“ความลับของลูกชิ้นปลากรายหรือคะ ความจริงแล้วเราไม่ใช้แค่เนื้อปลากรายอย่างเดียว”

“ชื่อนายตี๋ ลูกชิ้นปลากราย มาจากชื่อเตี่ยค่ะ เตี่ยชื่อเล่นชื่อตี๋ ชื่อจริงชื่อคมสันต์ สุวิทยารักษ์ เปิดร้านนี้มาเกือบ 30 ปีแล้ว แรกเริ่มเลย ต้องย้อนไปสมัยอากง อากงเป็นคนจีนมาตั้งรกรากที่นครสวรรค์ และทำก๋วยเตี๋ยวเป็ดขายเป็นหลัก พร้อมกับขายลูกชิ้นปลากรายเสริมด้วย หลังอากงเสียชีวิต เตี่ยก็มารับช่วงต่อ โดยขายลูกชิ้นปลากรายอย่างเดียว เพราะสมัยนั้นลูกชิ้นปลากรายเริ่มเป็นของฝากของจังหวัดนครสวรรค์แล้ว โดยทำส่งร้านค้าในตลาดก่อน พวกแผงปลา หรือร้านก๋วยเตี๋ยวอื่นๆ

ความที่ลูกชิ้นเราไม่ใส่สารกันบูด เวลาฝากร้านเขาขาย แล้วร้านขายไม่หมด เขาก็จะตีสินค้าคืนมา เราก็ขาดทุน เตี่ยก็เลยคิดว่างั้นทำรถเข็นขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาของเราเองดีกว่า เพราะแต่ไหนแต่ไร เวลามีงานบุญอะไร เราก็ทำก๋วยเตี๋ยวอยู่แล้ว น้ำซุปเราก็มีสูตรของเรา เตี่ยก็เลยเปิดร้านก๋วยเตี๋ยวเมื่อราว 30 ปีที่แล้ว ขายชามละ 10 บาท ขายอยู่ในห้องไม้ฝั่งตรงข้ามนี้ร่วมกับร้านหมูสะเต๊ะของน้องชายเตี่ย ก่อนย้ายมาขายในรถเข็นของตัวเอง จนเก็บเงินซื้อตึกตรงนี้ได้ และขยายสาขาเพิ่มอีก 2 สาขาในปัจจุบัน เราเป็นรุ่นที่ 2 ค่ะ มาช่วยตอนที่ก๋วยเตี๋ยวนายตี๋ติดตลาดแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ช่วยที่บ้านตั้งแต่ตอนทำลูกชิ้นส่งขายเลย พอมาถึงรุ่นเรา เราก็หาเมนูอื่นๆ มาเสริม มีอาหารจานเดียว ของกินเล่น ของหวานให้ครบวงจร เพราะลูกค้าบางคนอาจไม่ได้อยากกินก๋วยเตี๋ยว แต่ตามเพื่อนมา เขาจะได้มีทางเลือก โดยสาขาหลักสาขานี้มีเรากับน้องชายบริหาร แต่เตี่ยก็ยังมาคุมอยู่หน้าร้าน ส่วนอีกสองสาขา (หน้าวัดยางโทน ทางไปอำเภอโกรกพระ และสาขาเส้นเลี่ยงเมือง ตรงข้ามบุญทวีวัสดุ) จะมีน้องสาว และน้องชายดูแล เป็นธุรกิจครอบครัวอย่างแท้จริง (ยิ้ม)

ความลับของลูกชิ้นปลากรายหรือคะ ความจริงแล้วเราไม่ใช้แค่เนื้อปลากรายอย่างเดียว แต่เราจะผสมเนื้อปลากรายกับเนื้อปลาฉลาดด้วย รสสัมผัสจะออกมาพอดี เมื่อก่อนเราหาปลาเอง ไปซื้อจากพิจิตร รังสิต และเรานี่แหละรับจ้างแม่ขูดเกล็ดปลาได้ค่าแรงตัวละ 3 บาท แต่เดี๋ยวนี้ พอลูกชิ้นปลากรายได้รับความนิยม ก็มีแม่ค้ามาเสนอขายให้เลย เราก็จะเช็คเนื้อปลาก่อนแปรรูปทุกครั้ง ทุกวันนี้แม่ก็ยังเป็นคนคุมสูตรไม่ให้เพี้ยน

ความที่พอมีสื่อหรือโซเชียลมีเดียมาทำคอนเทนต์ร้านเราบ่อยๆ มาก ตี๋ลูกชิ้นปลากรายเลยได้รับความสนใจเป็นหนึ่งในจุดเช็คอิน หรือเป็นหน้าเป็นตาของเมืองนครสวรรค์ไปกลายๆ เราตระหนักเรื่องนี้ดี จึงต้องพยายามรักษามาตรฐานของรสชาติและการบริการให้ดีอยู่ตลอด เราก็หวังให้ร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนี้เป็นร้านคู่เมืองต่อไปอีกหลายๆ รุ่น”

รุ่งรัตน์ สุวิทยารักษ์ และนายตี๋ คมสันต์ สุวิทยารักษ์
เจ้าของร้านตี๋ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลากราย นครสวรรค์

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago