก็แต่ละคนก็ไม่ใช่เจ้าใหญ่ มันก็ต้องร่วมมือกันในการผลักดันกัน อย่างแรกจะจัดงานใหญ่อะไรไม่มีใครสามารถทำได้คนเดียว ฉะนั้นคุณต้องร่วมมือกันมาก่อนมันถึงจะสำเร็จ และคนขอนแก่นก็เห็นแล้วว่าความร่วมมือมันช่วยให้เกิดความสำเร็จได้ มันคือสิ่งที่เกิดขึ้นมาหลายปีมาตลอดรวมไปถึงนักการเมือง สส. ก็เป็นสส.แต่ละพื้นที่โดยโดยที่เขาไม่ได้มีใครเป็นรัฐมนตรีมาดูโปรเจค นักธุรกิจในเมืองก็ไม่ได้มองว่าชั้นต้องรอสส. มาทำให้ก็ไม่มี คือเมืองอื่นผมก็ไม่ได้ว่าเมืองอื่นที่เค้าจับมือกันดีก็น่าจะมี เพียงแต่ว่าถ้าเรารอ คนขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้ ขอนแก่นเราต้องทำเราต้องร่วมมือเพื่อสิ่งนี้ที่มันประกอบกันมาตั้งแต่อดีตตั้งแต่รุ่นอากงรุ่นพ่อรุ่นปัจจุบันและรุ่นน้องก็เลยเกิดภาพเดียวกัน ถ้าคุณไม่ร่วมมืองานคุณก็ไม่ใหญ่ งานก็ไม่สำเร็จ มันก็เกิดความร่วมมือ เกิดการเปิดพื้นที่ให้คนแสดงความคิดเห็นได้คนเข้าถึงได้การมีอัตตาตัวตนต่ำ อย่างคุณสุรเดชทุกคนรู้จักเป็นซีอีโอบริษัทมหาชนอยู่ขอนแก่น เขาจะมาดเยอะๆ ก็ได้ แต่ก็ไม่ ความเท่าเทียมกันใกล้เคียงไม่ใช่คนรายได้เท่ากันแต่ก็คุยได้ ตำแหน่งเล็กๆ คุยกับตำแหน่งหรือใหญ่ๆ ได้ คนรวยมากรวยน้อยคุยกันได้ เพราะแก๊ปมันน้อยคนก็เข้าถึงกันได้กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความเชื่อมโยงและเด็กๆ ก็กล้าพูดกล้ามาช่วย ไม่ใช่มีแต่ผู้ใหญ่ ไม่ต้องพูดหรอกเอาแบบนี้แหละ ถ้าเป็นแบบนั้นเด็กก็ไม่สนใจเด็กก็ไม่เอา ว่ามีแต่ผู้ใหญ่พูดกันเออเองหมดเลย เราจะไปทำไม ซึ่งเราไม่ใช่ภาพนั้น เราให้โอกาสขอนแก่นเป็นเมืองให้โอกาสใครก็มีโอกาสอายุมากอายุน้อยมีโอกาสสำเร็จ มีโอกาสทำ ก็เลยเกิดภาพนี้ ขอนแก่นก็เลยมีเรื่องของการขอรับฟังความคิดเห็น มีเวทีสาธารณะเยอะมาก
การที่ทำมาบ่อยๆ คนรุ่นหลังคนรุ่นน้องเห็นก็เรียนรู้เป็นแบบอย่างคนข้างนอกเห็นก็เรียนรู้เป็นแบบอย่างว่าต้องทำแบบนั้นแบบนี้
ใช่ครับก็เช่นมีกรณีที่คุณพูดว่าวายอีซีไม่มีโอกาสพูดในหอการค้าเลย ทั้งๆ ที่เขาเป็นเด็ก ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสพูด เวลาประชุมมีแต่ผู้ใหญ่เต็มห้องประชุม แต่เราให้โอกาสให้สิทธิให้เขาลองได้ทำมันก็เลยเกิดภาพที่ผู้ใหญ่เข้าใจก็เลยทำต่อเนื่อง และให้โอกาสรุ่นน้องได้ทำ
กังวาน เหล่าวิโรจนกุล
หัวหน้าโครงการวิจัย ขอนแก่นเมืองแห่งการเรียนรู้
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…