ข้าวหอมมะลิอินทรีย์พันธุ์ 105 เป็นสายพันธุ์ที่ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าถ้ามาจากดินในอำเภอดอกคำใต้จะหอมและอร่อยที่สุด

“ในฐานะที่พี่เคยเป็นพยาบาล ก็คิดว่าหนึ่งในผลสำเร็จของอาชีพเราก็คือการได้เห็นผู้คนมีสุขภาพที่ดี แล้วสุขภาพที่ดีเริ่มจากอะไร ก็เริ่มจากอาหารการกินที่มีประโยชน์และไม่ทำให้เราป่วย ความคิดเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่พี่จะเออร์ลี่รีไทร์

แฟนพี่เป็นคนพะเยา เขาเป็นวิศวกรในบริษัทรถยนต์ ก่อนที่จะเกษียณออกมา เราใช้เงินเก็บส่วนหนึ่งซื้อที่ดินที่อำเภอดอกคำใต้ไว้ เราทั้งคู่ก็กลับมาดอกคำใต้ เริ่มสิ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ปี 2559

เราตั้งชื่อสวนว่า ‘ผ่อโต้ง’ ซึ่งเป็นคำเมือง แปลว่าดูสวน คิดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราอยากทำการเกษตรที่พิถีพิถันตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ การหมั่นไปดูสวนของเราเองนี่แหละคือหัวใจหลัก เราเริ่มจากปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์พันธุ์ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าถ้ามาจากดินในอำเภอดอกคำใต้นี่จะหอมและอร่อยที่สุด

นอกจากข้าว เราก็มีมะพร้าวน้ำหอม มะม่วงเบา มะม่วงโชคอนันต์ ฝรั่ง มะยงชิด มัลเบอร์รี่ แต่พวกนี้ส่วนใหญ่ปลูกแล้วแจกเพื่อนๆ เราขายข้าวเป็นหลัก

เราขายไม่แพงเลยค่ะ เพราะอยากทำให้ทุกคนเข้าถึงผลผลิตอินทรีย์ได้ พี่อยู่กรุงเทพฯ มาก่อน ประจักษ์ในเรื่องนี้ดี พืชผักออร์แกนิกที่นั่นมีราคาที่ค่อนข้างสูง คนหาเช้ากินค่ำเขาจึงไม่คิดจะซื้อ จึงคิดว่าไหนๆ เราก็ทำกันเองแล้ว ต้นทุนเรื่องแรงงานก็ลดไป ปุ๋ยหมักก็ทำกันเอง

อีกอย่างคือเราไม่ได้มองว่านี่เป็นธุรกิจ เราทำให้เราพออยู่ได้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้กินข้าวที่ดีและปลอดภัย ขณะเดียวกันก็อยากส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำเหมือนเราด้วย เพราะได้ประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง เราไม่มีหน้าร้าน ออนไลน์ก็ไม่ขาย (หัวเราะ) คือใช้ลูกๆ หลานๆ รับไปขายให้ หรือบางทีมีผู้ประกอบการมาซื้อไปแปะแบรนด์ของเขาเองขาย เราก็ยินดี

สวนผ่อโต้งเป็นหนึ่งในพื้นที่เรียนรู้ของโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ในเฟสที่สามนี้ด้วยค่ะ ก่อนหน้านี้ทางโครงการก็มาช่วยเราในการพัฒนาแบรนด์ มาออกแบบโลโก้ให้ดูดีเลย รวมถึงหาช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มเติม พอโครงการขึ้นเฟสใหม่ ความที่เราอยากสนับสนุนให้เกิดการทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว จึงยินดีเปิดพื้นที่ให้คนที่สนใจมาเรียนรู้อย่างเต็มที่

เราออกแบบกิจกรรมไว้ว่าจะให้ผู้เรียนมาผ่อโต้งกับเราตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเลยค่ะ มาดูว่าถ้าจะเริ่มทำอินทรีย์ต้องทำอะไรบ้าง เรียนรู้วิธีทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์จากหน่อกล้วยและเศษใบไม้ การปลูกข้าว เก็บเกี่ยว และแปรรูป ไปจนถึงการตั้งราคาขาย คือมาเรียนกับเรา ก็กลับบ้านไปทำกับที่ของคุณหรือไปประยุกต์ใช้ หรือสอนคนอื่นได้เลย

พี่ไม่ได้มองภาพฝันไกลๆ ไว้เลยนะ เพราะสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มันตอบโจทย์กับชีวิตและความต้องการของเราสองคนอยู่แล้ว ถ้ารากฐานตรงนี้ดี สังคมเราก็จะดี สิ่งแวดล้อมก็ดี แล้วทุกอย่างก็จะขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีของมันเอง”

ยุพิน ด่านพิทักษ์ และอาคม ด่านพิทักษ์  

เกษตรกรอินทรีย์ เจ้าของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ ‘ผ่อโต้ง

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 minute ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

6 days ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

1 week ago