“คนไทยวนอยู่ที่บ้านคูบัวมาสองร้อยกว่าปี การทอผ้าก็น่าจะมีอายุมากกว่านั้น แม่ดีใจนะที่เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานและส่งต่อมรดกนี้ให้ลูกสาว”

“แม่เรียนทอผ้ามาจากแม่ (คุณยายซ้อน กำลังหาญ) และพี่สาว (ทองอยู่ กำลังหาญ) แม่ของแม่มีลูก 5 คน ลูกชาย 2 ลูกสาว 3 โดยลูกสาว 3 คนของบ้านจะทอผ้าเป็นทุกคน เพราะเกิดมาก็เห็นแม่ทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้านแล้ว ลูกๆ หลานๆ ที่เป็นผู้หญิงครอบครัวนี้ จะถูกจับมาฝึกทอผ้ากันทุกคน

ชุมชนคูบัวที่แม่อยู่เป็นคนไทยวน เราจึงพูดคำเมือง สำเนียงคล้ายๆ คนเชียงใหม่ แต่คนที่นี่จะไม่มีคำว่า ‘เจ้า’ ต่อท้าย ผู้หญิงชุมชนนี้เกือบทั้งหมดทอผ้าเป็น ตอนแม่โตขึ้นมาหน่อย ยายซ้อนก็ตั้งกลุ่มทอผ้าตีนจก ในช่วงหลังๆ บ้านเราเป็นบ้านไม่กี่หลังในชุมชนนี้ที่ทอผ้าซิ่นตีนจกได้ บ้านอื่นๆ ส่วนใหญ่เขาจะทอผ้าทั่วไป เพราะทำง่ายและขายได้ถูกกว่า แต่ยายซ้อนจะเน้นผ้าตีนจกเป็นหลัก

ตอนแรกแม่ไม่ได้มาช่วยทอที่บ้าน ก็ไปทำงานโรงงานทอผ้า และเป็นช่างเสริมสวย จนแต่งงานก็หันมาทำนาเป็นหลัก สลับกับการทอผ้าที่บ้าน

ยายทองอยู่ พี่สาวแม่จะเป็นคนรับช่วงต่อจากยายซ้อน ยายทองอยู่ปีนี้อายุ 92 ปี อายุมากกว่าแม่ 10 ปี เป็นคนที่สอนแม่ทอผ้า และเราก็ทอมาด้วยกันที่ใต้ถุนบ้านหลังนี้ตั้งแต่ยังสาว ยายทองอยู่เพิ่งเสียชีวิตไปสองสามวันนี้เอง ยังเสียใจไม่หาย เห็นกันอยู่ทุกวัน ตอนนี้รุ่นแม่ก็เหลือแม่คนเดียวแล้ว   

เส้นด้ายที่แม่ใช้ทอผ้าทำจากฝ้ายที่เราปลูกเอง และเราก็เอาฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย และนำไปย้อม แม่จำได้ว่าสมัยยายซ้อนยังอยู่ เวลานั่งปั่นด้าย แกจะชอบเล่าเรื่องในอดีต สมัยก่อนแกจะคำนวนจำนวนผ้าที่ทอ และก็ปลูกต้นฝ้ายให้ครอบคลุมจำนวนด้ายที่ต้องการ โดยปลูกไว้รอบบ้าน และบางส่วนปลูกตรงที่นาหลังการดำนาเสร็จ และก็ย้อมด้ายด้วยสีธรรมชาติที่หาได้แถวนี้ 

การทอผ้าลายจกนี่ซับซ้อนมากนะ เส้นยืนเป็นฝ้าย จกด้วยไหม และหุ้มด้วยฝ้าย ทำเป็นลวดลาย แม้แม่จะเรียนทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก แต่เพิ่งมาเริ่มเรียนทอผ้าลายจกตอนโตแล้ว มาเรียนได้สัปดาห์เดียวกับแม่และยายทองอยู่ เราก็ท้อ ทำไมยากจัง แต่พอเห็นคนอื่นๆ ทอได้ เราก็บอกกับตัวเองว่าต้องทอให้ได้ ก็เริ่มตั้งใจจนเป็นเอง

ทุกวันนี้แม่อายุมากแล้ว ผ้าหนึ่งผืนจึงทอได้ช้า บางผืนอาจใช้เวลาสองเดือน เพราะแม่ทอใต้ถุนบ้าน วันไหนฝนตกหนัก ฝนสาดเข้ามาก็ทอไม่ได้ หรือตกค่ำ แสงสว่างไม่พอ ยุงก็เยอะ เราเลยทอตอนกลางคืนไม่ได้ ก็จะทอเฉพาะช่วงเช้ากับกลางวัน ทอเรื่อยๆ เพราะมีคนสั่งตลอด บางผืนที่ไม่มีออเดอร์ แม่ทอเก็บไว้ สักพักก็จะมีคนขับรถมาหาซื้ออยู่ตลอด

ก็เหมือนบ้านอื่นๆ ที่เรียนทอผ้าต่อๆ กันมาจากผู้ใหญ่ ยายซ้อนเรียนทอผ้ามาจากคุณยายของแม่ และยายซ้อนก็ส่งต่อให้ยายทองอยู่และแม่ แม่ไม่รู้หรอกว่าไทยวนที่บ้านคูบัวแตกต่างจากบ้านอื่นๆ อย่างไร แต่ถ้าตามที่นักวิชาการเขาบอกมาว่าคนไทยวนที่นี่อยู่กันมาสองร้อยกว่าปี การทอผ้าที่หมู่บ้านเราก็น่าจะมีอายุมากกว่านั้น แม่ก็ภูมิใจนะที่ได้มีส่วนในการสืบสาน และส่งต่อมรดกนี้ให้ลูกสาว ทุกวันนี้ลูกสาวแม่มีครอบครัวอยู่กรุงเทพฯ แต่เขาก็เอาทักษะการทอผ้าไปพัฒนาต่อเป็นการทออีกรูปแบบหนึ่ง ทอขายได้ราคาดีเลย”   

พิมพ์ ชมพูเทศ
กลุ่มทอผ้าจกคุณยายซ้อน กำลังหาญ บ้านคูบัว อำเภอเมือง ราชบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago