“พื้นที่เทศบาลเมืองแก่งคอยจะมีขนาดเล็ก 4.05 ตารางกิโลเมตร โดย 15-20% ของพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ของการรถไฟ มีบ้านพักอาศัยราว 60% ที่เหลือคือพื้นที่ราชการและอื่นๆ จากตัวเลขนี้พอจะเห็นภาพว่าเทศบาลเราเล็กขนาดไหน เล็กในแบบที่ในย่านใจกลางเมือง เราสามารถเดินเท้าหากันได้ทั่ว
แต่ถึงเป็นแบบนั้น ที่ผ่านมา แก่งคอยเรากลับไม่มีพื้นที่กลางที่คนในพื้นที่จะมาพบปะหรือทำกิจกรรมร่วมกันสักเท่าไหร่ หรือที่มีอยู่แล้ว เช่น สวนสาธารณะก็ยังคงถูกใช้ในมุมของสถานที่พักผ่อนหรือออกกำลังกายของคนในเมืองมากกว่า และมันค่อนข้างขาดการเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ในเมือง
ผมมองว่าการไม่มีพื้นที่กลางเหมือนที่เมืองอื่นๆ อาจจะมีในรูปแบบของศาลาประชาคม ลานคนเมือง หรือจัตุรัสกลางเมือง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การรวมกันของภาครัฐและประชาชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองไม่ได้เดินหน้าเท่าที่ควร รวมถึงการที่ประชากรกว่าครึ่งของแก่งคอยเป็นประชากรแฝง คือเป็นคนจากที่อื่นซึ่งมาอยู่ในแก่งคอยเพื่อทำงานตามโรงงานต่างๆ เมืองจึงมีรูปแบบของการต่างคนต่างอยู่ หลายคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชุมชนที่เขาอยู่ชื่อชุมชนอะไร ซึ่งก็โทษเขาไม่ได้ เพราะเขามาที่นี่เพื่อทำงานเป็นหลัก
ผมไม่ได้หมายความว่าที่ผ่านมาแก่งคอยไม่มีความเคลื่อนไหวของการภาครัฐและประชาชนในการขับเคลื่อนเมืองนะครับ เพราะหลายปีหลังมานี้ ก็ยังมีกลุ่มต่างๆ ที่เขาทำงานของเขา ทั้งด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว หรือการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
แต่นั่นล่ะ เมื่อเราขาดพื้นที่กลาง รวมถึงขาดบุคลากรที่ช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมในพื้นที่ มันก็ขาดการเชื่อมร้อยการทำงาน และเป็นไปในรูปแบบของต่างคนต่างทำในกรอบความสนใจของตัวเองไป ทั้งที่จริงๆ ถ้าทุกกลุ่มมารวมกัน และมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาให้เห็นภาพตรงกัน แก่งคอยมีขนาดเล็กแค่นี้ พวกเราทำได้อยู่แล้ว
จริงอยู่ที่การทำงานหลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว แต่พอการทำงานหลายหัวโดยไม่ได้มีทิศทางรวมที่ชัดเจน การจะเห็นความเปลี่ยนแปลงมันก็ยาก
ขณะเดียวกัน ในฐานะที่ผมทำงานเทศบาลเมืองแก่งคอย ก็ต้องยอมรับว่าเทศบาลเรากำลังเผชิญภาวะชักหน้าไม่ถึงหลัง เนื่องจากงบประมาณที่เราได้รับการจัดสรรค่อนข้างจำกัด มันเพียงพอแค่การจ้างบุคลากรและขับเคลื่อนโครงการที่มีอยู่แล้วในเมือง แต่ไม่สามารถนำไปลงทุนกับโปรเจกต์ใหญ่ๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงเมืองได้
ผมจึงเห็นด้วยกับที่ทาง บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด หอการค้าแก่งคอย และนายกเทศมนตรี (สมชาย วรกิจเจริญผล) ที่ต่างเห็นตรงกันว่าเราควรทำแผนแม่บทที่ครอบคลุมทั้งอำเภอได้แล้ว เพื่ออย่างน้อยจะได้มีทิศทางของการพัฒนาร่วมกันเทศบาลแต่ละแห่งร่วมกับภาคประชาชนก่อน พร้อมกันนั้น เทศบาลเมืองแก่งคอยก็พยายามจะดึงงบประมาณหรือดึงการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ มาสร้างพื้นที่สาธารณะเพิ่มเติม พื้นที่ที่เราหวังจะเป็นพื้นที่กลางให้เราพูดคุย
นอกจากนี้ ผมยังเสนอว่าระหว่างที่ยังไม่มีพื้นที่กลางที่เป็นรูปธรรม เราควรเปิดพื้นที่ออนไลน์ ให้ชาวแก่งคอยมาร่วมสะท้อนปัญหาและหาทางออกร่วมกัน เพื่อสะท้อนให้หน่วยงานรัฐส่วนท้องถิ่นรับฟัง เพื่อหาวิธีการประสานความร่วมมือ
ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่ผมเห็นในแก่งคอยทุกวันนี้ ก็น่าจะเป็นเรื่องที่จอดรถในย่านการค้าที่ไม่เพียงพอ รวมไปถึงทางเท้าที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดิน ซึ่งสองเรื่องนี้มันก็สัมพันธ์กันโดยตรง เพราะทางเท้าเดินไม่ได้และไม่มีร่มเงาบัง แม้จะไปทำธุระใกล้ๆ คนแก่งคอยก็ไม่อยากเดิน และเลือกขับรถไปมากกว่า แต่พอจะขับรถไป ก็กลับหาที่จอดรถไม่ได้อีก
นั่นล่ะครับ อย่างน้อยๆ ถ้าแก่งคอยมีการจัดระเบียบทางเท้าให้เดินได้สะดวก รถก็จะติดน้อยลง ปัญหาที่จอดรถก็จะหายไป และถ้ามีพื้นที่กลางสักแห่งที่ผมเสนอมา หรือพื้นที่สีเขียวที่มากยิ่งขึ้น รวมถึงมีกลุ่มคนมาช่วยขับเคลื่อนกิจกรรม อย่างน้อยที่สุด มันก็ช่วยสร้างบรรยากาศให้คนท้องที่รวมถึงประชากรแฝง อยากออกมาจากบ้าน มาใช้พื้นที่ในเมือง ที่ซึ่งเมืองเราถูกใช้ประโยชน์หรือผู้คนเห็นความเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรมในเมืองมากๆ เข้า นอกเหนือไปจากแค่การขับรถผ่านไปมา พวกเขาก็จะมีความคิดอยากจะช่วยกันทำให้เมืองเราพัฒนาให้มากกว่านี้ตามมา”
ธัชชัยม์ สุรินทอง
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ เทศบาลเมืองแก่งคอย
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…