อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมืองท่องเที่ยวตากอากาศระดับโลก เป็นเมืองสำคัญของประเทศที่มีความพร้อมหลายด้านด้วยต้นทุนสังคม ต้นทุนทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้หลากหลายและมีเอกลักษณ์ ผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 และวิกฤติเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว ส่งผลต่อเศรษฐกิจการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของประชาชนให้ต้องปรับตัวเข้าสู่โลกยุคชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งจะต้องพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะการเรียนรู้ อันเป็นทักษะสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพบุคคล
เทศบาลเมืองหัวหิน หน่วยงานท้องถิ่นที่มีพื้นที่รวม 86.36 ตารางกิโลเมตร คำนึงถึงวิสัยทัศน์เมืองว่า “หัวหินเมืองแห่งความสุข” เล็งเห็นว่า การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อประชาชน จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่นที่สร้างการมีส่วนร่วมสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ผ่านการส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม นันทนาการ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สวัสดิการ สังคม ชุมชน คุณภาพชีวิต การบริหารงานและบริการ เพื่อมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน จึงเสริมส่งสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 สร้างโอกาสและความเสมอภาคของคนในสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กระจายศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถของคนในชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการพึ่งพาตนเองโดยการจัดการตนเองและสมาชิกในกลุ่ม ผ่านกลไกขับเคลื่อนสำคัญชุดหนึ่งคือโครงการวิจัย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” ที่อาศัยพื้นที่นำร่องคือชุมชนพูลสุข ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมก่อร่างขึ้นจากชื่อของ ปู่พูล ย่าสุข ตระกูลบุคคลสำคัญที่มีคุณูปการต่อเมืองหัวหินตั้งแต่อดีต มีสถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือนแบบดั้งเดิมผสมผสานสไตล์ยุโรปและร่วมสมัย มีภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีพื้นที่เชื่อมโยงกับชายหาดหัวหินที่สวยงาม เพื่อต่อยอดสู่พื้นที่อันเป็นโอกาสในเชิงสาธารณะ และนวัตกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนเทศบาลเมืองหัวหิน
ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” เข้าไปวิเคราะห์สภาพ ปัญหา อุปสรรค ความต้องการจำเป็นและปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของประชาชนในชุมชนพูลสุข เทศบาลเมืองหัวหิน รวมทั้งสร้างภาคีเครือข่ายคนรุ่นใหม่ร่วมใจพัฒนาเมืองหัวหิน โดยนำผลการวิจัยมาร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตร พื้นที่การเรียนรู้และนวัตกรรมการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการศึกษาท้องถิ่นและความต้องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และศึกษาทุนสังคมและศักยภาพชุมชนพูลสุข อันได้มาซึ่งหลักสูตรการเรียนรู้ ได้แก่ หลักสูตรพัฒนาทักษะใหม่ ประกอบด้วยหลักสูตรท้องถิ่นหัวหินศึกษา หลักสูตรการใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อการสื่อสารสำหรับวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ หลักสูตรอาชีพ ประกอบด้วยหลักสูตรการขายออนไลน์ หลักสูตรสร้างอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น เปลือกหอยหัวหิน พัดใบตาลหัวหิน และเรือประมงพื้นบ้านจำลอง รวมถึงมีกิจกรรมเดินทอดน่อง ท่องหัวหินถิ่นมนต์ขลัง และกิจกรรมปั่นทอดน่อง ท่องหัวหิน เพื่อเข้าถึงพื้นที่การเรียนรู้เมืองหัวหิน ซึ่งผลการดำเนินงานวิจัย สร้างผลกระทบเชิงนโยบายต่อเทศบาลเมืองหัวหิน ที่ได้นำผลการวิจัยที่เกิดขึ้นไปกำหนดเป็นนโยบายและพัฒนาความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ครอบครัวชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองหัวหิน สู่เป้าหมายต่อไปในการเป็นภาคีเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก และนำพาหัวหินบรรลุวิสัยทัศน์ “เมืองแห่งความสุข”
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…