ขายกับข้าวข้างพระธาตุหนองหล่มมานาน 25 ปี ช่วยเหลือชาวบ้านมาตลอดจนได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เป็นประธานชุมชนช้างม่อย

“ป้าขายกับข้าวมาตั้งแต่ปี 2540 ตรงนี้เคยเป็นที่ดินของวัดร้างชื่อวัดหนองหล่ม เจดีย์นี่ชื่อพระธาตุหนองหล่ม ป้าขายอยู่ข้างเจดีย์ ลูกค้าเลยเรียกร้านเราว่าร้านป้าดาตีนธาตุ

หนองหล่มคือชื่อของชุมชนแห่งนี้ ความที่ชุมชนอยู่ใกล้หนองน้ำหลังตึกแถวตรงนี้ (ชี้ไปทางตึกแถวตรงข้ามเจดีย์) เป็นหนองน้ำที่ถมเท่าไหร่ก็ไม่เต็มสักที เลยเรียกกันหนองหล่ม เมื่อก่อนป้าทำลาดหน้า ผัดหมี่ และขนมเส้นจากที่บ้าน เดินข้ามคูเมืองไปเปิดร้านในกาดสมเพชร จนปี 2540 ชุมชนหนองหล่มไฟไหม้ ชาวบ้านต้องขนข้าวของหนีไฟ และเอามาพักไว้รอบๆ เจดีย์ และพวกเขาก็ไปขอหลวงพ่อนอนในวัดชมพู ป้าก็เลยอาสามาเฝ้าของชาวบ้านให้ ประกอบกับที่กาดสมเพชรเปลี่ยนเจ้าของและอยู่ระหว่างการปรับปรุงอาคารไม้เป็นตึกปูนแบบที่เห็นทุกวันนี้พอดี ป้าเลยย้ายมาทำเพิงเล็กๆ ขายกับข้าวข้างเจดีย์นี้แทน ก็ขายมาตั้งแต่นั้น

ตอนย้ายมาใหม่ๆ เราขายกับข้าวสองบาท ส่วนข้าวเหนียวบาทเดียว ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนที่ทำงานในชุมชนนี้ ซึ่งยังไม่มีเกสท์เฮาส์เยอะแบบนี้หรอกนะ ส่วนมากเป็นสถานบันเทิง หรือที่รู้จักในชื่อบ้านสาว มีมากกว่า 20 หลัง ผู้หญิงที่ทำงานส่วนใหญ่มาจากฝางบ้าง ดอกคำใต้บ้าง เชียงรายบ้าง ลูกค้าร้านป้าส่วนมากจึงเป็นคนที่มาเที่ยวสถานบันเทิง และสาวๆ ที่ทำงานตามบ้าน

สมัยเมื่อยี่สิบถึงสามสิบกว่าปีก่อน ชุมชนที่ป้าอยู่นี่เงินสะพัดจากธุรกิจบ้านสาวมากเลยนะ บางบ้านทำอาหารขาย บางบ้านรับซักผ้า ขายของชำ คือบ้านไหนทำอะไรก็ขายได้หมด ขนาดคนเฒ่าว่างๆ อยู่บ้าน เขาเด็ดมะขามเปียกมาทำน้ำดื่มขาย ยังขายหมด หรืออย่างป้าที่แต่ละวันจะตื่นมาทำกับข้าวตอนเที่ยงคืน สักตีสองตีสามมีลูกค้ามารอซื้อกับข้าวถึงครัวไฟ ยังไม่ทันเปิดร้าน บางคืนได้สองสามพันบาทแล้ว

น่าจะสักราวสิบปีที่แล้วที่ธุรกิจนี้ค่อยๆ ซบเซา แทนที่ด้วยโรงแรมหรือเกสท์เฮ้าส์ นั่นทำให้รายได้จากการขายกับข้าวเราหายไปพอสมควร ป้าจึงหันมาทำอาชีพเสริม พอหลังจากขายกับข้าวเสร็จราวแปดโมงครึ่ง ก็มารับเย็บผ้าต่อช่วงสาย ตกบ่ายก็ไปเป็นกุ๊กประจำโรงแรมที่ห้องอาหารเจเจ โรงแรมมนตรี ก่อนที่เขาจะรีโนเวท และกลับบ้านมาเข้านอนสักสองทุ่ม เพื่อตื่นมาเตรียมอาหารขาย วนไปอย่างนี้ทุกวัน

แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำแล้ว กลับมาขายกับข้าวอย่างเดียว เพราะต้องมาทำหน้าที่ประธานชุมชนช้างม่อยอีกตำแหน่ง อาจจะเพราะชาวบ้านเห็นว่าเราอยู่ที่นี่นาน เคยเป็นหูเป็นตาเฝ้าสมบัติให้พวกเขา ป้าเลยได้รับเลือก เป็นมาตั้งแต่ปี 2559

พูดตามตรงว่าเหนื่อยนะ เราไม่มีรายได้อะไรจากตำแหน่งนี้ แถมถ้ามีคนจากเทศบาลมาทำถนน พ่นยุง หรือตัดกิ่งไม้ เราก็จะต้องควักเงินเลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำเขาเป็นสินน้ำใจอีก แต่แม้จะเป็นงานที่เข้าเนื้อ พอเห็นว่าการที่เราเป็นตัวแทนชาวบ้านเรียกร้องขอปูพื้นถนน แก้ปัญหาต่างๆ ในชุมชน หรือจากที่เคยน้ำท่วม เราเรียกให้เทศบาลมาขุดลอกท่อให้ จนน้ำไม่ท่วมแล้ว ก็รู้สึกภูมิใจ ผลกำไรจึงออกมาในรูปแบบนี้

ป้าเป็นประธานมา 5 ปีแล้ว ปีนี้อายุหกสิบกว่า ก็บอกชาวบ้านว่าพอแล้ว ให้คนรุ่นใหม่ๆ มาทำบ้าง ที่ผ่านมาเราทำเต็มที่กับชุมชน เป็นปากเสียงให้ชาวบ้าน เป็นตัวกลางเจรจากับผู้ประกอบการที่เข้ามาอยู่ใหม่ รวมถึงเรียกร้องให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกนั่นนี่เพิ่มขึ้นมา จากนี้ป้าขอกลับไปขายกับข้าวอย่างเดียวแล้ว

อะไรคือความสุขในการขายกับข้าวของป้าหรือ? อาจเพราะมีลูกค้าขาประจำวนกลับมาฝากท้องกับเราอีกเรื่อยๆ มั้ง หรือบางคนเป็นลูกค้ามาตั้งแต่เราขายแกงถุงละสองบาท ทุกวันนี้เราขายถุงละยี่สิบ ก็ยังมาอยู่ รวมถึงลูกหลานพวกเขาที่ยังตามมากิน คิดว่านี่เป็นความสำเร็จนะ (ยิ้ม)”

///

พิมลดา อินทวงค์

ประธานชุมชนช้างม่อย

#WeCitizensTh  #LearningCity  #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago