“คลองสานมีศักยภาพทั้งมิติเชิงประวัติศาสตร์ มิติเชิงวัฒนธรรม มิติของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย บริบทตัวพื้นที่คลองสานเองที่อยู่ริมน้ำ ชุมชนเก่าผสมกับวิถีชีวิตใหม่ๆ มีความเป็นย่านท่องเที่ยวด้วย ประกอบกับมีพื้นที่เอกชนแปลงหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติลดหย่อนภาษีให้เอกชนให้ที่ดินกับรัฐเพื่อสาธารณประโยชน์ ก็เลยพัฒนาพื้นที่คลองสานเป็นต้นแบบ และเป็นย่านที่หลายๆ กลุ่มให้ความสนใจเข้าไปอยู่แล้ว ถ้าสามารถกระตุ้นให้ไปในทิศทางที่ไม่ได้ไปในทางท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาเพื่อชุมชนด้วย ก็จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้
ทำยังไงให้การพัฒนาพื้นที่สาธารณะตรงนี้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจริงๆ เราหาสามเครือข่าย กลุ่มรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม มาคุยกัน ให้คนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมออกแบบโปรแกรมที่ทำให้มีการใช้งานที่ตอบสนองกับคนในพื้นที่จริงๆ ทางศูนย์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบเอง เราเป็นสถาบันการศึกษา ก็ให้กลุ่มนักศึกษาเข้าไปเรียนรู้ว่าคนในพื้นที่มีปัญหาอะไร แล้วจะตอบสนองด้วยการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นที่ยังไง ก็มีทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กๆ กลุ่มที่ปัญหาเกิดจากการท่องเที่ยวทำให้มีปัญหาการจัดการขยะที่ค่อนข้างเยอะ ก็นำมาสู่การเริ่มตัวต้นแบบในพื้นที่ คือถ้าการจัดการขยะเราจะตอบสนองยังไง ถ้าเป็นเรื่องเด็ก จะมีกิจกรรมแบบไหน เพราะกลุ่มเด็กในพื้นที่คลองสานเองก็มีหลายช่วงอายุตั้งแต่เด็กๆ ถึงวัยรุ่น มีกลุ่มที่เป็นบ้านเดี่ยวกับกลุ่มที่เป็นบ้านแบบชุมชน เพราะฉะนั้นคาแรกเตอร์ต่างกัน ก็ต้องเข้าไปศึกษาพฤติกรรม และกิจกรรมที่เขาจะทำร่วมกัน แล้วก็ได้โปรแกรมที่เด็กๆ ร่วมกันออกแบบสวนเด็กเล่นของเขาเอง ซึ่งจะมีสามยูสเซอร์ เด็กผู้ชาย เด็กผู้หญิง เด็กเล็กๆ ที่ต้องการพื้นที่กิจกรรมไม่เหมือนกัน แต่อะไรที่คำว่าตรงกลาง กิจกรรมอะไรที่เด็กอายุเยอะหน่อยมาดูแลน้องๆ เล่นได้ ตอนนั้นเด็กๆ เขาขอเอง ดีไซน์เขาวงกต ที่เขารู้สึกว่ายากดี เขาสามารถเปลี่ยนรูปได้ คือเราก็ทำเขาวงกตที่ถอดประกอบได้ ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงมาวันนี้อยากจะทำเป็นปราสาทเขาวงกต วันไหนเด็กผู้ชายมาก็อาจจะมองอีกรูปแบบนึง แต่ทุกๆ กระบวนการไม่สามารถตอบว่าเพอร์เฟกต์ซะทีเดียว เหมือนเป็นจุดเริ่มต้นที่เรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในวันที่เขาใช้งานมันเป็นยังไง แล้วก็ต้องมุ่งเป้าว่าจะปรับหรือเปลี่ยนการใช้ให้ดีขึ้นด้วยประเด็นอะไร
ปัญหาขยะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน เพราะชุมชนเดือดร้อน ได้รับผลกระทบจากกลิ่น มลภาวะ ที่คลองสานจะมีตลาดท่าดินแดงที่มีขยะเปียกและขยะที่เกิดจากการท่องเที่ยว ขวดน้ำเยอะมาก ตอนนั้นเราก็มองแค่ว่าการเปลี่ยนขยะเหล่านี้ให้เกิดมูลค่า เริ่มต้นเลยคือต้องสอนให้เขารู้จักแยกขยะก่อน เพื่อให้รู้ว่าถูกส่งต่อไปทำอะไรได้บ้าง เราร่วมกับบริษัท Qualy ที่ทำขยะแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขายต่างประเทศได้แล้ว ให้มาร่วมสอนกับชุมชนว่ารวบรวมขยะมาทำให้เกิด Upcycling อะไรได้บ้าง กับอีกทีมคือ Zero Waste มาให้ความรู้กับชุมชนในคลองสานว่า หลังจากที่เรียนเรื่องการคัดแยกขยะเมื่อสองปีที่แล้ว วันนี้เดินกลับมา เราไม่ได้พูดแค่การแยกขยะ แต่เรากำลังสอนให้เขารู้ว่าขยะที่เขาแยกออกมาตรงนี้สามารถแปรรูปอะไรได้ ก็ทำกิจกรรม เอาเครื่องมาหล่อจากขวดพลาสติกให้เป็นแจกัน ให้ชุมชนเห็นว่ามันสามารถตีมูลค่าได้ จากนั้นก็พัฒนาต่อ คือทำสถานีจัดการขยะ เป็นสเตชันที่เกิดจากการนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนา เราต้องรู้ก่อนว่าในชุมชนนั้นมีวัสดุเหลือใช้อะไรบ้าง เด็กๆ สามารถเข้าไปทำกิจกรรม มีสเตชันย่อยส่วนแยกขยะ ส่วนเปลี่ยนขยะให้เป็นโพรดักต์ มีจุดโชว์เคสว่าขยะเหล่านี้แปลงเป็นอะไรได้บ้าง ส่งไปขายได้ ก็มีตั้งแต่ถุงพลาสติกมาเป็นกระเป๋า ขวดน้ำมาเป็นกระถางต้นไม้ เสื้อผ้าเหลือใช้มาถักให้เป็นถุงผ้า
ก็มีกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้ชาย กลุ่มแม่บ้านในชุมชนที่ค่อนข้างสนใจ เข้ามาดู บางคนก็เข้ามาร่วมมือกับเรา บางคนก็ขอดูก่อนว่าทำยังไง ซึ่งโพรดักต์เหล่านี้ไม่ได้จบแค่ 1-2-3 อย่าง เราอยากให้ชุมชนเองเข้ามาร่วมคิด แล้วขายด้วยราคาเท่าไหร่ พี่ๆ แม่บ้านจะคิดอะไรได้เยอะมาก เพราะเขาใช้ของรอบตัว บางทีเขาเห็นกระถางต้นไม้ โคมไฟในบ้าน สมมติเขามองนาฬิกา ถุงพลาสติกสามารถมาทำเป็นกรอบได้ พลาสติกกันกระแทกจะแปรรูปได้มั้ย ก็จะเป็นกระบวนการร่วมกันคิด ว่าโพรดักต์ถัดๆ ไปของชุมชนจะเป็นอะไร แต่ทุกกระบวนการก็ต้องใช้เวลา ปัญหาอุปสรรคก็ต้องมี ชุมชนเองก็มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ระยะเวลาที่เขาจะทำ อย่างเขามีอาชีพกันอยู่แล้ว ทำยังไงให้เห็นว่าสิ่งนี้ก็เป็นอีกสิ่งที่เขาสละเวลาออกมาทำแล้วมีผลลัพธ์ที่ดี ก็เป็นความท้าทายที่ต้องคิดต่อว่า หลังจากที่ออกแบบกันมาแล้ว การผลิตต้องมีงบ ตอนนี้พยายามหาช่องทางความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ อาจจะไม่ใช่สนับสนุนงบประมาณ แต่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางการตลาด ทำมาร์เก็ตติ้งยังไงที่ทำให้ของเหล่านี้ออกไปแล้วไปหาผู้ซื้อที่อยากได้ แล้วเงินกลับมาที่ชุมชน
เป้าประสงค์คืออยากให้เขาเห็นภาพว่า ขยะไม่ใช่แค่ของเหลือใช้ ไม่ใช่แค่สิ่งที่เราเอาไปทำปุ๋ย แต่สามารถสร้างเงินให้ด้วย มันจะสนับสนุนย้อนกลับไปสู่กระบวนการที่เขาอยากแยกขยะกับเรา ก็ต้องใช้เวลาและเข้าไปเรียนรู้กับชุมชนต่อเนื่อง การทำงานชุมชนไม่ได้ทำได้เดือนสองเดือน ต้องใช้เวลา ต้องไปสม่ำเสมอ ไปรับรู้ปัญหา ไปเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นในพื้นที่ก่อนที่จะกลับมาศึกษาประเด็น ความท้าทายสำคัญคือทำยังไงให้ชุมชนเองเป็นคนที่เข้ามาอยู่ในระบบการจัดการทั้งหมดในพื้นที่ ตั้งแต่การสร้างพื้นที่สาธารณะให้กับตัวเขาเอง มาร่วมดูแลบริหารจัดการ แล้วก็ตั้งระบบขึ้นมา และเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ให้ชุมชนอื่นเอาไปใช้ได้ ก็น่าจะเป็นผลทำให้ยั่งยืนมากขึ้น เร็วขึ้น และเราอาจจะเล็งเป้ากลุ่มวัยรุ่นในชุมชน สร้าง awareness ให้เขาเห็นความสำคัญ เขาถึงจะเข้ามาอยู่ในเครือข่าย ทุกคนจะตั้งคำถามว่า ทำแล้วได้อะไร การตอบคำถามเราไม่อยากบอกแค่ว่า ทำแล้วได้แค่เงิน คำว่า value ไม่ใช่แค่ตัวเงินนะ แต่หมายถึงว่ามันกำลังสร้างหรือเปลี่ยนมุมมองของชุมชนใหม่ คำว่า Learning City ทำให้คนเกิดจุดประกาย รู้สึกว่าต้องให้ความสำคัญกับการมองเมืองมากขึ้น และพร้อมจะมาร่วมมือ เพราะเห็นปัญหาร่วมกัน”
กรรณิกา สงวนสินธุกุล
ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการออกแบบ (IDDC)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…