“พี่ทำงานกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ บทบาทคือการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้านในเขตเทศบาล เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกับทางเทศบาล พี่เลยได้รับมอบหมายให้ช่วยประสานงานในโครงการย่อยที่ 1 เรื่องข้อมูลพื้นฐานของชุมชนในเขตเทศบาล ว่าแต่ละชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร จุดเด่น จุดด้อย รวมถึงของดีของชุมชนที่สามารถนำมาต่อยอดเป็นพื้นที่การเรียนรู้
และก็เพราะพี่ทำงานตรงนี้ จึงพบว่าหลายชุมชนต่างมีผลิตภัณฑ์ วิถีชีวิต ไปจนถึงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน ที่ไม่เพียงจะต่อยอดด้วยการนำหลักสูตรการเรียนรู้ไปพัฒนาพื้นที่ แต่ยังสามารถนำผลผลิตนั้นๆ มาจำหน่ายได้ นั่นจึงเป็นที่มาของตลาดสร้างสุข ถนนคนเดินในรูปแบบตลาดวัฒนธรรม ซึ่งจัดขึ้นบริเวณรอบหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี
กลายเป็นว่าตอนนี้เมืองเรามีพื้นที่การเรียนรู้ที่สามารถแบ่งออกได้ถึง 3 ประเภท นั่นคือในศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม เช่น หอศิลป์ พื้นที่ประวัติศาสตร์ในย่านกลางเมือง และ กศน. สอง คือตามชุมชนต่างๆ ที่ทางอาจารย์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาเพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ และสาม ตลาดสร้างสุข ที่เป็นแหล่งขายสินค้า พร้อมพื้นที่เรียนรู้สำหรับคนทุกเพศทุกวัย ผ่านกิจกรรมที่จัดในตลาด
ล่าสุด ภายหลังเทศบาลฟื้นฟูสวนสาธารณะริมน้ำปาว บริเวณศาลเจ้าพ่อโสมพะมิตร ก็มีการทดลองเปิดถนนคนเดินวัฒนธรรมอีกแห่งเลียบลำน้ำ โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้อันหลากหลายไปเติมด้วย ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากๆ
สำหรับพี่ พี่มองกาฬสินธุ์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงนะ ทั้งนี้ คำว่าเศรษฐกิจพอเพียง มันไม่ใช่แค่การให้ทุกคนมาประหยัดเงิน หรือปลูกพืชสวนครัวกินเองที่บ้าน แต่หมายถึงการเรียนรู้เพื่อให้ทุกคนสามารถยืนได้ด้วยขาของตัวเอง พึ่งพาปัจจัยภายนอกให้น้อยที่สุด
จริงอยู่ กาฬสินธุ์เป็นเมืองเล็กๆ ที่ GDP อาจจะอยู่ระดับท้ายๆ ของประเทศ แต่ถ้าพิจารณาจากวิถีชีวิตคนที่นี่ เขาก็สามารถจัดการกับชีวิตตัวเองได้ไม่ลำบากอะไร ผู้คนส่วนมากมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบบสังคมคนพุทธ อย่างบางบ้านทำกับข้าวก็แบ่งให้เพื่อนบ้าน บ้านไหนปลูกอะไร ก็เอาผลิตผลมาแจกคนอื่น ยิ่งช่วงไหนมีงานบุญนี่ เราจะเห็นบรรยากาศอันชื่นมื่นแบบนี้ทั่วไปหมด
เมืองเราอาจไม่ได้มีมูลค่ามากมาย หรือผู้คนไม่ได้มีกำลังซื้อมหาศาล แต่เราก็มีน้ำใจที่ถือเป็นคุณค่าสำคัญ และถ้านับรวมต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมไปด้วยแล้ว ก็ถือว่าเป็นมูลค่าสำคัญต่อการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ด้วย
และอีกเรื่องที่ไม่รู้เกี่ยวหรือเปล่านะ แต่พี่เคยทำงานในจังหวัดอื่นๆ ที่ใหญ่กว่านี้มาก่อน พอย้ายมาอยู่นี่ ตอนแรกก็ยังไม่ชินหรอกที่เมืองมันค่อนข้างเงียบ แต่ความเงียบของมันก็ทำให้เวลาพี่เดินทางไปไหน ก็สะดวก หาที่จอดรถง่าย อย่างเคยไปทำงานในเมืองร้อยเอ็ดมา หาที่จอดรถในตัวเมืองยากมาก แค่เหตุการณ์เล็กๆ แค่นี้ ก็ทำให้เราหงุดหงิดได้ ซึ่งสิ่งนี้ไม่เกิดกับกาฬสินธุ์
ไม่ใช่เพราะเมืองหาที่จอดรถง่ายหรอกนะ แต่พอวิถีของเมืองมันราบรื่น จนทำให้คนอยู่มีสุขภาพจิตดีไปด้วย”
วิภารัตน์ กำจร
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…