จริงๆ ซานฟรานซิสโกที่เราเคยอยู่ด้วยกันก่อนหน้านี้ก็มีบรรยากาศคล้ายกับพะเยาเลยครับ เมืองริมอ่าว อากาศดี ผ่อนคลาย และผู้คนเป็นมิตร

“ผมมาประเทศไทยครั้งแรกจากการเข้าร่วมเป็นศิลปินพำนักในโครงการศิลปะ One Year Project ของมูลนิธิที่นา (The Land Foundation) ที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2007 การมาใช้ชีวิตครั้งนั้นนอกจากได้รู้จักเพื่อนศิลปินในเชียงใหม่หลายคน ยังพบเสน่ห์จากวิถีชนบทในภาคเหนือของประเทศไทย และนั่นทำให้เมื่อกลับไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา ผมก็ยังมีความคิดถึงบรรยากาศแบบนี้อยู่

จากนั้นไม่นาน ก็มีโอกาสได้กลับมาอีกครั้งในฐานะศิลปินพำนักของโครงการคำเปิงในอำเภอดอยสะเก็ด ที่นั่นไม่เพียงทำให้ผมพบหลุยส์ คู่ชีวิต แต่ยังได้พบกับอาจารย์โป้ง (ปวินท์ ระมิงค์วงศ์) ซึ่งสอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยพะเยา เราพูดคุยกันถูกคอ ถึงขนาดอาจารย์โป้งชวนให้ผมมาสอนหนังสือที่นั่น ผมไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับพะเยา แต่รู้สึกว่าเป็นงานที่น่าสนใจดี ก็เลยตามเขามา

ทุกวันนี้ผมสอนหนังสือที่พะเยามาได้ 5 ปีแล้ว โดยเช่าบ้านอยู่ในตัวเมืองกับหลุยส์ ก่อนหน้านี้ผมอยู่บอสตัน แอลเอ และซานฟรานซิสโก ส่วนหลุยส์เคยอยู่ปารีสและซิดนีย์ แต่เราทั้งคู่พบว่าไม่มีเมืองไหนเหมือนพะเยา

พวกเราชอบความสุขสงบ เมืองเล็กๆ ที่ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็เหมือนทุกคนรู้จักกันหมด และในทุกเย็น ราวกับผู้คนจะมาเดินเล่น ตกปลา หรือพักผ่อนอยู่ริมกว๊านพะเยากันทั้งเมือง ซึ่งก็รวมถึงเราสองคนด้วย (หัวเราะ) เพราะเมื่อมองออกไป เห็นทะเลสาบที่มีภูเขาเป็นฉากหลัง ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และให้พลังไปพร้อมกัน

จริงๆ ซานฟรานซิสโก ที่เราเคยอยู่ด้วยกันก่อนหน้านี้ ก็มีบรรยากาศคล้ายกับพะเยาเลยครับ เมืองริมอ่าว อากาศดี ผ่อนคลาย และผู้คนเป็นมิตร เพียงแต่ตอนที่เราอยู่ที่นั่น เราจะอยู่ได้แค่ในอพาร์ทเมนต์เล็กๆ ที่มีพื้นที่จำกัด แต่พอมาอยู่พะเยา เรามีที่อยู่อาศัยที่กว้างขวางขึ้นเยอะในราคาที่ถูกกว่าหลายเท่า ที่สำคัญผมชอบอาหารของที่นี่ ปลาส้ม แกงอ่อม ไปจนถึงลาบ (หัวเราะ)

แน่นอน บางครั้งก็เหงาครับ ที่นี่ชาวต่างชาติน้อยมาก และคนส่วนใหญ่ก็ไม่พูดภาษาอังกฤษ แต่ขณะเดียวกัน ถ้าเทียบกับชีวิตประจำวันที่ลงตัว ไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัย ออกกำลังกายและพักผ่อนริมกว๊าน หรือการได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศสงบ แต่เปี่ยมแรงบันดาลใจให้ได้ทำงานสร้างสรรค์ การอยู่ที่นี่ก็มีข้อดีกว่าเยอะ ที่สำคัญด้วยข้อจำกัดทางภาษา ก็เป็นสิ่งท้าทายให้เราได้เรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งเรียนรู้วัฒนธรรมของผู้คน เรียนรู้ภาษาไทย และเรียนรู้ภาษาเหนือแบบคนพะเยา” (ยิ้ม)

Alex Wang และ Louise Cooper-Wang
ศิลปิน/ อาจารย์สาขาศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยพะเยา

ศิลปิน/ ครูสอนภาษา

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago