“บ้านหลังนี้ก็อยู่มาตั้งแต่เกิด แต่ก่อนเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น แล้วบ้านผุ เลยยกบ้านเก่าออกแล้วทำบ้านใหม่ ตอนนี้เป็นตึก 2 ชั้น ประมาณ 80 ปี เมื่อก่อนมี 3 ห้อง ตอนนี้มี 2 ห้อง ประตูบ้านเป็นไม้ แล้วพี่สาวอยากได้ประตูใหม่ เลยทำห้องนึงเป็นเหล็กม้วน ประตูเก่าก็ค่อยๆ เลื่อนๆ มาปิด บานพับเยอะมาก แต่เขาทำเป็นระเบียบ ยังมีอีกหลังนึงห้องเดียวที่ประตูบานพับไม้เหมือนกัน ประตูนี้ก็พร้อมกับบ้าน 70-80 ปีนี่แหละ เราก็อยู่ของเราไปเรื่อยๆ บ้านเก่าๆ หายไป บ้านใหม่ขึ้นมาก็ต้องให้ร่นเข้าไป เทศบาลเขาทำถนนให้กว้างขึ้น ร่นเยอะ เกือบครึ่งห้องนะ บ้านเก่าก็ขอแบบซ่อมก็ไม่ต้องร่น ถนนเส้นนี้ (ถนนเทศบาลสาย 1) เป็นถนนเส้นหลัก แต่ก่อนเป็นทางเกวียนเล็กๆ แล้วก็ขยายถนนมาเรื่อย แต่ก่อนพี่สาวว่าหน้าบ้านเป็นทราย นั่งเล่นกันพี่ๆ น้องๆ ตอนที่เป็นบ้านไม้ พี่สาวขายโอเลี้ยง กาแฟ น้องแม่ก็ขายก๋วยเตี๋ยว แต่แถวนี้น้ำไม่ท่วมนะ มีท่วมแป๊บเดียว พอระบายทันน้ำก็ไม่ขัง
พ่อแม่ทำสวน เตี่ยทำหมอแผนปัจจุบัน แม่ทำสวนทุเรียน เงาะ มังคุด ตอนเล็กๆ เรียนโรงเรียนศรีหฤทัย จบป. 4 ไปเรียนที่โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จังหวัดจันทบุรี สมัยก่อนเดินทางลำบาก ไปถึงเมืองจันท์ หัวแดงหมด เดี๋ยวนี้สบายเยอะ ตอนจบม. 6 โรงเรียนไม่มีใบประกาศนียบัตรให้ คือเขาทำเสียแล้วไม่ออกให้ใหม่ เราก็ไม่มีวุฒิไปสมัครงาน เลยต้องหาอะไรเรียนต่อ เราสนใจสมุนไพร เลยไปเรียนแผนไทยที่วัดจันทนาราม หลักสูตรเดียวกันตอนนี้เขาไปสอนที่สาธารณสุข เรียนทั้งหมด 3 ปี เภสัช 1 ปี เวชกรรม 2 ปี ได้ใบประกอบโรคศิลป์ บว. หมายถึง โบราณเวช บภ. หมายถึง โบราณเภสัช เราก็มาทำเล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน ทีหลังอาจารย์ถามว่านวดมั้ย ก็เลยเรียนมาทำนวดด้วย ถ้านวดทั้งตัว 1 ชั่วโมง ผู้ชาย 300 บาท ผู้หญิง 250 บาท คนไหนให้นวดเฉพาะที่ก็เฉลี่ยออกไป แถวนี้มีที่ทำแบบเราหลายบ้านอยู่แต่เขาไม่ได้นวด ขายแต่ยา
ยาสมุนไพรเราก็ทำเองหมด พวกพืชสมุนไพรเดี๋ยวนี้หายากขึ้น เราถึงต้องเอามาปลูกเอง ดินที่สวนก็ดีอยู่แล้ว บางอย่างที่เราไม่มีก็ต้องซื้อเขา แต่จันทบุรีมีพืชสมุนไพรเยอะ เอาผลิตผลที่เราปลูกไว้มาทำเป็นยา เอามาตากแห้ง รวมๆ ผสมกัน ไปจ้างเขาบด แล้วเอามาผสม ถ้าทำเป็นเม็ดลูกกลอนก็ผสมน้ำผึ้ง แต่ถ้าใส่แคปซูลไม่ต้องผสม พอทำเป็นเม็ดแคปซูล บางคนก็ชอบ เขาบอกกลืนง่าย เม็ดลูกกลอนก็กลืนยากหน่อย แต่ส่วนมากไม่ทำเม็ดโต ทำเม็ดเล็กๆ ครั้งหนึ่งกินประมาณ 4-5 เม็ด กิจการเราก็ไปได้เรื่อยๆ ทำมา 40 กว่าปีแล้ว ส่วนใหญ่คนมาซื้อก็คนพื้นบ้านนี่แหละ มาซื้อยาแก้ปวดเมื่อย บางคนอยู่ไกลก็โทรสั่งแล้วเราก็ส่งไปรษณีย์ไป เด็กนักศึกษาบางทีอาจารย์ก็ให้มาหาตัวยา ถ้าจะมาเรียนนวดก็ต้องมีหุ่นมา มีคนมาด้วย เพราะต้องแนะว่านวดตรงนั้นตรงนี้ ไม่งั้นเราจะแนะเขายังไง เราเองมีงานทำทั้งวัน ยาพวกนี้ต้องคอยทำเรื่อยๆ ฟ้าทะลายโจรก็ขายได้เรื่อยๆ ตอนโควิดจะขายดีหน่อย
หลังๆ คนสนใจสมุนไพรรักษาแผนโบราณมากขึ้น เราก็ได้มากขึ้น มีคนใหม่ๆ เข้ามา คนไหนเขากินยาถูกเขาก็ติดกินไป บางคนไม่ชอบยาสมุนไพรเขาก็ไปหายาหลวง แต่ก่อนเคยกินยาหลวงแต่ตอนหลังเราก็กินยาของเราเอง มันก็มีส่วนที่เรามีสุขภาพดี การดูแลตัวเองคือ กินตรงเวลา นอนเป็นเวลา สองอย่างนี้สำคัญ ควรนอนประมาณ 8 ชั่วโมง ถึง 7 ชั่วโมงได้ก็ถือว่าดีแล้ว กินข้าว 3 มื้อ แต่ต้องให้ตรงเวลานะ อย่าไปเลต แปดโมง เที่ยง ห้าโมงเย็น ถ้ากินดึกกว่านั้นยังไม่ทำงานเลยก็นอนแล้ว ฉันตอนนี้อายุ 76 ก็ไม่มีโรคอะไร ส่วนพี่สาวอายุ 87 ยังแข็งแรง”
อิ่มจิตร์ นิโรภาส
แพทย์แผนโบราณ นวดคลายเส้น
ชุมชนตลาดขลุง ถนนเทศบาลสาย 1
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…